- "จุลพันธ์" แย้มข่าวดีลุ้นเงินหมื่นเฟส 2 รอบอร์ดถถเร็วสุดปลาย ต.ค.
- นับถอยหลังชม "ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส" โคจรใกล้โลกอีกครั้ง 80,660 ปี
โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นโครงการแก้ปัญหาความยากจน ภายใต้นโยบายจัดสรรสวัสดิการแบบกำหนดกลุ่มเป้าหมายตามมติคณะรัฐมนตรี ในปี 2559 ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี และเปิดลงทะเบียนครั้งแรก ในช่วงปลายปี 2560 ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์คุณสมบัติหลัก ๆ ได้แก่
- เป็นผู้ว่างงาน หรือ มีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาท/ปี
- มีเงินฝากไม่เกิน 100,000 บาท
- มีบ้านไม่เกิน 25 ตร.ว. หรือ ห้องชุดไม่เกิน 35 ตร.ม.
- มีพื้นที่ทำการเกษตรไม่เกิน 10 ไร่
ก่อนเปิดลงทะเบียนอีกครั้งในปี 2561 หลังผู้ผ่านเกณฑ์บางส่วนไม่ได้เป็นผู้มีรายได้น้อย ขณะที่ผู้มีรายได้น้อยตัวจริงกลับไม่ได้รับสิทธิ์
ปี 2561 กระทรวงการคลัง ได้ปรับหลักเกณฑ์การลงทะเบียนโครงการ โดยเพิ่มเงื่อนไขเกี่ยวกับการประเมินรายได้ จากเฉพาะบุคคล เป็นรายได้ครัวเรือน พร้อมทั้งลงรายละเอียดเกี่ยวกับ เงินกู้ เพื่อตรวจสอบข้อมูลรายได้อีกทางหนึ่ง ทำให้ยอดผู้ลงทะเบียนขณะนั้นอยู่ที่ 14.6 ล้านคน แต่ข้อมูลจากกรมบัญชีกลางล่าสุด ได้ปรับปรุงข้อมูลผู้ได้รับสิทธิ์สวัสดิการฯ อยู่ที่ 12.4 ล้านคน เนื่องจากการเสียชีวิต
กอบศักดิ์ ภูตระกูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า นโยบายในลักษณะจ่ายเงินอุดหนุนให้กับผู้มีรายได้น้อย เป็นเครื่องมือทางการเมืองอย่างหนึ่ง พร้อมทั้งนำเสนองานวิจัย เกี่ยวกับการใช้งบประมาณ เพื่อแจกเงินอุดหนุนผู้มีรายได้น้อย พบว่า ตั้งแต่ปี 2550 เริ่มมีนโยบาย อุดหนุนเงินด้านต่าง ๆ และเม็ดเงินที่ใช้ต่อหัวก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มากกว่าเฉลี่ยคนละ 1,000-1,200 บาท
แต่รายได้ครัวเรือนหลังหักมาตรการรัฐ จะพบว่า "คนไทย" กลับยังไม่พ้นความยากจนจากการประกอบอาชีพ และยังคงเผชิญสภาพปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้สูงเช่นเคย
ทั้งนี้ รัฐบาล ได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทบทวนหลักเกณฑ์คุณสมบัติผู้เข้าโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ก่อนนำเข้าหารือในคณะกรรมการเศรษฐกิจฐานรากในเดือน พ.ย. พร้อมตั้งเป้าหมายจะเปิดลงทะเบียนรอบใหม่ ในเดือน มี.ค.2568
อ่านข่าวอื่น :
แชร์ด้วยใจตรองด้วยเหตุผล ตรวจสอบก่อนส่งต่อ "ข่าวเด็กหาย"