ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ลูกจ้าง "ยานภัณฑ์" ยื่น กมธ.แรงงาน ช่วยติดตามเงินชดเชยถูกเลิกจ้าง

การเมือง
25 ธ.ค. 67
11:35
203
Logo Thai PBS
ลูกจ้าง "ยานภัณฑ์" ยื่น กมธ.แรงงาน ช่วยติดตามเงินชดเชยถูกเลิกจ้าง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ตัวแทนลูกจ้างบริษัทยานภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) ที่ถูกเลิกจ้าง เข้ายื่นหนังสือต่อกรรมาธิการการแรงงาน ขอให้ช่วยติดตามนายจ้างจ่ายเงินชดเชย หลังนายจ้างผิดสัญญาไม่จ่ายเงินตามนัด

ความคืบหน้า กรณีที่ ลูกจ้าง บ.ยานภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) ที่ถูกเลิกจ้าง ยังไม่ได้รับเงินชดเชยจากนายจ้าง หลังนายจ้างผิดสัญญาไม่จ่ายเงินตามนัด

ล่าสุด วันนี้ (25 ธ.ค.2567) หลังจากลูกจ้างบริษัทยานภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) ที่ถูกเลิกจ้าง จำนวน 859 คน เดินทางยื่นหนังสือต่อกระทรวงแรงงาน เพื่อให้ติดตามนายจ้างให้จ่ายเงินชดเชยตามสัญญา หลังนายจ้างไม่จ่ายเงินตามนัดงวดแรก ในวันที่ 20 ธ.ค.2567 ที่ผ่านมา และมีแนวโน้มที่จะไม่จ่ายเงินงวดที่ 2 และงวดที่ 3 ตามสัญญาด้วย รวมทั้งรวมตัวกดดันหน้า บ.ย่านกิ่งแก้ว จ.สมุทรปราการ และบ้านของนายจ้างในเขตประเวศในช่วงหลายวันที่ผ่านมา แต่ไม่เป็นผล และไม่มีคำตอบหรือความคืบหน้าจากทุกฝ่าย

วันนี้ ตัวแทนลูกจ้าง จึงเดินทางมายื่นหนังสือต่อกรรมาธิการการแรงงาน ขอให้ช่วยติดตามตัวนายจ้าง มาจ่ายเงินชดเชยและเงินตามสิทธิต่างๆ ให้แรงงานทุกคน รวมถึงประสานกระทรวงแรงงานและรัฐบาลช่วยหาเงินมาจ่ายลูกจ้างก่อน และบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด

นายวิรุต นามมณี กรรมการสหภาพแรงงานชิ้นส่วนยานยนต์กรุ๊ป เปิดเผยว่า ลูกจ้างได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เนื่องจากไม่มีเงินใช้หนี้ และเป็นค่าใช้จ่ายเลี้ยงครอบครัว หากหลังจากนี้นายจ้างยังไม่จ่ายก็จะเดินหน้ายกระดับการกดดันต่อไป

ด้านนายสุเทพ อู่อ้น ที่ปรึกษาสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การกระทำของนายจ้างกรณีนี้ เป็นการทำร้ายแรงงานกลุ่มยานยนต์ ซึ่งหากหลังจากนี้ยังไม่มีการออกมาจ่ายเงินของนายจ้าง วิงวอนขอให้สหภาพแรงงานร่วมออกมาขับเคลื่อนเรื่องนี้

ขณะที่นายเซีย จำปาทอง รองประธานกรรมาธิการการแรงงาน เปิดเผยว่า หลังจากนี้จะเร่งนำเรื่องนี้เข้ากรรมาธิการการแรงงาน เพื่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามการจ่ายเงินชดเชยต่อไป ปัจจุบันมีสถานประกอบการหลายแห่งที่เลิกจ้าง เลียนแบบพฤติกรรมไม่จ่ายเงินชดเชยให้ลูกจ้าง จึงมองว่า จำเป็นที่กระทรวงแรงงานจะต้องกลับมาทบทวน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ให้เข้มงวดการบังคับให้นายจ้างจ่ายเงินชดเชยให้แรงงาน และเพิ่มโทษที่รุนแรงขึ้น

อ่านข่าว : ยานภัณฑ์เลิกจ้างกะทันหัน 859 ชีวิตร้อง "พิพัฒน์" นายจ้างผิดสัญญา 

สภาอุตฯ คาดตัวเลขปิดโรงงาน-เลิกจ้างพุ่งอีก

พนง.บริษัทญี่ปุ่น เรียกร้องค่าชดเชย หลังถูกเลิกจ้างกะทันหัน

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง