ฉีดยาต้านไวรัส HIV 2 ครั้งต่อปี ทดลองระยะ 3 ป้องกันแพร่เชื้อได้ 100%


วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

16 ก.ค. 67

จิราภพ ทวีสูงส่ง

Logo Thai PBS
แชร์

ฉีดยาต้านไวรัส HIV 2 ครั้งต่อปี ทดลองระยะ 3 ป้องกันแพร่เชื้อได้ 100%

https://www.thaipbs.or.th/now/content/1396

ฉีดยาต้านไวรัส HIV 2 ครั้งต่อปี ทดลองระยะ 3 ป้องกันแพร่เชื้อได้ 100%
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

ข่าวดี ! สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) เมื่อ ณ ขณะนี้ ผลการทดลองทางคลินิกในระยะที่ 3 ที่ดำเนินการโดย Gilead Sciences, Inc. แสดงให้เห็นว่ายา PrEP ชนิดใหม่ (ฉีด) ใช้เพียงปีละ 2 ครั้ง มีประสิทธิภาพในการป้องกันการแพร่กระจายของ HIV ได้ 100%

ในปัจจุบัน มีการพัฒนายาป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) หรือ PrEP แบบต้องรับยาวันละครั้ง แต่ล่าสุด Dr. Merdad Parsey หัวหน้าฝ่ายการแพทย์ Gilead Sciences ได้ออกมาเปิดเผยว่า ยาต้านไวรัสเอชไอวี (HIV) ของบริษัท ผลการทดลองทางคลินิกในระยะที่ 3 ออกมาแล้วพบว่า ฉีดยาต้านไวรัส “Lenacapavir” เพียงปีละ 2 ครั้ง มีประสิทธิภาพ 100% ในการทำให้เชื้อไวรัสในร่างกายกลายเป็นศูนย์ ตอนนี้ทาง Gilead Sciences กำลังทดสอบขั้นต่อไป เพื่อมุ่งหวังที่จะบรรลุเป้าหมายในการช่วยยุติการแพร่ระบาดของเอชไอวี (HIV) สำหรับทุกคน-ทุกที่บนโลก ก่อนที่เชื้อไวรัสนี้จะกลายเป็นโรคเอดส์ (AIDS)

ทั้งนี้ Lenacapavir เป็นยาต้านไวรัสเอชไอวี (HIV) ที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง capsid (capsid inhibitor) ซึ่งเป็นโปรตีนชั้นนอกสุดที่ห่อหุ้ม RNA ซึ่งเป็นสารพันธุกรรมของไวรัสเอชไอวี (HIV) โดยยาออกฤทธิ์รบกวนการต่อกันของหน่วยย่อยของ capsid ที่เรียกว่า capsomer จึงทำให้เชื้อสร้าง capsid ได้ไม่สมบูรณ์ หยุดวงจรชีวิตของไวรัสเอชไอวี (HIV)

Linda-Gail Bekker ผู้อำนวยการศูนย์เอชไอวีเดสมอนด์ ตูตู มหาวิทยาลัยเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้ เผยว่าหากได้รับการอนุมัติให้ใช้ Lenacapavir จำนวน 2 ครั้งต่อปีสำหรับ PrEP อาจเป็นทางเลือกใหม่ที่สำคัญสำหรับการป้องกันเอชไอวี (HIV) ที่เหมาะกับชีวิตของผู้คนจำนวนมากทั่วโลก

สำหรับ Lenacapavir ในปัจจุบันยังไม่ได้รับการรับรองให้ใช้ป้องกันเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ในสตรีที่เป็นซิสเจนเดอร์ (การระบุตัวตน เช่น เพศหญิงเกิดเป็นหญิงและระบุว่าเป็นผู้หญิง) นักวิจัยในการทดลองกล่าวว่า ข้อมูลของพวกเขาสนับสนุนให้ใช้ Lenacapavir 2 ครั้งต่อปี ดีกว่าวิธี PrEP แบบรับประทาน เนื่องจากมีข้อจำกัดในการปฏิบัติตัวในการรักษาประจำวัน แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่ายา PrEP ที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่มีประสิทธิภาพ แต่จำเป็นต้องใช้ตามที่แพทย์แนะนำ

📌อ่าน : “HIV” ไม่เท่ากับ “AIDS” ! ความรู้ที่หลายคนอาจเข้าใจคลาดเคลื่อน


🎧อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS  


แหล่งข้อมูลอ้างอิง : gilead, newatlas, pharmacy.mahidol

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เอชไอวียาต้านไวรัสเอชไอวียาต้านไวรัส HIVHIVเอดส์โรคเอดส์AIDSติดเชื้อเอชไอวีวิทยาศาสตร์Thai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Science
จิราภพ ทวีสูงส่ง
ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส / Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover : (jiraphob.thawisoonsong@gmail.com)

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด