ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ฮือฮา! พบ 3 โครงกระดูกมนุษย์โบราณยุคเหล็กอายุ 2,400 ปี

ภูมิภาค
1 ก.พ. 68
15:46
88
Logo Thai PBS
ฮือฮา! พบ 3 โครงกระดูกมนุษย์โบราณยุคเหล็กอายุ 2,400 ปี
สิ้นสุดการรอคอย! สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา เผยข่าวดีทีมนักโบราณคดีขุดค้นพบ 3 โครงกระดูกมนุษย์โบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยเหล็ก อายุ 2,400 ปี 3 โครงจากแหล่งขุดค้นแหล่งโบราณคดีโนนพลล้าน เปิดให้เข้าชมถึง 11 ก.พ.นี้

เมื่อวันที่ 31 ม.ค.2568 เพจเฟซบุ๊กกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา รายงานว่าขุดค้นแหล่งโบราณคดีโนนพลล้าน ครบ 7 วัน เราพบอะไร?

ผลจากการขุดค้นทางโบราณคดีจนถึงวันนี้ ขณะนี้เราขุดค้นถึงระดับความลึก 160 เซนติเมตรจากผิวดิน พบโครงกระดูกมนุษย์ถูกฝังในลักษณะนอนหงายเหยียดยาวร่วมกับของอุทิศ จำนวน 3 โครง ได้แก่

  • โครงกระดูกมนุษย์ หมายเลข 1 ฝังในลักษณะนอนหงายเหยียดยาว หันศีรษะไปทางด้านตะวันออก ฝังร่วมกับแวดินเผา ชามดินเผา และหม้อดินเผาอยู่บริเวณหน้าอก นอกจากนี้ยังพบกลุ่มภาชนะใกล้กับต้นแขนซ้ายด้วย
  • โครงกระดูกมนุษย์ หมายเลข 2 ฝังในลักษณะนอนหงายเหยียดยาว หันศีรษะไปทางด้านตะวันตก ฝังร่วมกับหม้อดินเผาอยู่บริเวณปลายเท้า

 

กะโหลกศีรษะของโครงกระดูกมนุษย์ หมายเลข 1 ใกล้เคียงกันพบแวดินเผาและหม้อดินเผา (กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา)

กะโหลกศีรษะของโครงกระดูกมนุษย์ หมายเลข 1 ใกล้เคียงกันพบแวดินเผาและหม้อดินเผา (กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา)

กะโหลกศีรษะของโครงกระดูกมนุษย์ หมายเลข 1 ใกล้เคียงกันพบแวดินเผาและหม้อดินเผา (กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา)

 

  • โครงกระดูกมนุษย์ หมายเลข 3 ฝังในลักษณะนอนหงายเหยียดยาว หันศีรษะไปทางด้านตะวันออก ฝังร่วมกับแวดินเผาอยู่บริเวณหน้าอก และหม้อดินเผาอยู่บริเวณกระดูกเชิงกราน 

จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบสอดคล้องกับหลักฐานที่พบจากการดำเนินงานเมื่อปี พ.ศ.2567 ซึ่งพบว่าพื้นที่โนนพลล้านนี้ เป็นแหล่งฝังศพของชุมชนในวัฒนธรรมยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายสมัยเหล็ก ซึ่งกำหนดอายุอยู่ในช่วง 2,400-1,500 ปีมาแล้ว

การขุดค้นยังคงดำเนินการต่อไป หากมีโอกาสพวกขอเรียนเชิญทุก ๆ ท่าน แวะเวียนมาเยี่ยมชมหลุมขุดค้น ตลอดจนเยี่ยมชมนิทรรศการข้างหลุมขุดค้น "สืบร่องรอยมนุษย์โบราณเมืองเก่านครราชสีมา จากหลักฐานทางโบราณคดี "ในช่วงเวลา 09.30 น.ถึง 16.00 น.ไปจนถึงวันที่ 11 ก.พ.นี้ นักโบราณคดีคอยบริการให้ความรู้อยู่นะครับการขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณ กำแพงเมืองใกล้ประตูพลล้าน หรือที่เรียกกันว่า แหล่งโบราณคดีโนนพลล้าน

ภาชนะดินเผาแบบพิมายดำที่พบเป็นของอุทิศร่วมกับโครงกระดูกมนุษย์ หมายเลข 1 (กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา)

ภาชนะดินเผาแบบพิมายดำที่พบเป็นของอุทิศร่วมกับโครงกระดูกมนุษย์ หมายเลข 1 (กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา)

ภาชนะดินเผาแบบพิมายดำที่พบเป็นของอุทิศร่วมกับโครงกระดูกมนุษย์ หมายเลข 1 (กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา)

สำหรับการขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณ กำแพงเมืองใกล้ประตูพลล้าน หรือที่เรียกกันว่า แหล่งโบราณคดีโนนพลล้าน ซึ่งขุดโดยทีม นายวรรณพงษ์ ปาลกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีชำนาญการจากสำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา ให้ข้อมูลจากการขุดค้นที่ผ่านมาแล้ว 1 สัปดาห์ พบโครงกระดูกทั้งตัวแล้ว 2 อีก 2 โครง พบส่วนกะโหลกโผล่ตรงผนังขอบหลุมตอนล่างสุด ซึ่งลึกจากผิวดินเดิมเพียง 1 เมตรเศษ

โบราณวัตถุที่เป็นหลักฐานสำคัญของการบอกอายุหลุมขุดค้นนี้กับหลุมขุดค้นปีที่แล้วที่อยู่ใกล้ๆ กันว่าอยู่ในสมัยเหล็ก (2,500-1,500 ปีก่อน) คือ เหล็กที่คล้ายมีดขึ้นสนิมตามรูป ภาชนะขัดมันแบบพิมายดำ เครื่องประดับสำริด

มีการพบกระดองส่วนล่างของเต่าด้วย จึงได้เชิญ ดร.วิไลลักษณ์ นาคศรี จาก มหาลัยราชภัฏนครราชสีมา มาลงหลุมตรวจดู เบื้องต้นคาดว่าอาจเป็นเต่าบัว ซึ่งกำลังขอเวลาตรวจเช็กให้ชัดเจนก่อน ด้านการวิเคราห์ทางเรณูวิทยา ทาง ผศ.ดร.วิภานุ รักใหม่ และนักศึกษาในหลักสูตรชีวะ กำลังดำเนินการเก็บข้อมูลอยู่ทุกวัน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง