ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ชวนรู้จัก "โรค SLE "ภูมิแพ้ตัวเอง" หรือ "โรคพุ่มพวง" เช็กอาการ-สาเหตุ

สังคม
15 พ.ย. 67
18:42
624
Logo Thai PBS
ชวนรู้จัก "โรค SLE  "ภูมิแพ้ตัวเอง" หรือ "โรคพุ่มพวง" เช็กอาการ-สาเหตุ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

เป็นข่าวเศร้าหลังอินฟลูเอนเซอร์สายแฟชันชื่อดัง "บิว" อิษณัฐ ชลมูณี" หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ "แม่บ้านมีหนวด" เสียชีวิตในวัย 34 ปี สร้างเสียใจให้กับแฟนคลับและผู้ที่ติดตามเพจที่มีกว่า 600,000 คน เป็นอย่างมาก 

"แม่บ้านมีหนวด" เป็นที่รู้จักด้วยเอกลักษณ์เฉาะตัว ทั้งการโพสท่าถ่ายรูปสุดสตรองกับคอสตูมอลังการ แต่ช่วงหลายปีที่ผ่านมา เจ้าของเพจไม่ค่อยอัปเดตให้แฟนชมมากนัก หลังเผชิญอาการป่วย แม่ของบิว เปิดเผยว่า บิวเป็นโรคแพ้ภูมิตนเอง ต่อมาเกิดอาการช็อกจากเชื้อราในสมอง จึงกลับมาอยู่บ้านได้ประมาณ 1 เดือน ก่อนเสียชีวิต

อ่านข่าว : อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดัง "แม่บ้านมีหนวด" เสียชีวิตด้วยวัย 34 ปี

ชวนรู้จัก "โรคภูมิแพ้ตัวเอง" หรือ "โรคพุ่มพวง" 

โรคภูมิแพ้ตัวเอง Systemic Lupus Erythematosus (SLE) หรือที่คนไทยเรียกกันว่า "โรคพุ่มพวง" เป็นโรคที่ก่อให้เกิดการอักเสบของอวัยวะทั่วร่างกาย และอวัยวะที่เกิดการอักเสบจะได้รับความเสียหาย

ผู้ป่วยแต่ละคนอาจมีการอักเสบ ในแต่ละอวัยวะและมีอาการแสดงแตกต่างกัน มักเกิดการอักเสบของหลายอวัยวะร่วมกัน 

โรค SLE พบได้ไม่บ่อย และมีอัตราการเสียชีวิตตํ่า โดยพบเพียงร้อยละ 0.1 (0.014 - 0.122) หรือคิดเป็นจํานวนผู้ป่วยในประเทศไทยราว 50,000 - 700,000 คน ส่วนใหญ่มักพบในเพศหญิงช่วงอายุ 20 - 40 ปี

โรค SLE เป็น "โรคภูมิคุ้มกันทําลายตนเอง หรือ โรคแพ้ภูมิตนเอง ปัจจุบันแม้จะยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด และมีหลายปัจจัยร่วมกันที่ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของระบบภูมิต้านทานในร่างกาย

นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี อธิบายสาเหตุของการเกิดโรค ว่า อาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางด้านพันธุกรรม ร่วมกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม 

ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมมีทั้งแสงแดด การติดเชื้อไวรัส การติดเชื้อแบคทีเรีย การได้รับยา หรือสารเคมีบางชนิด

ในเรื่องนี้ นพ.สูงชัย อังธารารักษ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ สาขาอายุรศาสตร์โรคข้อและภูมิคุ้มกัน กลุ่มงานอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี ได้ให้คำอธิบายถึงปัจจัยของการเกิดโรค ไว้ว่า โรคภูมิแพ้ตัวเอง หรือ SLE เกิดจากการกระตุ้นได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นความไม่สมดุลของฮอร์โมนในวัยเจริญพันธ์ ความเครียด หรือปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการติดเชื้อไวรัส และแสงแดด

สำหรับอาการของโรคมีการกำเริบ และสงบเป็นระยะ ซึ่งการตรวจวินิจฉัยโรค แพทย์จะทำการวินิจฉัยจากอาการและอาการแสดงดังกล่าวของผู้ป่วย ร่วมกับการตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ และการตรวจทางภูมิคุ้มกัน (ANA , anti-dsDNA , anti Sm) โดยใช้เกณฑ์การวินิจฉัย จากสมาคมแพทย์โรคข้อของสหรัฐอเมริกาและยุโรป

ขณะที่วิธีการรักษาจะแบ่งตามระดับของความรุนแรง กรณีที่อาการไม่รุนแรงมาก แพทย์จะให้ยาเพื่อช่วยบรรเทาตามอาการ หากมีอาการรุนแรง เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญ เช่น ไตอักเสบ สมองอักเสบ เกร็ดเลือดต่ำ การทำลายเม็ดเลือดแดง จะมีการใช้ยาต้านมาลาเรีย ยาสเตียรอยด์และยากดภูมิ ซึ่งขนาดและวิธีการให้ยาจะขึ้นกับความรุนแรงของโรคและอวัยะที่อักเสบ 

วัตถุประสงค์ของการรักษาคือการควบคุมโรคให้เข้าสู่ "ระยะสงบ" ฉะนั้นผู้ป่วยจะต้องดูแลตนเองและทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด 

โรคแพ้ภูมิตนเอง มีอาการที่พบได้บ่อย 

ผู้ที่เป็นโรค "โรคแพ้ภูมิตนเอง" ผู้ป่วยมักมีอาการที่พบได้บ่อยดังนี้ 

  • ผู้ป่วยมักจะมีอาการไข้ต่ำ ปวดข้อ ปวดเมื่อย
  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ผมร่วง
  • มีผื่นที่หน้า ที่แก้ม คล้ายปีกผีเสื้อ
  • ผื่นขึ้นตามตัว แขน ขา
  • ผื่นแพ้แสง
  • แผลในปาก บวม ซีด
  • มีจ้ำเลือด หรือ จุดแดงคล้ายยุงกัดตามแขนขา
  • มีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนังที่ได้รับแสงแดด โดยเฉพาะบริเวณจมูกและแก้ม
อาการปวดบวมตาม ข้อ กล้ามเนื้อ เป็นอาการนำที่พบได้บ่อย มักมีอาการเป็นสัปดาห์หรือหลายสัปดาห์

วิธีการป้องกัน ลดเครียด -  ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง 

วิธีป้องกัน "โรคภูมิแพ้ตัวเอง" จึงต้องดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ปรับพฤติกรรมใช้ชีวิตประจำวัน ดังนี้ 

  • ลดความเครียด นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสะอาดหลีกเลี่ยงอาหารดิบ
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงแสงแดด
  • หลีกเลี่ยงหรือลดการสัมผัสสารเคมี
  • ไม่สูบบุหรี่หรืองดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ป้องกันการติดเชื้อ เช่น สวมใส่หน้ากากอนามัย
  • รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งและห้ามหยุดยาเอง
  • หลีกเลี่ยงยาสมุนไพรหรือยาชุด อาหารเสริมนอกระบบ

แม้โรคภูมิแพ้ตัวเอง ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด การติดตามอาการอย่างต่อเนื่องและรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด รวมถึงปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ไม่เพียงช่วยทำให้โรคเข้าสู่ระยะสงบหรือหายและช่วยลดภาวะแทรกซ้อนได้ ยังช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ด้วย 

อ่านข่าว : "สยามมานุสตรี" วีรสตรีแห่งสยาม "โอปอล" เฉิดฉาย มิสยูนิเวิร์ส 2024

ดาบประหาร ! อาชีพผู้ว่าความ "ผิดมรรยาททนายความ" 21 ข้อ

เกินต้าน! "โอปอล" สวยสะกดทุกสายตา MU2024 รอบพรีลิมมินารี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง