ความคืบหน้าการเจรจากับสหรัฐอเมริกา เรื่องกำแพงภาษี ทีมไทยแลนด์เตรียมการรับมืออย่างต่อเนื่อง โดยจะเดินทางไปสหรัฐอเมริกาในวันนี้ (17 เม.ย.2568) โดยทีมที่จะล่วงหน้าไปก่อน คือ ทีมที่มีพิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯ และ รมว.กระทรวงการคลัง เป็นหัวหน้าทีม
- 5 เป้าหมายกำแพงภาษี "ทรัมป์" จ่อประกาศขึ้นภาษีนำเข้ายาครั้งใหญ่
- มหาศึกการค้าสหรัฐฯ-จีน ภาษี 104% เปลี่ยนโฉมเศรษฐกิจโลก
- จีนโต้กลับสหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้า 84% มีผล 10 เม.ย.
ขณะนี้ เห็นว่า ผู้นำสหรัฐฯ เริ่มเจรจากับบางประเทศกันไปบ้างแล้ว ส่วนไทยยังต้องรอพิจารณาว่าจะต้องรอคิวว่าจะสามารถหารือได้ทันกรอบเวลา 90 วันที่ขยายเวลาบังคับใช้กำแพงภาษี 36% หรือไม่

นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯ และ รมว.กระทรวงการคลัง เป็นหัวหน้าทีม
นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯ และ รมว.กระทรวงการคลัง เป็นหัวหน้าทีม
หากพิจารณาจาก รัฐมนตรีคลังสหรัฐ สก็อตต์ เบสเซนต์ ก็พอจะประเมินได้ว่า ไทยที่ได้ดุลการค้าในอันดับที่ 10-11 คาดว่าจะเป็นประเทศอันดับต้น ๆ ที่จะสามารถพูดคุยเพราะสหรัฐฯ โดยบอกว่า จะเริ่มคุยจาก 14 ประเทศที่สหรัฐขาดดุลมากที่สุด ยกเว้นจีนที่อาจคุยด้วยยาก

เมื่อวานนี้ (16 เม.ย.2568) ถึงจะเป็นวันหยุดชดเชย แต่คณะทำงานก็หารือกันชุดใหญ่ตั้งแต่เช้า กับกรมสรรพสามิต , กลุ่ม ปตท. และคณะหารือการค้าสหรัฐฯ ขณะที่ช่วงบ่าย รัฐมนตรีคลัง ยังหารือกับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย โดยหลักทีมรับมือมีการประเมินฉากทัศน์ต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น แต่ก็ยอมรับว่า ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้ทุกวัน

ไม่ใช่แค่เพียงรัฐมนตรีคลัง ที่มองว่าทุกอย่างประเมินยาก กระทั่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย นายพิชัยก็บอกว่า เห็นเหมือนกันคือ ทุกอย่างตั้งอยู่บนความไม่แน่นอน และไม่มีใครกล้าบอกเลยว่า ทุกอย่างจะจบลงอย่างไร แต่ในฉากทัศน์ที่คุยกับผู้ว่าการ ธปท. มีการหารือทั้งเรื่องผลกระทบจากนโยบายภาษรสหรัฐต่อตลาดเงิน ตลาดทุน และผลตอบแทนพันธบัตร ไปจนถึงผลกระทบระยะถัดไปที่จะเกิดกับผู้ประกอบการส่งออก

รัฐมนตรีคลังยืนยันว่า ทั้งสภาพคล่องและทุนสำรองของไทย มีเพียงพอโดยไม่มีแนวคิดเอาทุนสำรองระหว่างประเทศมาใช้ในสถานการณ์นี้ เพียงแต่ในแง่ของการเตรียมข้อมูลเพื่อนำไปเจรจา ก็มีทั้งเรื่องของพิกัดอัตราภาษีศุลกากร และมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี

เรื่องหนึ่งที่หยิบยกมาคุยเมื่อวาน คือแผนการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จากสหรัฐเพิ่มเติม 1 ล้านตันเศษ ภายในระยะเวลา 5 ปี มูลค่าราว 600 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นส่วนที่กำลังจะหมดสัญญาซื้อขายจากแห่งอื่น รวมถึงหารือแผนนำเข้าก๊าซอีเทนจากสหรัฐฯ จำนวน 4 แสนตัน มูลค่า 100 ล้านเหรียญฯ ในระยะเวลา 4 ปีด้วย ซึ่งอยู่ใน 5 กรอบที่เคยวางไว้เป็นแนวทางเจรจา มาย้อนดูอีกทีว่ากรอบที่ว่ามีอะไร

1.คือ ความร่วมมือในอุตสาหกรรมที่เกื้อหนุนกัน อย่างพวกอาหารสัตว์ 2.คือการเปิดตลาด ลดภาษีสินค้าเกษตร 3.คือการเพิ่มการนำเข้าสินค้าจำเป็นจากสหรัฐฯ ที่ไทยผลิตเองไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นก๊าซธรรมชาติ เครื่องบิน ผลไม้เมืองหนาว 4.คือการคัดกรองสินค้าส่งออก ป้องกันการสวมสิทธิ และ 5.ส่งเสริมการลงทุนไทยในอุตสาหกรรมแปรรูปในสหรัฐฯ
เรื่องสินค้าเกษตรที่เป็นประเด็นประเด็นร้อน อย่างน้อย ๆ ก็มีคำยืนยันจากรัฐมนตรีคลังแล้วว่า เรื่องเนื้อหมูจะไม่นำไปรวมในการเจรจาแล้ว และชัดเจนว่า การจะนำเข้าสินค้าเกษตรนั้น จะเน้นนำเข้าในสิ่งที่ไทยผลิตเองไม่เพียงพอ

กำแพงภาษีเป็นเรื่องใหญ่ที่ไทยต้องแก้ปัญหาของด้วยตัวเองก่อน แต่ก็ต้องดำเนินการไปพร้อม ๆ กับการหารือกับเพื่อนบ้านโดยเฉพาะกลุ่มอาเซียน ที่มีถึง 5 ประเทศในกลุ่ม 15 ประเทศที่ได้ดุลการค้าสหรัฐฯ เป็ฯอันดับต้น ๆ

ดังนั้นการเดินทางเยือนไทยวันนี้ ของนายกรัฐมนตรีอันวาร์ อิบราฮิม ผู้นำมาเลเซีย ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ผู้นำมาเล เพิ่งจะเปิดบ้านรับสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน จึงน่าสนใจว่าจะคุยเรื่องกำแพงภาษี กับเรื่องทิศทางบาลานซ์สัมพันธ์จีนไปด้วยเลยหรือไม่ เพราะอย่างที่รู้กันแล้วว่าตอนนี้เป้าหมายหลักของสหรัฐฯ คือการโดดเดี่ยวจีน พร้อมๆ กับการเจรจากำแพงภาษี นับว่าเป็นการดำเนินนโยบายรับมือที่ไม่ง่ายเลยจริง ๆ
อ่านข่าว : สะพัด! "รัฐบาลทรัมป์" จ่อปิดสถานทูต-สถานกงสุล 30 แห่ง
17 เม.ย.นี้ ผู้เลี้ยงโคเนื้อชุมนุมค้านนำเข้า "เนื้อ-เครื่องในโค" จากสหรัฐฯ
ไทม์ไลน์ 2 มหาอำนาจ "สหรัฐอเมริกา-จีน" งัดข้อตั้งกำแพงภาษี