ไทย “สมาชิกบริกส์” เต็มตัว รักษาดุลขั้วอำนาจสหรัฐอเมริกา-จีน

ต่างประเทศ
21 ต.ค. 67
12:52
161
Logo Thai PBS
ไทย “สมาชิกบริกส์” เต็มตัว รักษาดุลขั้วอำนาจสหรัฐอเมริกา-จีน

ณ เมืองคาซาน รัสเซีย ในวันที่ 24 ต.ค.นี้ จะมีการประชุมสุดยอดผู้นำบริกส์ (BRICS) มาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเข้าประชุมแทน แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งกลับใจไม่เข้าร่วม

ตอนแรกนายกรัฐมนตรีเตรียมตัวจะเข้าร่วมประชุมสุดยอดครั้งนี้ คงจำกันได้ ไทยสมัครเข้าเป็น สมาชิกบริกส์เมื่อต้นมิ.ย.ที่ผ่านมา มีความมั่นใจว่าจะได้เป็นสมา ชิกเต็มตัวประเทศจากอาเซียน โฆษกรัฐบาลชุดก่อนตอกย้ำเสมอว่า ไทยเข้าได้แน่นอน

การเคลื่อนไหวทางทูตเรื่องบริกส์สร้างความประหลาดใจให้กับวงการเมืองเมืองภายในและระหว่างประเทศอย่างมาก ไม่นึกไม่ฝันว่า ไทยจะตัดสินใจด่วนขนาดนี้ ในช่วงเวลาใกล้กันไทยพยายามจะเข้าสู่กระบวนการรับพิจารณาเข้าเป็นสมาขิกขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ โออีซีดี (Organisation for Economic Cooperation and Development) ซึ่งถือเป็นหน่วยงานแนวหน้าฝ่ายโลกตะวันตกทางด้านการปฏิรูปธรรมาภิบาลและเพิ่มขีดความสามารถในการดึงดูดการลงทุนต่างประเทศ และเป็นความปรารถนาอย่างแรงกล้าของไทยที่เข้าองค์กรมานานกว่าสามทศวรรษ

ที่ผ่านมาไทยสนใจบริกส์ แต่ลึกๆต้องการเห็นสายสัมพันธ์ที่ค่อยๆพัฒนา เพื่อรอให้ไทยได้เข้าเป็นสมาชิกโออีซีดีได้เรียบร้อยเสียก่อน ต้องใช้เวลาอย่างน้อย ๆ  5 ปี ไม่ต้องรีบร้อน มิฉะนั้นอาจะส่งสัญญานที่เพี้ยนไปว่า ไทยเริ่มตีใจห่างจากโลกตะวันตก หรือไม่เอาใจใส่ประเด็นโออีซีดี ในวันที่ 30 ต.ค.นี้ รัฐบาลไทยจะเสนอโรดแมป (Road Map) ของการปฏิรูปกฎหมายระเบียบข้อบังคับและแนวทางต่าง ๆ ที่เพิ่มความโปร่งใสและประสิทธิภาพ ต่อเลขาธิการโออีซีดีนายมาเธียส คอร์แมน (Mathias Cormann)ที่มาเยือนในโอกาสนี้ รัฐบาลต้องแสดงเจตจำนงค์ชัดเจนว่าสมาชิกโออีซีดีเป็นเรื่องเร่งด่วน

ในกรณีบริกส์ไทยอยากเป็นสมาชิกอย่างเร่งด่วน คือ ต้องการรักษาดุลภาพขั้วอำนาจระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน และทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาแล้ว และเพิ่มตลาดการส่งออก ไทยถือว่าประทศไม่มีศัตรู แต่ต้องไม่เข้าข้างมหาอำนาจฝ่ายใดฝายหนึ่ง

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยพิเศษที่อยู่เบื้องหลังการสมัครเข้าบริกส์ คือ มี ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีมนตรีผลักดันอยู่ เนื่องจากมีสัมพันธ์ดีกับประธานาธิบดีวลาดีเมียร์ ปูติน เป็นการส่วนตัว กอปรกับประธานบริกส์ในปีนี้

ตามจริงไทยให้ความสนใจกลุ่มกับบริกส์มีมานานกว่าสิบปี ไทยเห็นว่าองค์กรนี้มีศักยภาพสูงเป็นตัวแปรทางการเมืองระหว่างประเทศได้ เนื่องจากมีมหาอำนาจ เช่น จีน รัสเซีย อินเดีย บราซิลเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง เมื่อปี 2008 ต่อจากนั้นหนึ่งปี แอฟริกาใต้เข้ามาเป็นสมาชิกอันดับห้า

ตอนนี้แน่ชัดมาก ที่คาซานผู้นำบริกส์จะตัดสินใจหยุดรับ (moratorium) สมาชิกใหม่ไปก่อน และต้องจัดการเรื่องบริหารภายในบริกส์ให้เรียบร้อย มีประมาณ 40 ประเทศอยากเข้าร่วม มีข่าววงในล่าสุด ยืนยันว่า สมาชิกไม่สามารถตกลงในโมเดลของการรับสมาชิกใหม่ควรจะเป็นอย่างไร ?

ปัจจุบันนี้ ไทยคงยังมีสภาพเป็นประเทศเข้าร่วมในฐานะเป็นหุ้นส่วนในบริกส์ หรือที่เรียกว่า เป็นสมาชิกบริกส์ พลัส (BRICS plus)ไม่ใช่เป็นสมาชิกเต็มตัว

สาเหตุหลักทำให้บริกส์ได้รับความนิยม เนื่องจากประเทศกำลังพัฒนาหรือที่เราเรียกรวมๆกันว่า เป็นโกลเบิล เซาธ (Global South) มีความไม่พอใจต่อระ เบียบโลกที่มีอยู่ในขณะนี้ เห็นว่าโลกตะวันตกเอารัดเอาเปรียบประเทศกำลังพัฒนาอย่างมากมาย เช่น การส่งเงินผ่านระบบการสื่อสารของผู้ให้บริการสถาบันทางการเงินระหว่างประเทศที่เรียกว่า สวีฟ (SWIFT) เพราะต้องเสียค่าคอมมิสชั่น และมีประเด็นจิปาถะอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับสองมาตรฐานโลกตะวันตก มักหยิบ ยกมาใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ตัวเอง

ประชุมสุดยอดครั้งนี้ เรื่องการส่งเงินโดยใช้เงินสกุลสมาชิกบริกส์เป็นเรื่องสำคัญที่สุดในวาระการที่สมาชิกในองค์เดียวกัน สามารถส่งเงินข้ามประเทศด้วยระบบตัวเองถือว่า เป็นทางเลือกใหม่จะลดการพึ่งพาเงินสกุลดอลล่าร์ของสหรัฐอเมริ กาทันที

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เงินสกุลดอลล่าร์เป็นเงินสกุลหลักใช้ในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ และซื้อขายสินค้าทั่วโลก ตอนเวลาส่งเงินข้ามจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง ต้องใช้ระบบสวิฟท์ ซึ่งเรียกร่วมกันว่า เป็นระบบของสมาคมการส่งเงินตราระหว่างสมาชิกด้วยกัน มีราว ๆ สองพันองค์กรการเงินเข้าร่วม

สมาชิกบริกส์คิดส่งเงินระหว่างกันมานานแล้ว แต่ทำไม่สำเร็จ ทุกครั้งมีปัญหาความขัดแย้งในเรื่องเกี่ยวกับภูมิรัฐศาสตร์หรือการค้าระหว่างโลกตะวันตกกับประเทศที่มีระบอบการเมืองที่ไม่ได้เป็นประชาธิปไตย มักถูกเป็นเหยื่อคว่ำบาตร ทำลายเศรษฐกิจเพราะส่งเงินข้ามแดน รวมทั้งการใช้เงินดอลล่าร์ก็ไม่ได้ทั้งสิ้น

ถ้าสมาชิกบริกส์มีระบบการสื่อสารส่งเงินข้ามประเทศ ก็เท่ากับเพิ่มศักยภาพทั้งทางด้านการค้าและลดการพึ่งพาเงินสกุลดอลลาร์อย่างแน่นอน ที่ผ่านมาหลายปี เงินสกุลหยวน มีความนิยมมากขึ้นมีการนำมาใช้แทนดอลล่าร์ในการค้าระหว่างสมาชิกด้วยกันแล้ว รัสเซียได้กลายเป็นลูกค้ารายใหญ่ของจีนในช่วงสามปีที่ผ่านมาหลังรัสเซียถูกคว่าบาตร

มีข้อตกลงภายในสมาชิกบริกส์ด้วยกันว่า ในอนาคตถ้าเป็นไปได้จะใช้เงินสกุลของสมาชิกเป็นเงินสกุลในการซื้อขาย สินค้ากันโดยไม่ต้องพึ่งพาเงินสกุลดอลลาร์ ไม่ต้องผ่านบุคคลที่ 3 อีกต่อไป

ฉะนั้น การที่มีระบบใหม่การส่งเงินข้ามประเทศแทนสวิฟ (SWIFT) ทำให้ลดค่าใช้จ่ายทันที การค้าระหว่างประเทศสมาชิกจ้ะเพิ่มมากขึ้น เงินหลายๆสกุลของสมาชิกบริกส์อาจจะใช้แทนเงินดอลล่าร์ ขณะนี้ยังทำไม่ได้ เนื่องจากความไม่พร้อมของระบบที่กำลังประกาศใช้ นอกจากนั้นยังสมาชิกที่สามารถและอยากใช้เงินดอลล่าร์อยู่

ต้องเฝ้าดูว่าในอนาคต ความปรารถนาของบริกส์ที่จะมีระบบส่งเงินตัวเองจะมีรูปแบบใด ที่น่าสนใจ คือ ตอนนี้ระเบียบโลกเก่าการถูกเขย่า อย่างรุนแรงจาก ประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งกำลังรวมตัวเพิ่มพลังทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ

ปัจจุบัน โลกเรามีหลายขั้ว ขั้วที่หนึ่งเป็นของสหรัฐอเมริกาและโลกตะวันตก อีกขั้วหนึ่งเป็นของจีน ขั้วที่สามเป็นของรัสเซีย ตอนนี้รัสเซียอ่อนแอมาก แต่ก็ยังมีแสนยานนุภาพทางทหารและอาวุธนิวเคลียร์ ตามจริงแล้ว ช่วงนี้การขับเคี่ยวระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนเป็นสองขั้วใหญ่ ส่วนที่เหลือเป็นขั้วที่รวมประเทศต่าง ๆ มีทั้งมหาอำนาจใหญ่กลางเล็ก

ขั้วที่สามกำลังจะมีบทบาทเพิ่มเติมมากขึ้นในเวทีโลกอนาคต จะเป็นตัวเสริมสร้างให้มีระเบียบโลกใหม่ที่เป็นพหุภาคี ป้องกันไม่ให้มีชาติใดมาครองโลก ได้ การเมืองระหว่างประเทศในระเบียบโลกใหม่จะมีความเข้มข้นและอาจวุ่นวายมากขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง