วันนี้ (21 ม.ค.2568 ) นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย มีความพร้อมสำหรับการ อำนวยความสะดวก ในการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายสมรสเท่าเทียม พร้อมกันทั่วประเทศแล้วในวันพฤหัสบดีที่ 23 ม.ค.นี้ บนหลักการความเสมอภาคและเท่าเทียม ภายใต้แนวคิด “สมรสเท่าเทียม" ยินดีกับทุกความรัก 878 อำเภอ ทั่วไทย รวมถึงสนับสนุนการดำเนินงานตาม กฎหมายฉบับนี้ที่ประกาศใช้
- ดีเดย์ 23 ม.ค.68 จดทะเบียนสมรสเท่าเทียม เช็กใช้เอกสารอะไรบ้าง
- สิทธิ-หน้าที่ "คู่สมรส" 23 ม.ค. กฎหมายสมรสเท่าเทียมบังคับใช้
นายคารม กล่าวว่า กรมการปกครองในฐานะนายทะเบียนกลาง ได้เตรียมความพร้อมซักซ้อมการปฏิบัติกับสำนักทะเบียน และอำเภอ 878 แห่ง พร้อมทั้งสำนักงานเขตใน กทม.50 เขต รวมทั้งสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลไทยในต่างประเทศ 94 แห่ง ซึ่งจะมีผลใช้บังคับในวันพฤหัสบดีที่ 23 ม.ค.นี้ ใน 4 ด้าน คือ
ด้านระเบียบ โดยได้ร่างระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจดทะเบียนครอบ ครัว (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2568 เพื่อรองรับการอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวระหว่างบุคคลเพศหลากหลาย ทำให้คู่รักสามารถหมั้นและสมรสกันได้ ซึ่งจะทำให้ทราบสิทธิ หน้าที่ และสถานะทางครอบครัวที่เท่าเทียมกัน และเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวที่ก่อตั้งขึ้นระหว่างบุคคลทั้งสองฝ่าย
อ่านข่าว ราชกิจจาฯ ประกาศกฎกระทรวงระเบียบจดทะเบียนสมรสเท่าเทียม
สำหรับด้านระบบ โดยได้มีการแก้ไขระบบทะเบียนสมรสและทะเบียนหย่า และมีการทดสอบระบบเรียบร้อยแล้ว รวมทั้งจัดเตรียมผลิตแบบพิมพ์ ใบสำคัญการสรส (คร.3) และใบสำคัญการหย่า (คร.7) เพื่อรองรับการให้บริการที่เพิ่มสูงขึ้น
ด้านบุคลากร โดยได้จัดทำชุดความรู้และอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทะเบียนใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด การปรับกรอบความคิดในการให้บริการประชาชน และการบริการที่เป็นสากลบนหลักความเสมอภาคและเท่าเทียม คำนึงถึงมารยาทสากลและหลักสิทธิมนุษยชน
อ่านข่าว รู้จักกฎหมายฟ้องชู้ ไม่ได้ยกเลิก แต่ให้สิทธิสอดคล้องสมรสเท่าเทียม
ด้านการจัดกิจกรรม ได้แก่ กิจกรรม Kick Off ในวันนี้ และกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่จะจัดขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศ ณ ที่ว่าการอำเภอ ทั้ง 878 แห่ง ในวันที่ 23 ม.ค.นี้ ซึ่งเป็นวันแรกที่กฎหมายสมรสเท่าเทียมมีผลบังคับใช้ เพื่อเฉลิมฉลองให้กับทุกความรักตามแนวคิด “กรมการปกครองยินดีเป็นนายทะเบียนให้กับทุกความรัก”
23 ม.ค.นี้ เป็นวันที่กฎหมายสมรสเท่าเทียมมีผลบังคับ กรมการปกครอง พร้อมอำนวยความสะดวกให้คู่รักที่มีความหลากหลายทางเพศเข้าจดทะเบียนสมรส เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียม ความเสมอภาค และการไม่เลือกปฏิบัติ
รวมทั้งยังเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทยในระดับนานาชาติในฐานะประเทศที่ยอมรับและเคารพสิทธิมนุษยชน รวมถึงสนับสนุนความหลากหลายทางเพศ จึงเชิญชวนคู่รักทุกคู่เข้ารับบริการจดทะเบียนสมรสได้ ณ ที่ว่าการอำเภอ และสำนักงานเขตทุกแห่งทั่วประเทศ
บันทึกประวัติศาสตร์ชาว LGBTQ+
ขณะที่ Siam Paragon โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า บันทึกประวัติศาสตร์ ฉลองกฎ หมายสมรสเท่าเทียมของชาว LGBTQ+ ชาติแรกในอาเซียน มาร่วมแสดงพลังสร้างจุดเปลี่ยนของสังคมไทยที่จะก้าวสู่ความเท่าเทียมทางเพศอย่างแท้จริงไปด้วยกัน ที่งาน “Marriage Equality สมรสเท่าเทียม” จดทะเบียนสมรสเท่าเทียมครั้งแรกในประเทศไทย วันที่ 23 ม.ค.นี้ ณ Paragon Hall ชั้น 5 สยามพารากอน
อ่านข่าว เปิด 3 มิติ "สมรสเท่าเทียม" เปลี่ยนชีวิตเด็ก-ครอบครัวไทยให้ดีขึ้น
โดยพิธีจดทะเบียนสมรสเท่าเทียมครั้งแรก เวลา 8.00–18.00 น.ดำเนินการโดยกรุงเทพมหานครและเขตปทุมวัน พร้อมมอบใบสำคัญการสมรสรูปแบบพิเศษ พิธีเปิดงานและขบวนแห่งความรัก (10.00-12.30 น.)
คาดว่ามีการกับการจดทะเบียนสมรสเท่าเทียมแบบมากกว่า 300 คู่ ตั้งแต่ 8.00 น. และยังมีขบวนแห่สมรสเท่าเทียม นำขบวนแห่โดยอิงฟ้า วราหะ และชาล็อต ออสติน พร้อมมาโชว์เพลงส่งคู่รักด้วยเช่นกัน
นิทรรศการ "เส้นทางสู่สมรสเท่าเทียม" บอกเล่าเรื่องราวการต่อสู้และความสำเร็จของขบวนการสมรสเท่าเทียมในสังคมไทย
รวมทั้งช่วงที่ 2 Marriage Identity-งานเดินพรมแดง ร่วมเฉลิมฉลองบนพรมแดงสีรุ้ง Pride Carpet สัญลักษณ์แห่งความภาคภูมิใจและการยอมรับ พร้อมแสดงออกถึงตัวตนผ่านการแต่งกายที่สะท้อนอิสรภาพทางความคิดและจิตวิญญาณแห่งความรัก บนเส้นทางสีรุ้งที่จะจารึกไว้ในประวัติศาสตร์
โดยน.ส.แพทองธาร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งประกาศความสำเร็จและสถิติการจดทะเบียนสมรสทั่วประเทศ
โดยนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
อ่านข่าวอื่นๆ
สหรัฐฯ ยอมรับแค่ 2 เพศ "ทรัมป์" ยกเลิกใช้ "X" บนเอกสารราชการ
แนะ 120 วันศึกษากม."สมรสเท่าเทียม" ชี้ผูกพันอาญา-แพ่ง