ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

“พิชัย นริพทะพันธุ์” วานิชย์ สู่ ธนกิจการเมือง คุมปากท้องชาวบ้าน

เศรษฐกิจ
11 ธ.ค. 67
17:26
122
Logo Thai PBS
“พิชัย นริพทะพันธุ์” วานิชย์ สู่ ธนกิจการเมือง คุมปากท้องชาวบ้าน

คร่ำหวอดในแวดวงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจอัญมณีและการส่งออกมายาวนาน ก่อนเข้ามาโลดแล่นในวงการเมือง ในตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เป็นนายทุนเบื้องหลังหลายพรรคการเมือง ก่อนจะมายุติที่พรรคเพื่อไทย และลิ้มรสตำแหน่งเสนาบดีครั้งแรกของชีวิต "รมช.การคลัง" สมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ปี 2551

ก่อนจะร่วมทีมเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย จากผลงาน"ดีเบต"โครงการรับจำนำข้าวตันละ 1,5000 บาท กับโครงการประกันราคาข้าวของพรรคประชาธิปัตย์ ก่อนเข้ามานั่งเก้าอี้รัฐมนตรีว่ากระทรวงพลังงานในรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" และข้ามห้วยมานั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในยุครัฐบาล "แพรทองธาร ชินวัตร" ถือว่า ไม่ธรรมดา เชี่ยวชาญทั้ง การค้าการลงทุน การเจรจา และการเมือง

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

“ไทยพีบีเอสออนไลน์” สัมภาษณ์พิเศษ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ถึงทิศทางการทำงานในกระทรวงที่ต้องดูแล ปัญหาปากท้องของประชาชน การเจรจาการค้า แผนการผลักดันการส่งออก รวมถึงการรับมือกับปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้โดยเฉพาะนโนบายด้านการค้ากับประเทศสรัฐฯที่มีนโยบายจะกีดกันทางการค้ากับประเทศที่ได้ดุลการค้ามากขึ้น หลังจากเข้ามานั่งทำงานครบ 3 เดือน และเดินสายพาสินค้าไปไปเปิดตลาดยังต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง

ไทย"เป็นกลาง" ไม่เลือกข้าง ดึงลงทุนทุกชาติ

รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ไทยเตรียมความพร้อมสำหรับนโยบายการค้ากับสหรัฐฯที่เป็นประเทศคู่ค้าอันดับ1ของไทย และการที่สหรัฐฯมีประธานาธิบดีคนใหม่อย่าง นาย โดนัล ทรัมป์ ที่มาพร้อมกับนโยบาย America First ได้สั่งการให้หน่วยงานเกี่ยวข้องติดตาม สถานการณ์ นโยบาย และแนวโน้มการค้าที่อาจส่งผลกระทบไทยอย่างใกล้ชิด เฝ้าระวังปริมาณนำเข้า/ส่งออก พร้อมใช้มาตรการ/เครื่องมือทางการค้า เพื่อรับมืออย่าง เหมาะสมและปกป้องผู้ประกอบการไทย

รวมถึงแสวงหาโอกาสส่งออกเพื่อทดแทนสินค้าที่สหรัฐฯ นำเข้าจากจีน โครงสร้างส่งออกสินค้า ไทยและจีนใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะกลุ่มอาหารและสินค้าเกษตร ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า

ไทยวางตัวเป็นกลาง ไม่เลือกข้าง ทำการค้าและดึงดูดการลงทุนจากทุกฝ่าย หาโอกาสเป็นฐานการผลิตทางเลือก โดยเฉพาะที่ไทยเชี่ยวชาญ เช่น ยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร/เกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึง เปิดรับการค้าและการลงทุน สนับสนุนต่างชาติลงทุนในประเทศมากขึ้น รักษาตลาดเดิม ขยายตลาดใหม่

นอกจากนี้ มีแผนจะเร่งเจรจา FTA ใหม่ ๆ และเร่งสรุปผลการเจรจาที่ค้างอยู่ เช่น FTA ไทย -EFTA ที่บรรลุข้อตกลงแล้ว FTA ไทย-EU และอาเซียน-แคนาดา ที่จะผลักดันการเจรจายกระดับ FTA ที่มีอยู่ให้ทันสมัย และอำนวยความสะดวกการค้า รวมทั้งผลักดันให้ผู้ประกอบการใช้สิทธิพิเศษทางการค้า

มั่นใจ "สหรัฐฯ"กีดกันการค้าจีน ไทยได้เปรียบ

รมว.พาณิชย์กล่าวอีกว่า การที่สหรัฐฯมีมาตรการขึ้นภาษี10-60% ประเทศที่มีดุลการ โดยเฉพาะจีนที่อาจจะถูกเก็บภาษีสูงถึง 60% นั้น เป็นโอกาสที่ไทยจะส่งออกสินค้าทดแทน เนื่องจากไทยและจีนอยู่บนตำแหน่งห่วงโซ่อุปทาน เป็นฐานการผลิตและส่งออกสินค้าสำเร็จรูปที่คล้ายกัน และการที่จีนย้ายฐานการผลิต (Relocation) เพื่อลดความเสี่ยงจากมาตรการทางการค้า จะเป็นโอกาสของไทยในการดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ไทยเชี่ยวชาญ เช่น ยานยนต์ อาหารและ เกษตรแปรรูป

“การย้ายฐานการผลิตจากจีน เพื่อหลบเลี่ยงภาษีด้วยการส่งออกผ่านไทยอาจทำให้ไทยเสี่ยง ต่อการถูกตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้าอย่างเข้มงวดขึ้นจากสหรัฐฯ อาจถูกไต่สวนและใช้ มาตรการตอบโต้การหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยที่มีการส่งออกสินค้าในรายการ เดียวกัน จึงควรมีมาตรการตรวจสอบเรื่องแหล่งกำเนิดสินค้าที่เข้มงวด ป้องกัน การสวมสิทธิไม่ให้เกิดผลกระทบทางลบต่อการส่งออกของไทย”

รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ได้สั่งการให้ทูตพาณิชย์ที่ประจำอยู่ 58 แห่งทั่วโลก เตรียมความพร้อมของสินค้าไทย พัฒนานวัตกรรมและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า เพื่อรักษาความสามารถทางการแข่งขัน รวมถึงติดตามนโยบายและแนวโน้มการใช้มาตรการทางการค้าของประเทศคู่ค้า/คู่แข่งอย่าง ใกล้ชิด เพื่อปรับตัวได้ทันท่วงที

เช่น ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานสินค้านำเข้า กำหนดอัตราภาษีหรือโควตาสำหรับสินค้า นำเข้าที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศ การบังคับใช้มาตรการ ตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-dumping) มาตรการตอบโต้การอุดหนุน (Countervailing Duty) และมาตรการปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard Measure) เป็นต้น

กระจายตลาดส่งออก และเพิ่มความหลากหลายของแหล่งวัตถุดิบ ไม่พึ่งพาประเทศใด มากเกินไป ส่งเสริมการสร้างพันธมิตร มองหาคู่ค้าใหม่ ๆ และร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มต่าง ๆ เพื่อแสวงหาโอกาสในการเข้าร่วมห่วงโซ่อุปทาน สนับสนุนผู้ประกอบการพัฒนาปรับตัวให้เข้ากับระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ของโลก ที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ให้ไทยถูกมาตรการกีดกันทางการค้า ซึ่งอาจเสียส่วนแบ่งในตลาดโลก

ต่ออายุ GSP-WL ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ

นายพิชัย กล่าวว่า ไทยและสหรัฐ เป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ซึ่งไทยพร้อมร่วมมือกับสหรัฐ ในการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ระหว่างกัน โดยฝ่ายไทยได้ขอให้สหรัฐ พิจารณาการต่ออายุโครงการ GSP ซึ่งสิ้นสุดไปเมื่อปี 2563 เนื่องจากจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการของทั้ง 2 ประเทศ

ซึ่งสหรัฐรับที่จะนำกลับมาดำเนินการให้ไทยรวมทั้งได้ขอให้สหรัฐอเมริกาปลดไทยออกจากบัญชีประเทศที่ต้องจับตามอง (Watch List) ด้านทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งสหรัฐฯรับปากที่จะรีบดำเนินการให้เพราะไทยได้ทำตามที่สหรัฐต้องการเนื่องจากจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการของทั้งสองประเทศ ซึ่งสหรัฐรับที่จะนำกลับมาดำเนินการให้ไทย เช่นกัน

ไทยแจ้งสหรัฐว่าไทยพร้อมเป็นพันธมิตรด้านเศรษฐกิจของสหรัฐ โดยเฉพาะการเป็นฐานการผลิตในห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมสมัยใหม่ของสหรัฐ เช่น ดิจิทัล AI อิเล็กทรอนิกส์ เซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความพร้อมของไทยในการเป็นศูนย์กลางธุรกิจดิจิทัลของภูมิภาค

ปี 2566 สหรัฐฯ เป็นคู่ค้าสำคัญอันดับที่ 2 ของไทย รองจากจีน โดยมีมูลค่าการค้ารวม 67,659.89 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสหรัฐ เป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย มีมูลค่าการส่งออกไปยังสหรัฐ 48,352.79 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ

ขณะที่สหรัฐ เป็นแหล่งนำเข้าลำดับ 3 ของไทย มีมูลค่าการนำเข้าจากสหรัฐฯ 19,307.10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ น้ำมันดิบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ ก๊าซธรรมชาติ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์

เปิดสินค้าดาวรุ่ง พุ่งแรง 2568 

รมว.พาณิชย์กล่าวว่า การส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารปี 2568 คาดขยายตัวต่อเนื่อง ตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว ขณะที่ การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมยังคงขยายตัวจากความต้องการลงทุนพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ (AI) และสนับสนุน

ความต้องการสินค้าที่เกี่ยวข้องในกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์อาทิ แผ่นวัสดุสารกึ่งตัวนำ (Wafer) และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รวมถึงการเติบโตธุรกิจ Data Center ส่งผลดีต่อความต้องการใช้ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ และการย้ายฐานการผลิตของจีนจากปัญหาสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น

ซึ่งส่งผลดีต่อสินค้าที่จีนลงทุนในไทย เช่น อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB) และของเล่น ขณะที่ภาคบริการไม่ว่าจะเป็น ร้านอาหารไทย สปา ค้าส่งค้าปลีก อุตสาหกรรมดิจิทัล ธุรกิจสื่อบันเทิง-เกม (Digital Content) ธุรกิจการศึกษายังคขยายตัวซึ่งการใช้ Soft Power เข้าไปสนับสนุนกิจกรรม ทั้งท่องเที่ยว เทศกาล กีฬา อาหาร ภาพยนตร์ ดนตรี ศิลปะ หนังสือ เกม ออกแบบแฟชั่น เพื่อผลักดันสินค้าไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

ช่วยค่าครองชีพ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ชาวบ้าน

นอกจากจะมีภารกิจเรงรัดการส่งออกให้ได้ตามเป้าแล้ว กระทรวงพาณิชย์ยังมีมาตรารดูแลค่าครองชีพประชาชนในประเทศที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ในรูปแบบโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัด Campaign ลดราคาสินค้า 5 เดือน ตั้งแต่เดือน ก.ย. 67 - ม.ค. 68 ในการลดรายจ่ายประชาชน และสร้างรายได้เน้นผู้ประกอบการรายเล็กและ SMEs

นอกจากนี้จัดโปรโมชันสินค้าราคาพิเศษ ผ่านร้านธงฟ้า ร้านชุมชน กว่า 140,000 ร้านค้า คาดลดค่าครองชีพประชาชนได้ 14,400 ล้านบาท กิจกรรมกระตุ้นเศรษฐกิจลดค่าครองชีพ “พาณิชย์ลดราคา New Year 2025” และจัดงานจำหน่ายสินค้าช่วง 16-18 ธ.ค. 67 คาดลดค่าครองชีพ 3,600 ล้านบาท

นอกจากยังมีมาตการ สุขกายสบายกระเป๋า ที่ทำต่อเนืองมาตั้งแต่เดือนต.ค. 67 - ม.ค. 68) ซึ่งเป็นแพ็กเกจ ตรวจสุขภาพประจำปี, แพ็กเกจวัคซีนไข้หวัดใหญ่/ ไข้เลือดออก/ มะเร็งปากมดลูก/ แพ็กเกจคลอดบุตร รวมถึง MOU สมาคมโรงพยาบาลเอกชน แสดงรายละเอียดรายการยาและค่ายาก่อนชำระเงิน ซึ่งเป็นการเพิ่มทางเลือกให้ผู้รับบริการในโรงพยาบาลเอกชน มีสิทธิเลือกซื้อยานอกลดภาระค่าใช้จ่ายด้านค่ารักษาพยาบาล

ธ.ค.นี้ มีแผนจะจัดมหกรรมธงฟ้าระดับประเทศ หน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อ การครองชีพจากผู้ผลิต ห้างค้าปลีก-ค้าส่ง ผู้ประกอบการ SMEs วิสาหกิจชุมชน ในราคา ต่ำกว่าท้องตลาด 20-40% ช่วงเทศกาลปีใหม่ด้วย

ขณะที่มาตราการช่วยเหลือเกษตรกร โดยเฉพาะพืชเกษตร ได้แก่ ผลไม้ พืชสามหัว และพืชผัก ซึ่งมีเกษตรกรกว่า 1.44 ล้านครัวเรือน ผลผลิตกว่า 8.24 ล้านตัน รวมทั้งขยายพืชรองให้ครอบคลุมมากขึ้น เพื่อให้เกษตรกร สามารถแข่งขันในตลาดปัจจุบัน และมีรายได้เพิ่มขึ้น

ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของภารกิจเร่งด่วนปีนี้ และปี 2568ที่รมว.พาณิชย์จะต้องทำอย่างต่อเนื่องภายใต้สถานการณ์การค้าโลกที่ยังคงไม่นิ่งและปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังไม่คลี่คลาย ถือว่าเป็นงานใหญ่วัดฝีมือนายพิชัย นริพทะพันธุ์ ว่าจะฝ่าฟันอุปสรรคดังกล่างได้อย่างไร

อ่านข่าว:

 ศึกสิบทิศ “ข้าวไทย” 2568 “สต็อก” โลกล้น เขย่าธุรกิจวงการค้า 

โยนหินถามทาง "ปรับ VAT 15%" รีดภาษีประชาชน ทางตันรัฐบาล

“ไทย” มิตรแท้ทุกประเทศ “สหรัฐฯ” ขุมทรัพย์ ขยายส่งออกไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง