ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

น้ำท่วมใต้ วิบากกรรมซ้ำซาก ถึงเวลาธรรมชาติเอาคืน "มนุษย์"

ภัยพิบัติ
15 ธ.ค. 67
17:56
1,099
Logo Thai PBS
น้ำท่วมใต้ วิบากกรรมซ้ำซาก ถึงเวลาธรรมชาติเอาคืน "มนุษย์"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

วิกฤตฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องในหลายจังหวัด ตั้งแต่ภาคเหนือ จนถึงภาคใต้ ไล่จาก 3 จังหวัดชายแดนใต้ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส จนถึงจังหวัดกลุ่มอันดามัน สงขลา ชุมพร ระนอง มวลน้ำไหลท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่การเกษตร ถนนสายหลัก สายรอง โดยเฉพาะถนนสายเอเชีย หลายจุดน้ำท่วมขังสูง ถูกตัดขาด ไม่สามารถสัญจร

แทบทุกครั้งที่เกิดเหตุดังกล่าว สังคมมักจะตั้งคำถามถึงปัญหาที่ทำให้เกิดน้ำท่วมซ้ำซาก ทั้งจากภัยธรรมชาติ สภาพอาการที่แปรปรวน รวมถึงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นที่ฐานอาจจะไปขวางทางน้ำไหล

แม้จะทราบสาเหตุแต่สิ่งที่ประชาชนต้องการ คือ การแก้ไขปัญหาที่เป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็วจากรัฐบาล แต่ที่ผ่านมาเหมือนปัญหานี้ไม่เคยถูกกำหนดไว้เป็นนโยบายในระดับท้องถิ่น 

ฝนสะสม-น้ำทะเลหนุน ตัวเร่งน้ำท่วมใหญ่ชุมพร

นายสลิล โตทับเที่ยง ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน เปิดเผยกับ “ไทยพีบีเอสออนไลน์” ถึงสถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้ตอนล่าง โดยเฉพาะพื้นที่จ. ชุมพร และระนองที่ยังวิกฤตในขณะนี้ว่า ถนนสายหลักและสายรองยังถูกตัดขาด

ถนนสายเอเชีย 41 สู่ภาคใต้ มีน้ำท่วมขังสูงหลายจุด ไม่สามารถสัญจรได้ จึงส่งผลกระทบกับการขนส่งสินค้าที่จะลงสู่ภาคใต้ สาเหตุหลักๆมาจากปริมาณปริมาณน้ำฝนสะสมที่มากกว่าปกติฝนตกต่อเนื่องมาหลายวันก่อนที่จะเกิดน้ำท่วม ประกอบกับเป็นช่วงขึ้น 15 ค่ำ น้ำทะเลจึงหนุนสูงทำให้น้ำระบายไม่ทัน

นายสลิล โตทับเที่ยง ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน

นายสลิล โตทับเที่ยง ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน

นายสลิล โตทับเที่ยง ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน

นอกจากนี้ ปริมาณฝนที่ตกสะสมมาหลายวันจากความมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำ เคลื่อนผ่านอ่าวไทยตอนล่าง ภาคใต้ตอนล่าง และประเทศมาเลเซีย ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักหลายพื้นที่ 

ประธานหอการค้ากลุ่มอันดามัน บอกว่า ปัญหาดังกล่าว ผลกระทบเส้นทางคมนาคมและระบบขนส่ง เนื่องจากรถไฟหยุดการเดินรถ ส่วนรถขนส่งสินค้าอุปโภคและบริโภค ต้องเลี่ยงไปใช้เส้นทางถนนเพชรเกษมเดิม ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าว ไม่ต่างจากน้ำท่วม เมื่อปี 2554 ที่ภาคใต้เกิดน้ำท่วมใหญ่ ขณะนั้นจังหวัดที่ได้รับผลกระทบหนักสุด คือ สุราษฎร์ธานี เนื่องจากการสัญจรของภาคใต้ถูกตัดขาดไปครึ่งหนึ่ง

จี้รัฐเร่งทำถนนเพชรเกษมเพิ่ม100 กม.

นายสลิล กล่าวว่า ที่ผ่านมาหอการค้าภาคใต้ฯพยายามผลักดันโครงการก่อสร้างถนน ช่วงเพชรเกษม เพื่อขยายเป็น 4 ช่องทางจราจร ช่วงผ่านระนองลงใต้ด้านจ.พังงา กระบี่ ตรัง แต่ 13 ปีผ่านไป เส้นทางดังกล่าวก็ยังไม่แล้วเสร็จ จนปัจจุบันเกิดน้ำท่วมใหญ่ จึงขอให้กระหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เร่งก่อสร้าง

หากภาคใต้ ใช้ถนนสายเอเชียเพียงเส้นทางเดียว ปัญ หาก็จะเกิดขึ้นซ้ำซาก ถ้าปริมาณน้ำลดเร็วผลกระทบจะไม่มาก แต่ถ้านานการขนส่งต่างๆจะหยุดชะงักทั้งการส่งออก การอุปโภคบริโภค

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันถนนช่วงเส้นทางระนองไปชุมพรก่อสร้างเสร็จแล้ว แต่เส้นทางจากจ.ระนองลงมาพังงา ยังไม่แล้วเสร็จ ระยะทางยาวกว่า 100 กิโลเมตร ขณะที่กรมทางหลวงได้รับงบประมาณก่อสร้างเพียงปีละ 4-5 กิโลเมตรเท่านั้น

ประธานหอการค้าอันดามัน ตั้งข้อสังเกตว่า จากงบที่หน่วยงานได้รับ กว่าจะสร้างถนนเส้นนี้เสร็จ คาดจะใช้เวลาเกือบ 30 ปี ซึ่งอาจทำให้ไทยเสียโอกาสการแข่งขันด้านการขนส่ง  นอกจากนี้ หากเกิดปัญหาน้ำท่วมในอนาคต ถนนเส้นนี้จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะใช้เพื่อการคมนาคมและการขนส่ง รัฐบาลจึงควรเร่งก่อสร้างเพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนและธุรกิจขนส่ง

ส่วนถนนสายเอเชีย ก็ต้องกลับไปศึกษาสาเหตุ ว่า ปัญหาน้ำท่วมส่วนหนึ่ง มาจากการสร้างถนนขวางทางน้ำ ร่องน้ำ หรือคลองย่อยต่างๆอาจตันทำให้ระบายน้ำได้ช้าหรือไม่

หากดูร่องน้ำ จากภาคใต้ตอนบนลงมาด้านล่างจะมีเทือกเขาบรรทัดพาดยาวมา และน้ำแบ่งลง 2 ทาง คือ อันดามัน กับอ่าวไทย ซึ่งถนนสายเอเชียสร้างขนานลงมาก็อาจจะทำให้มีส่วนทำให้น้ำไหลงมาช้าลง ต้องไปหาจุดที่ไปขวางทางน้ำอยู่ตรงไหน และการขยายถนนเอเชียเป็น 8 เลน ในอนาคตนั้นอาจจะยกระดับให้สูงขึ้น เพื่อเลี่ยงการเกิดน้ำท่วม

ประธานหอกลุ่มอันดามัน ยอมรับว่า ปริมาณน้ำฝนปีนี้มากกว่าทุกปีที่ผ่าน และขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินความเสียหายได้ และหอการค้าในพื้นที่อยู่ระหว่างเก็บรวบรวมข้อมูล 

อย่างไรก็ตาม หากดูประเมินปริมาณฝน คาดว่าในวันพรุ่งนี้( 16 ธ.ค.2567)อาจลดลง แต่ต้องลุ้นว่าจะมีพายุลูกใหม่เข้ามาหรือไม่ เพราะภาคใต้อยู่ในช่วงฤดูฝน ซึ่งทางฝั่งอ่าวไทยจะมีลมมรสุมตะะวันออกเฉียงเหนือและร่องมรสุมกดสภาพอากาศทำให้ฝนตกได้ 

น้ำท่วมปีนี้ถือว่ามากกว่าปีก่อน นอกจากปริมาณฝนที่ต่อนาน ปัญหาโลกร้อนก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดน้ำท่วมเพราะอุณหภูมิสูงขึ้นทุกปี

“โลกร้อน” ต้นเหตุ น้ำท่วม-ภัยพิบัติ

ด้าน ดร.รอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ปัญหาหลักๆที่ทำให้ไทยเกิดปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ อาจมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) ส่งผลให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นทุกปี น้ำแข็งที่ขั้วโลกเกิดการละลาย กระแสน้ำที่ขั้วโลกไหลมาสมทบ ไทยซึ่งอยู่ตรงกลางแนวปะทะทำให้เกิดสภาวะอากาศที่แปรปรวน ทำฝนตกหนัก ฝนแล้ง และในปีต่อ ๆ ไปคาดว่าปริมาฯน้ำจะเพิ่มขึ้น ซึ่งจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่สุ่มเสี่ยงภัยพิบัติก็จะเจอปัญหาน้ำท่วมเช่นนี้ทุก ๆ ปี

ปัญหา climate change เป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถเริ่มได้โดยการเปลี่ยนวิธีพัฒนาและพัฒนาเมือง แต่ที่ผ่านมาไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาชนบทน้อยมากจนมองข้ามการพัฒนาภาคเกษตร และในอนาคตโลกอาจจะขาดแคลนอาหาร

ผมเคยนำ โครงการพระราชดำริของในหลวง รัชกาลที่ 9 มาปรับใช้และทดลองซึ่งได้ผลมาก และชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นกว่าเดิม 3-4 เท่า ในการทำป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่างซึ่งประสบความสำเร็จชาวบ้านพร้อมใจช่วยกัน

ดร.รอยล ให้คำแนะนำว่า ควรต้องย้อนกลับไปดูว่าที่ผ่านมา การมองคลองแบบโครงสร้างแยกส่วน เช่น คลองสำหรับน้ำท่วมและน้ำแล้ง ดังนั้นในอนาคตต้องร่วมเป็นหนึ่งเพื่อรองรับเหตุการณ์ต่างๆได้ การแก้ปัญหาเรื่องโลกร้อนต้องได้รับความร่วมมือของคนชุมชนด้วย

แนะรัฐมีระบบแจ้งเตือน รับมือภัยพิบัติ

ดร.สันติ ภัยหลบลี้ ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัญหาน้ำท่วม จ.ชุมพร ไม่ใช่เรื่องแปลก เนื่องจากช่วงนี้น้ำทะเลหนุนสูง สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มเชิงเขา มีถนนเพชรเกษม ขวางทางน้ำที่จะไหลออกสู่ทะเล และยังมีอุโมงค์ระบายน้ำไม่เพียงพอ ไม่สามารถระบายน้ำฝนและน้ำทะเลหนุนได้ทัน อยากขอให้ชาว จ.สุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช เตรียมรับมือและคาดว่าน่าจะกระทบหนักด้วยเช่นกัน

ชาวบ้านรู้ดีว่าเป็นพื้นที่น้ำท่วม แต่ไม่คิดว่าจะมีน้ำทะเลหนุนสูงเช่นนี้ ซึ่งทางออกที่ดีคือรัฐบาลควรมีระบบแจ้งเตือนที่มีประสิทธิภาพให้รู้ล่วงหน้า

ทั้งนี้ Nikkei Asia เคยเสนอผลการศึกษาของ Japan's exacerbated by urban development ว่า นโยบายการพัฒนาเมืองของญี่ปุ่นเป็นส่วนสำคัญอยที่ทำให้ประสบกับอุทกภัยที่รุนแรงขึ้น ทั้งนี้ในประเทศที่ประสบภัยพิบัติสูงอย่าง ญี่ปุ่น โดยเฉพาะแผ่นดินไหว และน้ำท่วม

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติญี่ปุ่น ชี้ว่า ประชาชนนิยมอาศัยอยู่บริเวณ ที่ราบลุ่มและพื้นที่เสี่ยงภัย ต่อการเกิดน้ำท่วมมากขึ้น ในปี 2563 มีประชาชนจำนวน 24.59 คนที่อาศัยในบริเวณเสี่ยงภัยดังกล่าว เทียบกับปี 2538 ที่มีประชากรอยู่อาศัย ณ บริเวณนั้น 23.83 ล้านคน เพิ่มขึ้นราว 760,000 ล้านคน คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นเกินกว่า 3 % อีกทั้ง ชาวญี่ปุ่นนิยมสร้างบ้านเรือนบริเวณที่ราบลุ่ม

จากสถิติของ Statista พบว่า ในปี 2563 ความเสียหายจากน้ำท่วมและดินโคลนถล่มในญี่ปุ่นอยู่ที่ 286.73 ล้านเยน ส่วนแผ่นดินไหวอยู่ที่ 28.73 ล้านเยน น้อยกว่าถึง 10 เท่า โดยตัวเลขผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่เมืองที่ได้รับการพัฒนานั้น อยู่ที่ 395,000 ดอลลาร์สหรัฐ/เฮกเตอร์ หรือ 63,200 บาท/ไร่

โคจิ อิเคอุจิ ศาสตราจารย์กิตติคุณแห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว กล่าวว่า ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ประสบกับปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำกำลังเผชิญความท้าทายในการบรรลุเป้าหมายทั้งความปลอยภัยของชีวิตและทรัพย์สินและการพัฒนาพื้นที่ไปพร้อม ๆ กัน

สิ่งที่รัฐบาลทำได้ คือ พัฒนาระบบ "แจ้งเตือนภัยพิบัติ" ให้ทรงประสิทธิภาพที่สุด เพื่อบรรเทาปัญหาบางส่วน โดยเฉพาะระบบ "J-Alert" ระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติล่วงหน้า ที่ช่วยให้ลดอัตราการสูญเสียชีวิตในญี่ปุ่นถึง 97% ให้ญี่ปุ่นถือเป็นประเทศที่มีการรับมือภัยพิบัติอันดับต้น ๆ ของโลก

ระบบ "J-Alert" ระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติล่วงหน้า เป็นต้นแบบและมาตรฐานให้แก่ประเทศต่าง ๆ ถอดบทเรียนและนำไปประยุกต์ใช้ต่อการแจ้งเตือนภัยพิบัติไปทั่วโลก

จากสถิติ Hyogo Framework Disaster Risk Progress Score ที่จัดอันดับประเทศที่บริหารจัดการภัยพิบัติได้ดีที่สุดในโลก พบว่า ญี่ปุ่นอยู่ในอันดับที่ 5 ด้วยคะแนน 4.5 (เต็ม 5) ในช่วงปี 2548-2558 และยังเป็นประเทศในทวีปเอเชียประเทศเดียวที่ติดอันดับ Top 10 อีกด้วย

วิกฤตน้ำท่วมซ้ำซาก ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นภูมิภาคใด ส่งผลเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สินของผู้คนนับครั้งไม่ถ้วน แต่รัฐบาลกลับไม่เคยแก้ปัญหาได้อย่างจริงจัง สักครั้งเดียว

อ่านข่าว:

หอฯอันดามัน ห่วง “น้ำท่วมใต้” อาหารขาดแคลน -พื้นที่เกษตรจม

 “ชุมพร” ถนนเอเชีย 41 ขึ้น-ลงใต้ รถทุกชนิดผ่านได้แล้ว

ปภ.เผยน้ำท่วม 4 จังหวัดใต้ กระทบ 43,595 ครัวเรือน ตาย 3 คน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง