วันนี้ (27 ม.ค.2568) นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รมว.อุตสาหกรรม กล่าวถึงมาตรการรับซื้ออ้อยของโรงงานต่าง ๆ ว่า ได้มีการทำข้อตกลงสร้างกติกาให้โรงงานรับอ้อยเผาในแต่ละวันไม่เกิน 25% ซึ่งจากข้อมูลปัจจุบัน ไม่มีโรงงานใดใน 58 โรงงานรับอ้อยเผาต่อวันเกินกว่าที่กำหนด เฉลี่ยสุดท้ายอยู่ที่ 10 - 11% ถือว่าเป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์
- หาซื้อยาก หน้ากาก N95 กันฝุ่น ปชช.หันใช้แมสก์ธรรมดาแทน
- ดรามา "รถไฟฟ้าฟรี" ลดฝุ่นตัวเลขพุ่ง 1.63 ล้านคนต่อเที่ยว
ทั้งนี้ มีมาตรการช่วยเหลือ คือ จ่ายเงินชดเชยให้กับเกษตรกรที่ตัดอ้อยสดให้ตันละ 120 บ.แต่มาตรการดังกล่าวนั้นสิ้นสุดลงไปแล้ว โดยได้มีการเสนอมาตรการใหม่เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีตั้งแต่เดือน พ.ย.2566 ที่ผ่านมา โดยเป็นการอุดหนุนทั้งการตัดอ้อยสด และรวบรวมใบอ้อยส่งโรงงาน รวมแล้วอยู่ที่ตันละ 120 บ.
ขณะเดียวกันยังมีการสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์ทางการเกษตร โดยได้มีการพูดคุยกับ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เพื่อนำกลับอ้อยและใบไปผลิตไฟฟ้า
ทั้งนี้ นายเอกนัฏ มองว่า เกษตรกรคงไม่มีการเผาอ้อยเพื่อท้าทายรัฐบาล และไม่มีโรงงานใดกล้าฝ่าฝืนมาตรการการรับซื้ออ้อย แต่การเผาไร่อ้อยนั้น ยอมรับว่า ยังมีอยู่บ้าง บางพื้นที่เป็นอุบัติเหตุแต่ในบางพื้นที่เครื่องจักรเข้าไม่ถึงทำให้ต้องมีการเผา ผู้รับเหมาตัดอ้อยยังยึดติดกับวิธีเดิม ๆ
หากยังคงมาตรการเช่นนี้จนถึงสิ้นฤดูกาลปลายเดือน มี.ค. - เม.ย.จะสามารถช่วยเซฟพื้นที่การเกษตร และการเผาในพื้นที่โล่ง เป็นล้านไร่ ซึ่งอย่างไรก็ตามเราจะดำเนินการอย่างเข้มงวด และหลังจากนี้จะต้องมีการออกแบบระบบอย่างยั่งยืนยืน เพราะไม่ชอบการแก้ไขปัญหาแบบเฉพาะหน้าหรือปลายเหตุ
อ่านข่าว : หาคำตอบ บินโปรย "น้ำแข็งแห้ง" บรรเทาฝุ่น PM 2.5 ได้อย่างไร
ลมแรง! ระบายฝุ่นกทม.ดีขึ้น เตือนอีกระลอกหลัง 29 ม.ค.
เช้าวันนี้ ค่าฝุ่น กทม.พื้นที่สีส้ม 38 เขต - ไร้พื้นที่สีแดง