วันนี้ (4 เม.ย.68) พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม กล่าวภายหลังการประชุมนัดแรกของคณะพนักงาน สอบสวนประชุมคดีพิเศษที่ 32/2568 กรณีความผิดจากตึก สตง.ถล่ม ยืนยันหากมีหลักฐานแจ้งข้อกล่าวหาสามารถนำตัวผู้กระทำความผิดที่เกี่ยวข้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้ เว้นแต่ก่อนกรณีรับเป็นคดีพิเศษ พอรู้ที่อยู่ก็มีการติดตามได้มีการแจ้งว่าจะต้องมีการประสานงานด่าน ตม.ทางเข้าออกประเทศด้วย
พ.ต.อ.ทวี กล่าวอีกว่า หน้าที่ของพนักงานสอบสวนนอกจากแสวงหาข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานพิสูจน์ความบริสุทธิ์และความผิดแล้ว อีกหน้าที่คือการนำตัวผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการฟ้องร้องลงโทษ เรื่องนี้ดีเอสไอ รับเป็นคดีพิเศษแล้วจะต้องดูทุกเรื่อง เพราะมีสำนักสืบสวนสะกดรออยู่

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม
พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม
ส่วนกรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าอาจมีผู้มีอิทธิพลเกี่ยวข้องกับบริษัทนอมินีจีนว่า รัฐบาลนี้โดยเฉพาะในกระทรวงยุติธรรม นอกจากจะแก้ปัญหาอาชญากรรมยาเสพติดแล้ว ยังจะดำเนินการกับผู้มีอิทธิพลโดยเฉพาะกฎหมายสอบสวนคดีพิเศษ
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอิทธิพลต้องทำอยู่แล้ว ใช้กฎหมายดำเนินการ ไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย ถ้าพยานหลักฐานไปถึง คดีนี้เป็นคดีที่มีความสูญเสียเยอะ การดำเนินคดีต้องทำเร็วบนข้อมูลพยานหลักฐานที่รอบคอบ
พ.ต.อ.ทวี ระบุว่า ขณะนี้ขอทำคดีในส่วนของสาเหตุตึก สตง. ถล่มก่อน ส่วนในประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้องหรือการตรวจสอบโครงการของรัฐที่มีสัญญากับบริษัทสัญชาติจีนต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการ

ผ่านมา 7 วันตึกสตง.ถล่มยังคงค้นหาผู้สูญหาย 79 คน
ผ่านมา 7 วันตึกสตง.ถล่มยังคงค้นหาผู้สูญหาย 79 คน
โดยมีการสอบถามเกี่ยวกับหลักฐานทางทะเบียน กรณีกิจการร่วมค้า ปรากฏว่ากระทรวงพาณิชย์แจ้งว่าไม่ได้รับผิดชอบทะเบียน รับผิดชอบเฉพาะบริษัทนิติ บุคคลตามกฏหมายแพ่ง ทำให้ข้อมูลจึงไปอยู่ที่กระทรวงการคลัง แต่กระทรวงการคลังไม่ได้ทำทะเบียนไว้ จึงต้องไปไล่ตามกรมสรรพากรที่มีการเสียภาษี
โดยเห็นว่าเป็นส่วนหนึ่งที่จะต้องมีผู้มารับผิดชอบอาจเพิ่มภาระงานให้กระทรวงพาณิชย์เข้ามาร่วมดูด้วยอย่างน้อยเป็น 2 บริษัทหรือ 3 บริษัทเข้ามา บริษัทต่างด้าวกระทรวงพาณิชย์อยู่อยู่แล้ว
นอกจากนี้เมื่อไปอ่านสัญญาบางครั้งว่า ก็มีช่องว่าง ซึ่งไทยมีกฎหมายดี ๆ เยอะ แต่เวลาใช้กลับใช้เป็นส่วน ๆ ขาดการบูรณาการเท่าที่ควร เหมือนเป็นอาณานิคมของกฎหมายหน่วยใดหน่วยหนึ่ง ดังนั้น ดีเอสไอต้องประสานงานกัน แม้แต่เรื่องของการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งการเข้าไปสู่เนื้องาน เช่น พยานหลักฐานที่ต้องไปเก็บจะทำอย่างไร

เก็บหลักฐานตึกถล่ม
แต่การช่วยเหลือชีวิตถือเป็นอันดับแรก แต่หากเราปล่อยให้วัตถุพยานถล่มลงไป ก็จะไม่มีพยานหลักฐานไปยืนยัน ดังนั้นขอให้ไปประสาน และพยายามเก็บวัตถุพยานให้ได้มากที่สุด จึงทำให้พนักงานสอบสวนต้องประสานกับนิติวิทยาศาสตร์ และวิศวกรต่างๆ โดยเฉพาะผู้ที่เข้าไปช่วยชีวิตน่าจะบันทึกภาพเอาไว้ด้วย
เมื่อถามว่า กรณีที่บริษัท ไชน่า เรลเวย์นัมเบอร์ 10 ได้โครงการสัมปทานของรัฐหลายโครงการจะต้องมีการตรวจสอบเพิ่มเติมหรือไม่ พ.ต.อ.ทวี ระบุว่า มีหน่วยงานที่รับผิดชอบและกระทรวงยุติธรรมจะนำข้อมูลที่มีอยู่ไปให้ เช่น เรื่องกิจการร่วมค้า 29 โครงการ มูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท ส่วนดีเอสไอ จะโฟกัสเฉพาะกรณีที่รับผิดชอบก่อน ส่วนกรณีอื่นจะต้องส่งให้ภาครัฐไปพิจารณา เพราะหากทำคดีใดก็ต้องทำไปเป็นคดีไป

กรมสอบสวนคดีพิเศษ ประชุมนัดแรกตรวจสอบตึกสตง.ถล่ม
กรมสอบสวนคดีพิเศษ ประชุมนัดแรกตรวจสอบตึกสตง.ถล่ม
พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ระบุว่า เจ้าหน้าที่ได้นำ ชาร์ต ผู้เกี่ยวข้องกับบริษัทไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด พบมีนิติบุคคล 4 รายประกอบด้วย 1.บริษัทไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด มีผู้ถือหุ้นนิติบุคคลอีก 8 บริษัท
2.นายโสภณ มีชัย ถือหุ้น 407,997 หุ้นและถือหุ้นนิติบุคคล 4 บริษัท 3.นายประจวบ ศิริเขตร ถือหุ้น 102,000 หุ้น และถือหุ้นนิติบุคคล 7 บริษัท และ 4. นายมานัส ศรีอนันท์ ถือหุ้น 3 หุ้น และถือหุ้นนิติบุคคล 10 บริษัท
นอกจากนี้ยังมีรายชื่อกิจการร่วมค้าบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด เข้าร่วมทำโครงการก่อสร้างของหน่วยงานรัฐ มี 11 บริษัท)