ปลายสัปดาห์ที่แล้ว วลาดีมีร์ ปูติน ปธน.รัสเซีย ระบุชัดเจนว่า สงครามในยูเครนกำลังยกระดับกลายเป็นความขัดแย้งระดับโลก เนื่องจากท่าทีของชาติตะวันตกที่มีต่อยูเครน และรัสเซียเองจะไม่ยอมถอยในสมรภูมิรบนี้แน่ ๆ
เจ้าหน้าที่ความมั่นคงยูเครนพาสื่อมวลชนหลายสำนักเข้าเก็บภาพเศษซากชิ้นส่วนขีปนาวุธทิ้งตัวที่รัสเซียใช้ยิงถล่มเมืองดนิโปร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (21 พ.ย.2567) พร้อมทั้งระบุว่า ตอนนี้ ทีมผู้เชี่ยวชาญยูเครนกำลังตรวจสอบ ศึกษาและวิจัยชิ้นส่วนเหล่านี้ ซึ่งถูกใช้โจมตีดินแดนยูเครนเป็นครั้งแรก และยูเครนเองไม่เคยเห็นขีปนาวุธรุ่นนี้มาก่อน
ข้อมูลนี้สอดคล้องกับการเปิดเผยของผู้นำรัสเซีย ซึ่งระบุว่า รัสเซียใช้ขีปนาวุธ "โอเรชนิค" (Oreshnik) ซึ่งเป็นขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกรุ่นใหม่ ยิงโจมตียูเครน เพื่อทดสอบขีดความสามารถในการสู้รบของขีปนาวุธรุ่นนี้ โดยการทดสอบประสบความสำเร็จและสามารถโจมตีเป้าหมายได้
นอกจากนี้ ผู้นำรัสเซียยังประกาศด้วยว่า จะเดินหน้าทดสอบขีปนาวุธรุ่นนี้อีกในอนาคต ซึ่งรวมถึงการยิงทดสอบด้วย แต่จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ความมั่นคงและภัยคุกคามรัสเซียในขณะนั้น
ปัจจุบัน ข้อมูลขีดความสามารถของโอเรชนิคมีน้อยมาก ซึ่งกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เชื่อว่า น่าจะพัฒนาต่อยอดมาจากขีปนาวุธข้ามทวีป "RS-26 รูเบซ" โดยผู้นำรัสเซีย ระบุว่า ขีปนาวุธรุ่นนี้สามารถทำความเร็วได้ 10 มัค หรือเร็วกว่าความเร็วเสียง 10 เท่า แต่หน่วยข่าวกรองยูเครน ระบุว่า โอเรชนิคโจมตีเป้าหมายที่อยู่ห่างประมาณ 800 กิโลเมตร ได้ในเวลา 15 นาที ซึ่งนั่นเท่ากับว่า ขีปนาวุธรุ่นนี้ทำความเร็วสูงสุดเกิน 11 มัค
ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการทหาร ประเมินว่า โอเรชนิคน่าจะมีพิสัยทำการอยู่ระหว่าง 3,000-5,000 กิโลเมตร ซึ่งแม้ระยะการโจมตีจะไม่ถึงขีปนาวุธข้ามทวีป แต่ก็เพียงพอแล้วในการโจมตียุโรป หรือแม้กระทั่งเอเชีย และที่สำคัญ คือ ขีปนาวุธรุ่นนี้สามารถติดหัวรบนิวเคลียร์ได้ด้วย
นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งพูดถึงความสำเร็จของรัสเซียในการพัฒนาอาวุธรุ่นนี้ ซึ่งมองข้ามไม่ได้ เพราะเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพมากทีเดียว แต่การผลิตขีปนาวุธที่ล้ำสมัยอาจไม่ง่ายนักและแพงด้วย ดังนั้น หลายคนประเมินว่า รัสเซียน่าจะมีขีปนาวุธรุ่นนี้จำนวนไม่มาก และการนำออกมายิงทดสอบในครั้งนี้ก็น่าจะเป็นเพียงแค่การข่มขวัญและสร้างความหวาดกลัว ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงในสงครามรัสเซีย-ยูเครนอย่างรวดเร็วตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
กางปฏิทินลำดับเหตุการณ์สำคัญ จะเห็นว่า นับตั้งแต่ผู้นำสหรัฐฯ ยอมให้ยูเครนยิงขีปนาวุธโจมตีลึกเข้าไปในรัสเซียได้ เพียง 2 วันถัดมา ผู้นำรัสเซียก็ลงนามขยายขอบเขตการใช้อาวุธนิวเคลียร์ ตามมาด้วยยูเครนยิงขีปนาวุธสัญชาติอเมริกัน "อาแทคคัมส์" โจมตีรัสเซียในโอกาสสงครามครบรอบ 1,000 วัน ขณะที่ในวันถัดมา ยูเครนใช้ขีปนาวุธ Storm Shadow ของอังกฤษโจมตีรัสเซียต่อ จนทำให้รัสเซียตอบโต้ด้วยการยิงขีปนาวุธรุ่นใหม่
การใช้ขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกของรัสเซียในยูเครนไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ด้วยศักยภาพของอาวุธรุ่นใหม่ ทำให้ยูเครนต้องออกมาร้องขอให้ชาติตะวันตกสนับสนุนระบบป้องกันภัยทางอากาศที่ล้ำสมัยมากขึ้น เพื่อรับมือกับภัยคุกคามใหม่ โดยทั้ง 3 ระบบนี้กำลังถูกพูดถึงเป็นวงกว้าง
ตัวแรก Patriot โดยแม้จะเป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศที่ยูเครนมีอยู่แล้วและช่วยสกัดขีปนาวุธรัสเซียหลายครั้ง ซึ่งรวมถึงขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก "คินซาล" หลายสิบลูก แต่ยูเครนต้องการระบบ Patriot รุ่นอัปเกรด เพื่อจัดการขีปนาวุธรุ่นใหม่
ขณะที่ระบบป้องกันภัยทางอากาศในบรรยากาศชั้นสูง หรือ THAAD มีคุณสมบัติพิเศษตรงระบบเรดาร์ ทำให้สามารถตรวจจับขีปนาวุธได้ไกลออกไปถึง 2,000 กิโลเมตร และสกัดได้ในระยะ 200 กิโลเมตร โดยยูเครนร้องขอระบบนี้มาตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว
เมื่อช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา โปแลนด์จัดพิธีเปิดฐานทัพขีปนาวุธสหรัฐฯ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากพรมแดนรัสเซีย 230 กิโลเมตร โดยแต่เดิม ฐานทัพแห่งนี้ถูกสร้างขึ้น เพื่อป้องกันชาติตะวันตกจากภัยคุกคามในตะวันออกกลาง
ขณะที่ระบบป้องกันภัยในฐานทัพแห่งนี้ที่ต้องจับตามองมากที่สุด คือ Aegis Ashore เป็นระบบอาวุธ "เอจีส" ซึ่งตามปกติจะติดตั้งบนเรือ แต่รุ่นนี้เป็นแบบติดตั้งบนบก โดยจากข้อมูลพบว่า มีประจำการที่โรมาเนียด้วย ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบป้องกันขีปนาวุธ NATO
อ่านข่าวอื่น :
"เฮซบอลลาห์" ยิงขีปนาวุธถล่มอิสราเอล 250 ลูก
สั่งที่พักสงฆ์ ห้ามเคลื่อนย้าย 41 ศพ รอตรวจสอบอัตลักษณ์-เช็กเอกสาร
CAM 2
{***ANCHOR***}
ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันขีปนาวุธ กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ระบุว่า การรับมือขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกท้าทายอย่างมาก และปัจจุบัน มีเพียงระบบเอจีสเท่านั้นที่สามารถทำหน้าที่นี้ได้ หรืออีกทางหนึ่ง ก็คือ การสร้างเครือข่ายการป้องกันด้วยการประสานการทำงานของระบบเรดาร์ในหลายจุด คุณจีรชาตา คุณพรวดี ทางออกของยูเครนอาจเป็นการติดตั้งระบบป้องกันภัยทางอากาศเพิ่มมากขึ้น แต่นี่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย