ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รู้จัก “ผู้ถือหุ้น” และบทลงโทษ กรณีบริษัทที่ถือหุ้นกระทำผิด


Insight

12 ต.ค. 67

สันทัด โพธิสา

Logo Thai PBS
แชร์

รู้จัก “ผู้ถือหุ้น” และบทลงโทษ กรณีบริษัทที่ถือหุ้นกระทำผิด

https://www.thaipbs.or.th/now/content/1713

รู้จัก “ผู้ถือหุ้น” และบทลงโทษ กรณีบริษัทที่ถือหุ้นกระทำผิด
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

 

“บอส” คำนี้กำลังดังสนั่นไปทั้งประเทศ จากข่าวใหญ่ข่าวร้อน กรณีบริษัท “ดิ ไอคอน กรุ๊ป” ถูกกล่าวหาว่ามีการฉ้อโกง พร้อมเชื่อมโยงไปยังเหล่าคนดัง-ดารา ที่เข้ามาเป็น “บอส” หรือกลุ่มผู้บริหาร-ผู้ถือหุ้น จนนำมาซึ่งการตั้งข้อสังเกตว่า “อาจมีความผิดร่วมกัน”

Thai PBS นำเรื่องน่ารู้ คำว่า “ผู้ถือหุ้น” กินความหมายว่าอย่างไร ทำอะไรบ้าง ตลอดจนบทบาทความรับผิดชอบ กรณีบริษัทมีความผิดทางกฎหมาย เหล่า “ผู้ถือหุ้น” มีบทลงโทษอย่างไร?

เข้าใจความหมาย “ผู้ถือหุ้น”

ผู้ถือหุ้น คือบุคคล บริษัท หรือสถาบันที่เป็นเจ้าของหุ้นของบริษัทอย่างน้อยหนึ่งหุ้น โดยมีความเป็นเจ้าของเพียงบางส่วนของบริษัท และมีสิทธิและสิทธิพิเศษบางประการ 

ในคราวเดียวกัน ผู้ถือหุ้น ถือเป็นผู้ที่มีบทบาทควบคุมบริษัทในทางอ้อม โดยเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการเข้าไปเป็นตัวแทนของตน ในการกำกับดูแลการดำเนินงานของกิจการเพื่อประโยชน์สูงสุด

หน้าที่ของ “ผู้ถือหุ้น”

ผู้ถือหุ้น เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของบริษัท ที่ให้เงินทุนและการถือครองฝ่ายบริหาร ทั้งนี้บทบาทและความรับผิดชอบหลัก ๆ ของผู้ถือหุ้นมีดังนี้

  • สิทธิในการลงคะแนนเสียง เช่น การเลือกตั้งกรรมการ การอนุมัติกิจกรรมต่าง ๆ และการเปลี่ยนแปลงบางอย่างขององค์กร
  • สิทธิในการประชุม การติดตามการจัดการ ติดตามผลการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหารของบริษัท 
  • ผู้ถือหุ้นมีส่วนในการกำหนดนโยบายของบริษัท ตลอดจนการตัดสินใจสำคัญ ๆ ผ่านอำนาจการลงคะแนน
  • ผู้ถือหุ้นมีสิทธิเรียกร้องในส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ของบริษัทและรายได้

ผู้ถือหุ้นต้องรับผิดชอบอย่างไร กรณีที่บริษัทกระทำความผิดทางกฎหมาย

ในกรณีที่บริษัทกระทำความผิด ตามหลักกฎหมายอาญา เมื่อบริษัทเป็นนิติบุคคล แยกต่างหากจากผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นเป็นคนละคนกับบริษัท หากผู้ถือหุ้นไม่ได้เป็นผู้กระทำผิด จึงไม่ต้องรับผิดแต่ประการใด เว้นแต่ผู้ถือหุ้นจะเป็นกรรมการหรือผู้มีอำนาจบริหารจัดการบริษัท ที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดด้วย เมื่อบริษัทที่เป็นนิติบุคคลกระทำความผิด

ความผิดฐาน “ฉ้อโกง” เป็นอย่างไร ?

ฉ้อโกง คือ การหลอกคนอื่นโดยแสดงข้อความเท็จ หรือปกปิดความจริงที่ควรบอก เพื่อเอาทรัพย์สินคนอื่น หรือทำให้คนอื่นทำ ถอน ทำลายเอกสารสิทธิ 

การฉ้อโกงต้องเจตนาหลอกตั้งแต่แรก แต่ถ้าหลอกหลังจากได้ทรัพย์สินไปแล้ว จะไม่ถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกง

  • หลอกลวงเพื่อให้ได้ทรัพย์สินของคนอื่น มีโทษ จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • หลอกลวงเพื่อให้คนอื่นทำ ถอน ทำลายเอกสารสิทธิ มีโทษ จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่น มีโทษ จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ฉ้อโกงโดยอาศัยความเบาปัญญาของผู้ถูกหลอกที่เป็นเด็กหรือผู้ที่มีจิตอ่อนแอ มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เดิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ฉ้อโกงประชาชน ด้วยการหลอกประชาชนทั่วไป โดยแสดงข้อความเท็จหรือปกปิดความจริงเพื่อเอาทรัพย์สินคนอื่น หรือให้คนอื่นทำ ถอน ทำลายเอกสารสิทธิ มีโทษ จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับ 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ฉ้อโกงประชาชนโดยแสดงเป็นคนอื่น มีโทษ จำคุก 6 เดือน ถึง 7 ปี และปรับ 10,000 – 140,000 บาท
  • ฉ้อโกงประชาชนโดยอาศัยความเบาปัญญาของผู้ถูกหลอกที่เป็นเด็กหรือมีจิตใจอ่อนแอ มีโทษ จำคุก 6 เดือน ถึง 7 ปี และปรับ 10,000 -140,000 บาท

ขึ้นชื่อว่า “ธุรกิจ” ย่อมมองที่เป้าหมายความสำเร็จ และผลกำไร แต่เหนืออื่นใด คือความตรงไปตรงมา สุจริต อันเป็นสิ่งที่ไม่ว่าจะธุรกิจใด ๆ พึงต้องมี

อ้างอิง
-สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 
-พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ดิ ไอคอน กรุ๊ปบอสธุรกิจขายตรงแชร์ลูกโซ่ผู้ถือหุ้น
สันทัด โพธิสา
ผู้เขียน: สันทัด โพธิสา

เจ้าหน้าที่เนื้อหาออนไลน์อาวุโส Thai PBS สนใจความเคลื่อนไหวของสังคม ผู้คน และเทรนด์ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ และรวมถึงเป็นสมาชิกทาสแมวมายาวนาน

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด