รู้จัก
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิธีเปิดกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) อย่างเป็นทางการโดยมี นายประมาณ สว่างญาติ เกษตรกรจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นผู้สมัครคนแรก
ในช่วงครึ่งเช้าของวันนี้ ธ.ก.ส.รายงานว่ามียอดผู้สมัครในระบบกว่า 172,000 คน ส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือกว่า 100,000 คน แต่รับสมัครจริงได้ประมาณ 140,000 คน เพราะบางคนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จึงต้องให้เลือกเป็นสมาชิกแห่งใดแห่งหนึ่ง
ขณะที่ ธนาคารออมสิน ตั้งเป้ารับสมัครสมาชิกกลุ่มอาชีพอิสระ 500,000 คนภายในปีนี้ โดยระบบรับสมัครตามสาขาทั่วประเทศจะพร้อมให้บริการช่วงบ่ายวันนี้
ทั้ง ปี กอช.คาดว่าจะรับสมัครสมาชิกได้กว่า 600,000 คน และเพิ่มเป็น 1.5 ล้านคนในปี 2559 และ 3 ล้านคนในปี 2561 โดยรัฐบาลกำหนดเงินรองรับการจ่ายสมทบสมาชิก กอช.ในปีงบประมาณ 2559 แล้ว 1 พันล้านบาท และจะของบกลางเพิ่มเติมหากมีผู้สนใจสมัครจำนวนมาก
แรงงานนอกระบบซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของกอช.ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรมซึ่งสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่า ในปี 2557 ผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไปที่มีงานทำจำนวน 38.4 ล้านคน เป็นแรงงานนอกระบบถึงร้อยละ 57.6
ปัญหาสำคัญของแรงงานนอกระบบ คือ ขาดหลักประกันจากการทำงาน เช่น กองทุนประสังคม รัฐบาลจึงเปิดโครงการกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เพื่อให้แรงงานนอกระบบมีช่องทางการออมเงิน โดยมีเงื่อนไขต้องส่งเงินสมทบกองทุนไม่เกิน 13,200 บาทต่อปี และมีขั้นต่ำเพียง 50 บาท โดยส่งเงินสมทบได้ตามสมัครใจไม่มีกำหนดต้องส่งประจำทุกเดือนและรัฐบาลจะจ่ายเงินสมทบตามอายุของสมาชิกสูงสุด 100 บาทต่อเดือนหรือปีละไม่เกิน 1,200 บาท และเมื่อสมาชิกอายุครบ 60 ปี จึงนำเงินทั้งหมดมาหารเฉลี่ยให้สมาชิกเป็นบำนาญรายเดือนตามกำหนด
จุดเด่นของกองทุนการออมแห่งชาติ คือ มีความยืดหยุ่นของสิทธิต่างๆ สูง ตั้งแต่จำนวนเงินที่ต้องส่งตามความสมัครใจ สามารถหยุดส่งเงินโดยไม่ขาดการเป็นสมาชิกกองทุนได้ภายใต้ข้อกำหนด หรือหากในอนาคตผู้ส่งเงินได้งานทำเข้าสู่ระบบสวัสดิการของรัฐแล้ว ก็ยังคงเป็นสมาชิกต่อได้
เมื่อเป็นสมาชิกกองทุน กอช.แล้ว หน้าที่ของสมาชิกต้องส่งเงินสมทบกองทุน ตามระเบียบ คือสมาชิกจะต้องส่งเงินสะสมไม่น้อยกว่า ปีละ 50 บาท และไม่เกิน 13,200 บาทต่อปี โดยใน1ปีจะส่งเงินสมทบ
ผู้มีสิทธิ์เป็นสมาชิก กอช.
-ผู้ที่จะสมัครสมาชิกกอช. ต้องเป็นแรงงานนอกระบบ คือ ผู้ไม่มีหลักประกันทางสังคมจากการทำงาน ได้แก่ กลุ่มเกษตรกร/กสิกรรม กลุ่มค้าขาย กลุ่มรับจ้าง กลุ่มอาชีพอิสระ
คุณสมบัติผู้สมัคร กอช.
1.สัญชาติไทย
2.อายุ 15 - 60 ปี
3.ไม่อยู่ในกองทุนที่ได้รับเงินสมทบจากรัฐหรือนายจ้าง
4.ไม่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญจากรัฐหรือเอกชน
การส่งเงินสมทบ
-ส่งเมื่อไหร่ก็ได้ไม่จำเป็นต้องส่งทุกๆ เดือน และรัฐบาลจะจ่ายเงินสมทบให้สมาชิกแตกต่างตามช่วงอายุ เช่น อายุสมาชิก 50 ปีขึ้นไป เงินที่รัฐบาลจะสมทบ คือ 100% ของเงินสะสมแต่ไม่เกิน ปีละ 1,200 บาท
สิทธิประโยชน์ที่สมาชิกกองทุนกอช.จะได้รับ
1.เมื่ออายุครบ 60 ปี จะนำเงินทั้งหมดที่สะสมมาพร้อมดอกเบี้ยพร้อมกับเงินที่รัฐสมทบมาหารด้วยจำนวน 240 ซึ่ง คือตัวเลขของจำนวนเดือนในระยะเวลา 20 ปี เพื่อจ่ายเป็นเงินบำนาญให้สมาชิกรายเดือน ไปจนสมาชิกมีอายุถึง 80 ปี และหากอายุครบ 80ปี สมาชิกยังมีชีวิตอยู่แต่เงินในกองทุนได้หมดลงแล้ว รัฐก็จะยังจ่ายเงินบำนาญรายเดือนให้สมาชิกต่อ โดยจ่ายให้ในอัตราเท่าที่สมาชิกเคยได้รับในแต่ละเดือน
2.ทุพพลภาพก่อนอายุ 60 ปี ได้รับเงินสะสมพร้อมดอกเบี้ย ส่วนเงินสมทบจากรัฐและดอกเบี้ยจะได้รับตอนอายุ 60 ปี
3.ลาออกจากกองทุน จะได้รับเฉพาะเงินสะสมพร้อมดอกเบี้ย
4.เสียชีวิต เงินสะสม เงินสมทบ ดอกเบี้ยทั้งหมดจะตกเป็นของทายาทหรือผู้รับประโยชน์
จุดเด่นของกองทุน กอช.
1.ไม่ต้องลาออกจากการเป็นสมาชิก หากในอนาคตได้ทำงานระบบราชการหรือเอกชนอธิบายในอนาคตหากสมาชิกได้งานในระบบ ก็ไม่ต้องลาออกจากสมาชิกกองทุน และส่งเงินสะสมกับกองทุนต่อได้ แต่รัฐจะไม่สมทบเงินให้ในช่วงเวลานั้น แต่ถ้าเกิดลาออกจากงานไปเป็นแรงงานนอกระบบอีกครั้ง เมื่อสมาชิกส่งเงินสะสม รัฐก็จะส่งเงินสมทบให้ตามเดิม
2.สมาชิกสามารถถอนเงินออกมาใช้ได้อธิบายแต่การถอนเงิน สมาชิกจะต้องลาออกจากกองทุนก่อนอายุ 60ปี และจะได้รับเฉพาะเงินที่ส่งสะสมไว้พร้อมดอกเบี้ยเท่านั้น
3.ผู้มีอายุเกิน 60ปี สามารถเป็นสมาชิกกองทุนได้ หากผู้มีอายุเกิน60ปีต้องการสมัครสมาชิกกองทุน ต้องรอให้ พรบ.ว่าด้วยเรื่องการให้สิทธิ์ผู้สมัครกองทุนประกาศใช้ก่อน ซึ่งคาดว่าจะต้องรอประมาณ1ปี โดยเมื่อ พรบ ประกาศใช้ ผู้มีอายุเกิน60ปี จะต้องสมัครสมาชิกภายใน1ปีที่ พรบ.ประกาศ โดยจะให้สิทธิผู้มีอายุเกิน 60 ปี ได้เป็นสมาชิกส่งเงินสะสมเป็นเวลา 10 ปี รวมทั้งให้สิทธิ์แก่ผู้มีอายุเกิน 50 ปีให้มีสิทธิส่งเงินสะสมเป็นสมาชิกเข้ากองทุนได้เป็นเวลา 10 ปีเช่นกัน