ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

มวลน้ำเหนือถึง "เจ้าพระยา" คงอัตรา 2,200 ลบ.ม.ต่อวินาที

ภัยพิบัติ
7 ต.ค. 67
13:01
2,867
Logo Thai PBS
มวลน้ำเหนือถึง "เจ้าพระยา" คงอัตรา 2,200 ลบ.ม.ต่อวินาที
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมชลประทาน ชี้มวลน้ำเหนือถึง "เขื่อนเจ้าพระยา" จ.ชัยนาทแล้ว คงอัตราปล่อย 2,200 ลบ.ม.ต่อวินาที ยันแม่น้ำเจ้าพระยา ยังรับน้ำได้ถึง 3,500 ลบ.ม.ต่อวินาที ส่วน 4 เขื่อนใหญ่ 4 แห่งมีน้ำกักเก็บรวมกัน 79% รับน้ำฝนได้อีก

วันนี้ (7 ต.ค.2567) นายเอกภาพ พลซื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฝ่ายการเมือง) แถลงข่าวเพื่อเตรียมรับมือสถานการณ์น้ำท่วมว่า จากการประชุมคณะติดตามสถานการณ์น้ำท่วมทั่วประเทศ โดยเฉพาะที่ จ.เชียงใหม่ ปิงล้นตลิ่งเข้าท่วมชุมชนและย่านเศรษฐกิจ

ระดับน้ำปิงต่ำกว่าเขื่อนแล้ว สำนักงานชลประทาน 1 เชียงใหม่ ที่คาดว่าจะคลี่คลายภายใน 2-3 วันนี้จะดีขึ้นถ้าไม่มีฝนตกลงมาเพิ่ม เตรียมเครื่องสูบน้ำ 40 เครื่อง ทำงานแล้ว 27 ตัวคาดว่า 2-3 วันนี้จะคลี่คลาย ส่วนพื้นที่่รอบนอกคาดว่า 1-2 สัปดาห์

อ่านข่าว ผงะ! ประตูระบายน้ำดอยหล่อน้อยชำรุด ส่งผลเคลียร์ "น้ำปิง" ช้า

นายเอกภาพ กล่าวอีกว่าส่วนเขื่อนเจ้าพระยา ที่ห่วงว่าหลังปล่อยระบายน้ำเพิ่มจะทำให้มีเข้ามาท่วม กทม.ตอนนี้ได้มีการระบายน้ำออกสู่ทุ่งรับน้ำตะวันออก และตะวันตก โดยจะคงอัตราระบายน้ำที่ตัวเลข 2,200 ลบ.ม.ต่อวินาที โดยขณะนี้ปริมาณน้ำเหนือลงมาถึงเขื่อนเจ้าพระยาแล้ว 

เชื่อว่ายังไม่วิกฤต ลำน้ำเจ้าพระยารองรับมีปริมาณ 3,500 ลบ.ม.ต่อวินาที แต่น้ำที่สถานีบางไทร 2,000 ลบ.ม.ต่อวินาที ยังมีช่องว่าง 1,500 ลบ.ม.ถ้าไม่มีน้ำทะเลหนุน 
จุดวัดระดับแม่น้ำปิง จ.เชียงใหม่ ล่าสุดแนวโน้มลดลง

จุดวัดระดับแม่น้ำปิง จ.เชียงใหม่ ล่าสุดแนวโน้มลดลง

จุดวัดระดับแม่น้ำปิง จ.เชียงใหม่ ล่าสุดแนวโน้มลดลง

ฝนเหนือเริ่มซา-บางเขื่อนน้ำน้อย

นอกจากนี้กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานฝนทางภาคเหนือเริ่มซาแล้ว และฝนกำลังเข้าสู่ในพื้นที่ภาคใต้ อีกทั้งมีรายงานว่าบางพื้นที่น้ำในเขื่อนยังน้อย เช่น เขื่อนลำตะคอง มีน้ำเก็บกัก 34% เขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ 35% ทางชลประทานที่ 8 เสนอให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ทำฝนหลวงเพื่อเข้าไปช่วยเติมน้ำลงเขื่อนในภาคอีสาน

ขณะที่กรมชลประทาน รายงานว่ารายงานสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา สถานี C2 อ.เมืองนครสวรรค์ปริมาณน้ำไหลผ่าน 2,359 ลบ.ม.ต่อวินาทีแนวโน้มลดลง จากเมื่อวาน 6 ซม. ต่ำกว่าตลิ่งอยู่ 1.98 เมตร ส่วนสถานี C13 เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ปริมาณน้ำไหลผ่าน 2,199 ลบ.ม.ต่อวินาทีทรงตัวจากเมื่อวานนี้ (6 ต.ค.) ระดับน้ำท้ายเขื่อนต่ำกว่าตลิ่งอยู่ 1.24 เมตร

เนื่องจากปริมาณน้ำสะสมทางตอนบนเริ่มไหลลงสู่ลุ่มเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น กรมชลประทาน จำเป็นต้องปรับเพิ่มการระบายน้ำแบบขั้นบันไดผ่านเขื่อนเจ้าพระยา โดยจะควบคุมปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ในเกณฑ์ดังกล่าวอย่างเต็มศักยภาพของพื้นที่

อ่านข่าว  เชียงใหม่เตือน 3 อำเภอขนของขึ้นที่สูง-เรือกู้ภัยล่มยาย 71 ปีเสียชีวิต

ผลระทบหลังน้ำท่วมเชียงใหม่ในช่วงปลายสัปดาห์ในเขตเศรษฐกิจเมือเชียงใหม่

ผลระทบหลังน้ำท่วมเชียงใหม่ในช่วงปลายสัปดาห์ในเขตเศรษฐกิจเมือเชียงใหม่

ผลระทบหลังน้ำท่วมเชียงใหม่ในช่วงปลายสัปดาห์ในเขตเศรษฐกิจเมือเชียงใหม่

ซึ่งการระบายน้ำในอัตราดังกล่าว จะส่งผลให้ระดับน้ำบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาและพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ บริเวณคลองโผงเผง จ.อ่างทอง คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา แม่น้ำน้อยบริเวณ ต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดิน แดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยาวัดสิงห์ อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี อ.เมือง จ.สิงห์บุรี อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี วัดไชโย อ.ไชโย จ.อ่างทองระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น
หากระดับน้ำทางตอนบนเพิ่มสูงขึ้น และส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น

เสริมความสูงแนวคันกั้นน้ำรับน้ำสูง 

นายสยาม ผลมี ผู้ใหญ่บ้าน ม.6 ต.หาดอาษา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท กล่าวว่า พื้นที่ ม.5 และ ม.6 ต.หาดอาษา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ซึ่งเป็นพื้นที่นอกคันกั้นน้ำ ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่ง เข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนสูงประมาณ 30 เซนติเมตร

ชาวบ้านช่วยกันสร้างแนวคันกั้นน้ำรับมือไว้แล้ว และติดตามสถานการณ์น้ำรายชั่วโมง หากเขื่อนเจ้าพระยาประกาศปรับเพิ่มการระบายน้ำอีก ก็จะเสริมคันกั้นน้ำให้สูงขึ้นอีก 0 เซม. เชื่อว่าปีนี้รับมือสถานการณ์น้ำได้ เพราะน้ำเหนือยังไม่ถือว่าไม่มากเท่ากับปี 2565

ถ้าเสริมกระสอบทรายสูงเพิ่มอีก 30 ซม.จะสู้น้ำได้ถ้าเขื่อนเจ้าพระยาปล่อยน้ำลงมา 2,200 ลบ.ม.ต่อวินาที น่าจะยังกันได้ 
ชาวบ้านเร่งวางกระสอบทรายป้องกันน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา เสี่ยงน้ำเพิ่มในพื้นที่นอกคันกั้นน้ำ

ชาวบ้านเร่งวางกระสอบทรายป้องกันน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา เสี่ยงน้ำเพิ่มในพื้นที่นอกคันกั้นน้ำ

ชาวบ้านเร่งวางกระสอบทรายป้องกันน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา เสี่ยงน้ำเพิ่มในพื้นที่นอกคันกั้นน้ำ

ชาวบ้านริมคลองโผงเผง ย้ายมาอาศัยบนถนน 

เจ้าหน้าที่กรมทางหลวงชนบทอ่างทอง นำป้ายและแท่งแบริเออร์ ติดตั้งไว้บริเวณริมถนนสายโผงแผง-บางหัก หมู่ที่ 4 ต.โผงเผง อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ หลังชาวบ้านหลายครอบครัวขนย้ายทรัพย์สินไปพักอาศัยชั่วคราวบนถนน

เนื่องจากบ้านถูกน้ำท่วมสูงเกือบ 2 เมตร และพายเรือสัญจรเข้า-ออก ภายในบ้าน ซึ่งพื้นที่ตำบลโผงเผง ถูกน้ำท่วมตั้งแต่ต้นเดือนที่ผ่านมา ล่าสุด จังหวัดอ่างทอง มีพื้นที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมแล้วกว่า 300 หลังคาเรือน ใน 3 อำเภอ คือ อ.เมือง อ.ป่าโมก และอ.วิเศษชัยชาญ

เช็ก 4 เขื่อนหลักยังรับน้ำเหนือ

ขณะที่ปริมาณการเก็บกักน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง และน้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา พบว่าทั้ง 4 เขื่อนใหญ่มีรวมปริมาณ 19,650 ลบ.ม. หรือ 79% ยังรองรับน้ำได้อีก 5,221 ลบ.ม.

  • เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำกักเก็บ 9,321 ลบ.ม. คิดเป็น 69% ยังรองรับน้ำได้อีก 4,141 ลบ.ม. ลบ.ม.
  • เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บ 8,920 ลบ.ม. คิดเป็น 94% ยังรองรับน้ำได้อีก 590 ลบ.ม. ยังระบายน้ำวันละ 500 ลบ.ม.ต่อวินาที
    ลบ.ม.
  • เขื่อนแควน้อย มีปริมาณน้ำกักเก็บ 738 ลบ.ม. คิดเป็น 79% ยังรองรับน้ำได้อีก 201 ลบ.ม.
  • เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บ 670 ลบ.ม. เป็น 70% ยังรองรับน้ำได้อีก 290 ลบ.ม.

อ่านข่าว เตือน 11 จังหวัดท้ายเขื่อน ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา เฝ้าระวังน้ำท่วม 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง