วันนี้ (15 ก.พ.2568) ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพมหานคร เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ย 41.2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) โดยพบว่าหลายพื้นที่ยังมีค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
12 อันดับ PM2.5 สูงสุดใน กทม.
1. เขตบึงกุ่ม 58.3 มคก./ลบ.ม.
2. เขตหนองจอก 58 มคก./ลบ.ม.
3. เขตบางนา 52.4 มคก./ลบ.ม.
4. เขตลาดกระบัง 52.2 มคก./ลบ.ม.
5. เขตมีนบุรี 50.2 มคก./ลบ.ม.
6. เขตคลองสามวา 49.3 มคก./ลบ.ม.
7. เขตบางกอกน้อย 48.6 มคก./ลบ.ม.
8. เขตบางขุนเทียน 48 มคก./ลบ.ม.
9. เขตวังทองหลาง 47.9 มคก./ลบ.ม.
10. เขตสาทร 47.5 มคก./ลบ.ม.
11. เขตหนองแขม 46.6 มคก./ลบ.ม.
12. เขตบางพลัด 45.9 มคก./ลบ.ม.
![](https://news.thaipbs.or.th/media/TSNBg3wSBdng7ijMhTpCnaDf13iYdlprcW1YaycnMEF.jpg)
ภาพรวมตรวจวัดค่า PM2.5 ในพื้นที่ กทม.
- กรุงเทพเหนือ วัดได้ 41 - 45 มคก./ลบ.ม. อากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
- กรุงเทพตะวันออก 36.5 - 58.3 มคก./ลบ.ม. อากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
- กรุงเทพกลาง 33.8 - 47.9 มคก./ลบ.ม. อากาศอยู่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
- กรุงเทพใต้ 36.2 - 52.4 มคก./ลบ.ม. อากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
- กรุงธนเหนือ 37.1 - 48.6 มคก./ลบ.ม. อากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
- กรุงธนใต้ 33.7 - 48 มคก./ลบ.ม. อากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
อย่างไรก็ตามยังคงมีคำแนะนำให้ประชาชนใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาหรือเลี่ยงทำกิจกรรม-ออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก และควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ส่วนประชาชนกลุ่มเสี่ยงให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และหากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์
อ่านข่าว