ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ร่วมสร้าง "เมืองแห่งการเรียนรู้" ยกระดับคุณภาพชีวิตในสภาวะที่โลกเปลี่ยนไป

สังคม
30 ต.ค. 67
11:49
374
Logo Thai PBS
ร่วมสร้าง "เมืองแห่งการเรียนรู้" ยกระดับคุณภาพชีวิตในสภาวะที่โลกเปลี่ยนไป
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ผู้นำด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมหารือวิธีรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของโลกเพื่อสร้างชีวิตเมืองให้ดีขึ้น ทำให้ทุกพื้นที่ของเมืองคือ “เมืองแห่งการเรียนรู้” ที่ผู้คน ทุกช่วงวัย สามารถเข้าถึงความรู้ และสามารถใช้ประโยชน์ได้

วันนี้ (29 ต.ค.2567) ผู้นำด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิตกว่า 200 คนจากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมหารือวิธีรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของโลกเพื่อสร้างชีวิตเมืองให้ดีขึ้นใน "ประชุมสัมมนาเมืองแห่งการเรียนรู้ระดับภูมิภาคอาเซียนบวกสาม” ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรก ณ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 29 – 30 ต.ค.2567

ประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจำนวนเกือบ 700 ล้านคน ตามประมาณของสหประชาชาติ ณ วันที่ 21 ต.ค.2567 และกว่าครึ่งอาศัยอยู่ในเมือง “เมื่อพื้นที่ในเมืองโตขึ้น ความท้าทายและโอกาสต่าง ๆ ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน” ซึ่งความท้าทายที่เกิดขึ้น มีตั้งแต่ปัญหาเร่งด่วน เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหนาแน่นของประชากรเมืองที่ส่งผลไปยังสภาพเศรษฐกิจและสังคม การสูญเสียอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่น ไปจนถึงความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของปัญญาประดิษฐ์

ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

สร้างความตระหนัก “การเรียนรู้ตลอดชีวิต”

ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในฐานะประธานเปิดงานกล่าวว่า “การศึกษาในรูปแบบปัจจุบันอาจจะไม่ใช่การตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ เราจะต้องทำให้ทุกพื้นที่ของเมืองคือแหล่งเรียนรู้ ทำให้เมือง เป็น “เมืองแห่งการเรียนรู้” ที่ผู้คน ทุกช่วงวัย สามารถเข้าถึงความรู้ และสามารถใช้ประโยชน์ได้ (Lifelong Learning)

ซึ่งเรื่องนี้ได้อยู่ในนโยบายปัจจุบันของรัฐบาลด้วย โดยกระทรวง อว. ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างมาก และได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ เรื่องของระบบการสะสมหน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank System) เรื่องของการทำให้ทุกคนเข้าสู่ระบบการเรียนออนไลน์ได้ แต่สิ่งเหล่านี้อาจจะไม่เพียงพอ

ถ้าอยากจะให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ระบบนิเวศมีความสำคัญมาก จะทำอย่างไรให้ทุกคนมีความตระหนักในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ผลที่คาดว่าจะได้ในการประชุมครั้งนี้ คือตัวอย่างแนวทางการปฏิบัติที่สร้างสรรค์และยั่งยืนในการส่งเสริมเมืองแห่งการเรียนรู้ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับทุกคนในเมือง และการจัดตั้งเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ในภูมิภาคอาเซียนเพื่อส่งเสริมความร่วมมือร่วมกันระหว่างเมืองต่าง ๆ ในภูมิภาคเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน

กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ บพท.

กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ บพท.

กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ บพท.

“การเรียนรู้” สร้างงาน สร้างอาชีพ ยกระดับคุณภาพชีวิต

ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กล่าวว่า ด้วยการเปลี่ยนแปลงของพลวัตของโลก ที่สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมทางสังคมของประเทศไทย ทั้งภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป ภูมิทัศน์การเมืองระดับประเทศ วิกฤตการระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์โควิด หรือการเปลี่ยนแปลงการค้าการทุนระหว่างประเทศ ส่งผลอย่างยิ่งต่อการพัฒนาของประเทศไทย และส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชน 

การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่เชื่อมโยงกับเมือง และเมืองเป็นการเชื่อมโยงวิถีชีวิตของผู้คนในพื้นที่ แต่เชื่อมโยงกับ Global Supply Chain ของโลก อีกทั้งเมืองยังเป็นที่มาของรายได้ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 

การรู้ทันการเปลี่ยนแปลงเพื่อตั้งรับ ปรับตัวให้อยู่รอด และใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงได้ เป็นที่มาของการเรียนรู้ เมื่อสิ่งรอบตัวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา กระบวนการเรียนรู้ก็ควรจะเกิดขึ้นตลอดเวลาเช่นกัน

การเรียนรู้ตลอดชีวิตจะช่วยให้พลเมืองสามารถรับมือกับความผันผวนของศตวรรษที่ 21 ได้

“การประชุมสัมมนาเมืองแห่งการเรียนรู้ระดับภูมิภาคอาเซียนบวกสาม” ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีคณะผู้แทนจาก 12 ประเทศสมาชิกอาเซียน บวกสาม ประกอบด้วย ประเทศบรูไนดารุสซาลาม ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหพันธรัฐมาเลเซีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์เลสเต สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี เข้าร่วม โดยมีเป้าหมายในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ และประสบการณ์ในการสร้าง “เมืองแห่งการเรียนรู้” ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญ และมีพลังในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่

ดร.กิตติ ยังกล่าวว่า “การพัฒนาเมืองน่าอยู่และเมืองแห่งการเรียนรู้” เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของประเทศที่ บพท.นำมากำหนดเป็นกรอบการดำเนินงาน “เมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City)” และเป็นแหล่งงบประมาณสำคัญในการสนับสนุนและผลักดันให้เมืองต่าง ๆ สามารถยกระดับเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้

โดยสร้างเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ของประเทศไทย เพื่อเข้าสู่การเป็นสมาชิกเครือข่ายระดับโลกตามแนวคิดเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโก (The UNESCO Global Network of Learning Cities - GNLC) เกิดกลไกความร่วมมือระดับพื้นที่ ที่เกิดจากนักจัดการการเรียนรู้ในเมือง เกิดนิเวศการเรียนรู้ของเมือง ที่ประกอบด้วย พื้นที่การเรียนรู้ ตัวความรู้ และกิจกรรม การเรียนรู้ ที่นำไปสู่การส่งเสริมการเรียนรู้ของเมือง จนนำไปสู่การสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้กับคนในพื้นที่ และประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

พิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

พิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

พิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

เมืองแห่งการเรียนรู้ทั่วโลกรวม 356 เมือง

นายพิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวยกย่องถึงเมืองแห่งการเรียนรู้ว่า ในประเทศทั่วโลกมีเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกรวม 356 เมืองใน 79 ประเทศ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโก 19 เมือง ในประเทศจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี มีเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโก 70 เครือข่าย

ในขณะที่ประเทศไทยมีเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโก 10 แห่งทั่วประเทศ และเมืองแห่งการเรียนรู้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของยูเนสโกแห่งใหม่ซึ่งได้รับการประกาศเกียรติคุณในที่ประชุมครั้งนี้ ได้แก่ หนานจิง (จีน), เลกัซปี (ฟิลิปปินส์), กรุงเทพฯ ขอนแก่น และยะลา (ประเทศไทย), และโฮจิมินห์ซิตี้ และเซินลา (เวียดนาม)

ซึ่งความมุ่งมั่นที่น่าชื่นชมของเมืองเหล่านี้ที่ทำให้การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นจริงขึ้นมาได้สำหรับประชากรเมืองทุกคน และกล่าวเพิ่มเติมว่าเมืองเหล่านี้กำลัง สร้างหนทางสู่ความรู้ที่การเรียนรู้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในห้องเรียน แต่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในสวนสาธารณะ ตามถนนหนทาง และที่บ้านได้ด้วย

สำหรับเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ประเทศไทย จำนวน 10 เมือง ได้แก่
1.เทศบาลนครเชียงราย
2.เทศบาลนครเชียงใหม่
3.เทศบาลนครภูเก็ต
4.เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา
5.จังหวัดสุโขทัย
6.จังหวัดพะเยา
7.เทศบาลนครหาดใหญ่
8.กรุงเทพมหานคร
9.เทศบาลนครขอนแก่น
10.เทศบาลนครยะลา

“การเรียนรู้ตลอดชีวิต” การปลดล็อกให้เกิดศักยภาพของเมือง

นายวัลเดซ-โคเทรา สถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิต องค์การยูเนสโกและผู้ประสานงานเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ระดับโลกของยูเนสโกกล่าวย้ำว่า การเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การปลดล็อกให้เกิดศักยภาพของเมืองในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งปัจจุบันมีประชากรกว่าครึ่งหนึ่งของภูมิภาคที่อาศัยอยู่ในเมือง

ครั้งนี้ประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการ “ประชุมสัมมนาเมืองแห่งการเรียนรู้ระดับภูมิภาคอาเซียนบวกสาม” ซึ่งเป็นการจัดครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากไทยมีแนวปฏิบัติที่ดีและมีประสบการณ์ที่หลากหลายในการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถเชื่อมโยงสถาบันการศึกษา การฝึกอบรม และวัฒนธรรม สร้างความมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานจากภาครัฐ ภาคประชาสังคม และธุรกิจ และสร้างสภาพแวดล้อมที่ประชาชนสามารถนำการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและกำหนดแนวทางการเรียนรู้ของตนเองได้

ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สกสว.

ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สกสว.

ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สกสว.

 “เมืองแห่งการเรียนรู้” พัฒนาอย่างยั่งยืน 

รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวว่า ข้อสรุปที่ได้จากการแลกเปลี่ยนจากการประชุมจะเป็นข้อมูลที่ สกสว.นำไปใช้ในการปรับปรุงแผนวิจัย ให้มีความชัดเจน เข้มข้น ทั้งในแง่ของเนื้อหาและกระบวนการ ซึ่งจะทำให้การวิจัยและนวัตกรรมเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการสร้าง “เมืองแห่งการเรียนรู้” ที่นอกจากจะตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาของประเทศไทยเองแล้ว ยังตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งความสำเร็จในการเชื่อมโยงแผนวิจัยกับกิจกรรมการดำเนินงาน และการผลักดันให้เกิดผลตามเป้าหมายการพัฒนานั้น ถือเป็นบทบาทและภารกิจของ สกสว. ที่ต้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

ด้วยเหตุนี้ สำนักงานภูมิภาคยูเนสโกในกรุงเทพฯ ร่วมกับหน่วยบริหารและจัดการทุน ด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้จัด “การประชุมสัมมนาเมืองแห่งการเรียนรู้ระดับภูมิภาคอาเซียนบวกสาม” เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างภาคีเครือข่ายในภูมิภาค เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกและเร่งให้เกิดความก้าวหน้าในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของวาระการศึกษาปี 2573 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง SDG 4: การศึกษาที่มีคุณภาพ และ SDG 11: เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน 

ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วย บพท.

ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วย บพท.

ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วย บพท.

Learning City นิเวศของการพัฒนา

ศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วย บพท.กล่าวถึงการวางหมุดหมายในเรื่องของเครือข่ายและความสำคัญของนโยบาย Learning City ต่อภาคประชาชน และภาคเมืองที่ทำให้ ผู้นำเมือง และประชาคมต่างๆ เห็นความสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานใหม่ในขณะนี้

ซึ่งเป้าหมายของ Learning City ต้องการทำให้เกิดนิเวศของการพัฒนา และพื้นที่ของการเรียนรู้ของคนในเมือง ที่สามารถเข้าถึงได้ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนในเมืองสามารถเข้าถึงพื้นที่การเรียนรู้ สำหรับคนทุกช่วงวัย ทุกรายได้  ส่วนการขับเคลื่อนต่อไป จำเป็นอย่างยิ่งที่จะสร้างคน และทำให้เห็นถึงประโยชน์ ของ Learning City การทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนกันภายในเมือง และระหว่างเมือง รวมทั้งการขับเคลื่อนด้วยชุดองค์ความรู้และเทคโนโลยี และการผลักดันพื้นที่ในการถ่ายทอดความรู้ก็มีความสำคัญในการสร้างคน รวมทั้งการทำงานร่วมกับอื่นและมีการแลกเปลี่ยน เครือข่ายของ Learning City อาเซียน

ซึ่งถ้าเมืองไหนสามารถจัดการได้ก็จะสร้างคุณประโยชน์ได้ ไม่ใช้แค่คนในเมือง แต่นำมาซึ่ง Learning Tourism

อ่านข่าว :

นวนิยาย "กี่บาด" ของประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด คว้ารางวัลซีไรต์ 2567

อัญเชิญ "พระเขี้ยวแก้ว" จากจีน-ไทย 4 ธ.ค.-14 ก.พ.68

อย.สุ่มตรวจซ้ำ "องุ่นไชน์มัสแคท" กลุ่มเดียวกับ "ไทยแพน"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง