ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ดรามา! มุ้งสู้ฝุ่น "สมศักดิ์" สกัดกรมอนามัยของบกลางเข้า ครม.

สังคม
13 ม.ค. 68
12:10
90
Logo Thai PBS
ดรามา! มุ้งสู้ฝุ่น "สมศักดิ์" สกัดกรมอนามัยของบกลางเข้า ครม.
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
“สมศักดิ์” ปัดกรมอนามัย เตรียมของบซื้อ "มุ้งสู้ฝุ่น” ยันมีเงินสปสช.ใช้ได้ 400-500 ล้านบาท ส่วน อบจ. ประสานของบจัดซื้อได้ เตือนกลุ่มเด็กเล็กเสี่ยง PM2.5 หากค่าเกิน90 มคก.ต่อ ลบ.ม.ติดต่อเกิน 3 วันให้หยุดเรียน

วันนี้ (13 ม.ค.2568) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีที่กรมอนามัย เตรียมเสนอของบประมาณเพื่อดำเนินโครงการ “มุ้งสู้ฝุ่น” ว่า วันนี้ค่าฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐานในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ผู้ป่วยติดเตียง สธ.มีโครงการมุ้งป้องกัน PM 2.5 และห้องปลอดฝุ่นมีอยู่ประมาณ 3,000 แห่ง รองรับการใช้งานของประมาณ 1,000,000 คน

วันนี้กรมอนามัยจะไปรณรงค์เรื่องมุ้งสู้ฝุ่น เป็นตัวอย่างในพื้นที่ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เพื่อให้เห็นว่ามุ้งผ้าฝ้าย ขนาดกว้าง 1.5 เมตร ยาว 2.2 เมตร สูง 1.7 เมตร และจะมีมอเตอร์ขนาดเล็กสำหรับคัดกรองอากาศ มูลค่าตัวละ 1,400 บาท

ส่วนตัวมุ้งราคา 400-500 บาท ต้องดูว่าจะนำงบส่วนไหนเข้าไปช่วยกลุ่มเปราะบางได้บ้าง เป็นเรื่องของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หรือ 30 บาทรักษาทุกที่ รวมถึงงบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่สามารถนำไปใช้ป้องกัน

ขณะนี้มีต้นแบบ ส่วนผู้ที่จะได้รับอาจจะต้องเป็นอบจ.เป็นผู้ประสานกับ สปสช. ที่มีการแบ่งงบไว้ 400-500 ล้านบาท อบจ.สามารถแบ่งจ่ายเป็นรายจังหวัดได้

อ่านข่าว ฝุ่นเกินเกณฑ์ "สีส้ม" 43 พื้นที่ กทม. "เขตคลองสามวา" วัดได้สูงสุด

ต้นแบบมุ้งสู้ฝุ่น ของกรมอนามัย ซึ่งต่อยอดจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ต้นแบบมุ้งสู้ฝุ่น ของกรมอนามัย ซึ่งต่อยอดจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ต้นแบบมุ้งสู้ฝุ่น ของกรมอนามัย ซึ่งต่อยอดจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ส่วนที่บอกว่าการใช้มุ้งสู้ฝุ่นจะสามารถลดค่ารักษาพยาบาลได้ 50,000 บาทต่อคน นายสมศักดิ์ กล่าวว่า จากการประเมินพบว่าหากไม่มีการคัดกรองอากาศและเกิดเจ็บป่วยจะมีค่ารักษาพยาบาลประมาณ 40,000-50,000 ต่อคน

อบจ.สามารถทำเรื่องเบิกจ่ายไปยัง สปสช.ได้ ส่วนเรื่องของมุ้ง กรมอนามัยจะเป็นผู้ดำเนินการ ขณะนี้เริ่มแจกไปบางส่วน 1,400 มุ้ง ที่จะแจกจ่ายให้กับอบจ. เพื่อเป็นตัวอย่าง

ยังไม่ทราบเรื่องที่กรมอนามัย เตรียมจะเสนอของบเพิ่มเติมในการจัดทำมุ้งสู้ฝุ่น อาจจะไม่ทราบว่ามีงบของ สปสช.อยู่หากรู้อาจจะไม่มีการเสนอของบในส่วนนี้เข้ามา
สมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข

สมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข

สมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข

มุ้งสู้ฝุ่นนำร่องภาคเหนืองบลงทุนไม่ถึง 2 พันบาท

สำหรับโครงการมุ้งสู่ฝุ่นเมื่อปี 2567 ในสมัย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว อดีตรมว.สธ. โดยปี 2567 ทางสธ.ขยายผล “มุ้งสู้ฝุ่น” ในเขตสุขภาพที่ 1 ครอบคลุม 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ซึ่งประสบปัญหาฝุ่น PM2.5 นอกจากเข้าใช้บริการห้องปลอดฝุ่นในสถานบริการแล้ว

กรมอนามัย ยังได้นำนวัตกรรม “มุ้งสู้ฝุ่น” ป็นการต่อยอดความรู้จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อให้ประชาชนนำมาปรับปรุงพื้นที่ปลอดฝุ่นที่บ้าน โดยใช้มุ้งผ้าฝ้ายร่วมกับเครื่องฟอกอากาศ สามารถประยุกต์ใช้กับบ้านหรือ ห้องที่มีลักษณะโล่ง มีรูรั่ว หรือผนังห้องไม่มิดชิดได้อย่างดี

ขั้นตอนการทำไม่ยุ่งยาก และมีค่าใช้จ่ายไม่ถึง 2,000 บาท แต่ช่วยลดมลพิษทางอากาศได้ผลดี ช่วยให้ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางได้เข้าถึงพื้นที่ปลอดฝุ่นที่บ้านได้มากขึ้น

สภาพฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่กทม.-ปริมณฑล พบเกินมาตรฐาน 43 พื้นที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ

สภาพฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่กทม.-ปริมณฑล พบเกินมาตรฐาน 43 พื้นที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ

สภาพฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่กทม.-ปริมณฑล พบเกินมาตรฐาน 43 พื้นที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ

เด็กเล็กกลุ่มเสี่ยง-แนะหยุดเรียนฝุ่นพุ่ง

นพ.ธนินทร์ เวชชาภินันท์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ฝุ่นละออง PM 2.5 คือฝุ่นมีขนาดเล็กกว่าเส้นผมมนุษย์ถึง 25 เท่า ทำให้สูดเข้าไปในร่างกายได้โดยตรง ความรุนแรงของฝุ่น PM 2.5 มีอันตรายต่อเด็กเพราะสามารถแทรกซึมเข้าสู่ร่างกาย และทำลายระบบต่างๆ ได้

โดยเฉพาะเด็กเล็กเป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงที่อาจได้รับผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ เด็กที่สัมผัสกับมลพิษทางอากาศในระดับสูงอาจมีความเสี่ยงต่อปอดของเด็ก เนื่องจากยังพัฒนาไม่เต็มที่ มีอัตราหายใจที่ถี่กว่าผู้ใหญ่และสูดอากาศที่มีมลพิษเข้าไปมากกว่าผู้ใหญ่

ยิ่งเด็ก อายุน้อยเท่าไรอัตราการหายใจเข้าต่อนาทีก็ยิ่งถี่มากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรดูแลเด็กทั้งกลุ่มปกติทั่วไปและเด็กที่มีโรคประจำตัวโดยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด

อ่านข่าว ฝุ่นพิษ PM 2.5 ฆาตกรเงียบ เบื้องหลังโรคหลอดลมอักเสบ

 

ด้านนพ.อัครฐาน จิตนุยานนท์ ผอ.สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กล่าวว่า เมื่อระดับ PM 2.5 มากกว่า 37.5 มคก.ต่อ ลบ.ม.
ไม่ควรออกกำลังกายกลางแจ้ง

ค่าเฉลี่ย 24 ชม.ของ PM 2.5 มากกว่า 50 มคก.ต่อ ลบ.ม.ควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้ง พิจารณาให้มีการหยุดเรียน หากระดับ PM 2.5 มากกว่า 90 มคก.ต่อ ลบ.ม. ติดต่อกันเกิน 3 วันหรือ 151 มคก.ต่อ ลบ.ม.

วิธีป้องกันฝุ่น PM 2.5 แบบง่าย ๆ ที่ทุกคนสามารถทำได้ทันที คือ การสวมใส่หน้ากากอนามัยที่สามารถกรองฝุ่น PM 2.5 ได้ งดกิจกรรมที่ก่อให้เกิด PM2.5 เช่น การเผาใบไม้ เผาขยะและสูบบุหรี่ ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิดโดยระวังไม่ให้ห้องร้อนจนเกินไป ถูพื้นโดยใช้ผ้าเปียกเพื่อลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ 6–8 แก้วต่อวัน ควรใช้เครื่องปรับอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศ ที่สามารถกำจัดฝุ่น PM 2.5 ภายในบ้านหรือที่พักอาศัยได้

โดยไม่ควรใช้เครื่องปรับอากาศ หรือเครื่องฟอกอากาศที่มีการผลิตโอโซน เพราะโอโซนในปริมาณมากเป็นมลพิษอย่างหนึ่ง กรณีเด็กที่มีโรคประจำตัวควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดและสังเกตอาการ หากพบว่ามีอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย หายใจลำบาก หายใจถี่ หายใจไม่ออกให้รีบไปพบแพทย์

อ่านข่าว

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง