วันนี้ (26 ม.ค.2568) นายเสกสรร สุขแสง อธิบดีกรมบังคับคดี กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ Open House นวัตกรรมการให้บริการด้านการบังคับคดีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนผู้รับบริการที่มีต่อกระบวนการบังคับคดีผ่าน แอปพลิเคชั่น LED e-Service การส่งเงินอายัดรูปแบบใหม่ และการยืนยันตัวตนในการใช้ระบบ e-Filing ทาง ThaiD
นายเสกสรร สุขแสง อธิบดีกรมบังคับคดี
โดยรัฐบาลมีนโยบายให้ความสำคัญของการพัฒนาระบบราชการให้ขับเคลื่อนด้วยการใช้เทคโนโลยี เพื่อยกระดับภาครัฐไปสู่การเป็นหน่วยงานดิจิทัล ในการให้บริการเป็นไปด้วยความสะดวกและการเข้าถึงข้อมูลของประชาชน กรมบังคับคดีเป็นหน่วยงานภาครัฐที่ได้พัฒนานวัตกรรมการให้บริการมาอย่างต่อเนื่องมีการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริการประชาชน
ซึ่งกรมฯได้ให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้สามารถเข้าถึงบริการทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมบังคับคดี สะดวกและง่ายยิ่งขึ้น กรมบังคับคดีได้มีการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนผู้รับบริการที่มีต่อกระบวนการบังคับคดี รวมถึงการออกแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจผ่านทางช่องต่าง ๆ ของกรมบังคับคดี เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงนวัตกรรมในการให้บริการ
ปัจจุบันกรมบังคับคดีได้เปิดให้บริการแอปพลิเคชัน LED e - Service ถึงจะเข้าบริการได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ซึ่งประกอบด้วย LED property ระบบค้นหาทรัพย์สินขายทอดตลาด LED Debt Info ระบบตรวจสอบข้อมูลอายัดเงินในคดีแพ่ง ตรวจสอบยอดหนี้คงเหลือ
LED ABC ระบบตรวจสอบบุคคลล้มละลาย เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการทำนิติกรรมเฉพาะบุคคล/นิติบุคคลที่ล้มละลาย LED streaming ระบบถ่ายทอดสดการขายทอดตลาด สร้างความโปร่งใสและความเชื่อมั่นในการขายทอดตลาด LED QUEUE ระบบจองคิวด้านการบังคับคดีล่วงหน้า
“การส่งเงินอายัดรูปแบบใหม่ที่ช่วยลดการกรอกข้อมูลซ้ำซ้อนสามารถได้ใบสำคัญรับเงินชั่วคราวทันที การยืนยันตัวตนในการใช้ ระบบ e-Filing ทาง ThaiD ซึ่งกรมฯได้มีการพัฒนาระบบการให้บริการประชาชนเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานและระบบหลังบ้าน (Back Office) ของแต่ละหน่วยงานให้เชื่อมโยงกัน เพื่อลดขั้นตอนระยะเวลา และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการรวมทั้งอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน”
อธิบดีกรมบังคับคดี กล่าวอีกว่า จากสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่องเกิดการเลิกจ้างส่งผลต่อปัญหาหนี้สิน ถูกฟ้องร้องเพิ่มมากขึ้นโดยข้อมูล วันที่ 31 ต.ค. 2567 มีปริมาณคดีแพ่งและคดีล้มละลายในชั้นบังคับคดี จำนวน 4,171,644 เรื่อง ทุนทรัพย์กว่า 19.109 ล้านล้านบาท จำนวนทุนทรัพย์เมื่อเทียบ GDP จำนวน 18.37 ล้านล้านบาท หนี้ในชั้นบังคับคดีมากกว่าคิดเป็นร้อยละ 4.02
ดังนั้นปีงบประมาณ 2568 กรมฯมีบทบาทในการอำนวยความยุติธรรรม ให้แก่เจ้าหนี้ ลูกหนี้ ผู้มีส่วนได้เสีย ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างสังคมที่เป็นสุข เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
โดยปี 2568 กรมฯเร่งรัดผลักดันทรัพย์สินออกจาก ระบบการบังคับคดี เป้าหมายจำนวน 241,000 ล้านบาท สามารถผลักดันทรัพย์ได้เป็นจำนวน 53,339,959,356.27 บาท นอกจากนี้ยังการเร่งรัดสำนวนคดีแพ่งและคดีล้มละลายที่ดำเนินการให้แล้วเสร็จมีเป้าหมายเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2567 ร้อยละ 1 จำนวน 425,682 คดี ปัจจุบันสามารถดำเนินการแล้วเสร็จจำนวน 103,594 เรื่อง
สำหรับการขับเคลื่อนงานตามนโยบายรัฐบาล กรมฯได้ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชน สำหรับแผนการจัดมหกรรมไกล่เกลี่ยช่วยลูกหนี้ภายใต้กิจกรรม มีอยู่ มีกิน มีใช้ในพื้นที่ทั่วประเทศ จำนวน 52 ครั้ง ระหว่างเดือนม.ค. – ก.ย.2568 การดำเนินการเกี่ยวกับคดีกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
โดยมีการดำเนินการหารือแนวทางการบังคับคดีหนี้กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มลูกหนี้ คือ กลุ่มลูกนี้ที่ชำระหนี้ครบถ้วน และลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างการจัดทำบัญชีรับ-จ่าย การทบทวนปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้อง
กับสถานะการณ์ เช่น ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่..) พ.ศ. .... (กระบวนการพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้) โดยกฎหมายฉบับนี้จะทำให้ลูกหนี้ที่มีลักษณะเป็นกิจการขนาดย่อมสามารถเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการได้เช่นเดียวกันกับการฟื้นฟูกิจการขนาดใหญ่ คาดว่าจะมีผลบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ช่วงเดือนเม.ย. 2568
นอกจากนี้กรมฯยังได้การให้ความรู้ด้านการเงินและด้านกฎหมายเพื่อให้ประชาชนรับรู้สิทธิที่ถูกต้องสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตปประจำวัน และการยกระดับประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนด้วยนวัตกรรมและดิจิทัล เช่น ปัจจุบันจะใช้ระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตน หรือแอบพลิเคชัน ThaiD ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการ LED e-Service ต่าง ๆ ได้ง่าย ปลอดภัย เพื่อลดต้นทุนเวลา และเพิ่มคุณภาพการให้บริการประชาชน
อ่านข่าว:
“ทรัมป์” คืนบังลังก์ เขย่า “เทรดวอร์” สงครามการค้าสะเทือนทั่วโลก
อดีตรองผู้ว่ากทม.ติงรัฐ 4 ประเด็น “บ้านเพื่อคนไทย” ยังน่าห่วง