- สูตรลับชีวิตหลังเกษียณ! เตรียมวางแผนสุขภาพ-การเงิน-จิตใจ
- รับบำเหน็จหรือบำนาญ ? เพื่อบริหารคุณภาพชีวิตหลัง "เกษียณ"
ประเมินสถานะหนี้สิน
ทำรายการหนี้สิน เริ่มต้นด้วยการรวบรวมรายการหนี้สินทั้งหมดที่มี และแยกประเภทของหนี้ เช่น หนี้บัตรเครดิต, หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล, หนี้บ้าน, หนี้รถยนต์ จากนั้นให้ทำการวิเคราะห์อัตราดอกเบี้ย ว่าแต่ละหนี้มีอัตราดอกเบี้ยเท่าไหร่ โดยเฉพาะหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง เช่น หนี้บัตรเครดิต จะทำให้รู้ว่าต้องให้ความสำคัญในการชำระหนี้ก้อนใดก่อน ในขั้นตอนนี้ หากไม่ชำนาญอาจขอความช่วยเหลือหรือคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน หรือ ธนาคาร ได้
จากนั้นให้พิจารณากลยุทธ์ในการชำระหนี้ โดยดูจากความสามารถในการชำระหนี้ของตัวเราเอง สามารถชำระหนี้ที่มียอดต่ำที่สุดก่อน เพื่อสร้างแรงจูงใจและกำลังใจทีละนิดทีละน้อยได้ หรือ อาจยอมกัดฟันชำระหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงที่สุดก่อนเพื่อลดค่าใช้จ่ายรวม
แต่ในการวางแผนจะชำระหนี้ก็ต้องวางเงินงบประมาณไว้ เพื่อควบคุมการใช้จ่ายในด้านอื่น ๆ มากขึ้น เช่น เขียนรายได้ทั้งหมดที่ได้มาในแต่ละเดือน และเขียนรายจ่าย-ค่าใช้จ่ายประจำเดือนไว้เช่นเดียวกันด้วย เช่น ค่าที่อยู่อาศัย ค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาล จากนั้นจึงค่อยกำหนดเป้าหมายว่า มีความสามารถในการชำระหนี้ และ การออมเงิน ในแต่ละเดือนเท่าใด และการชำระหนี้ในแต่ละเดือน ก็ควรติดตามสถานะเพื่อให้รู้ยอดหนี้ และปรับเปลี่ยนงบประมาณตามสถานการณ์หากสามารถทำได้ ด้วยการสร้างรายได้เสริม เช่น การทำงานพิเศษ การลงทุนในสินทรัพย์ หุ้น ที่มีความเสี่ยงต่ำ
แต่หากไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามจำนวนหรือกำหนดที่ตั้งไว้ ลูกหนี้ควรติดต่อเจรจา เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ หรือ ขอขยายระยะเวลาการชำระหนี้ โดยสามารถขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินหรือบริษัทที่ปรึกษาเกี่ยวกับหนี้สิน เพื่อให้ได้รับคำแนะนำที่เหมาะสมได้
อ่านข่าว : สูตรลับชีวิตหลังเกษียณ! เตรียมวางแผนสุขภาพ-การเงิน-จิตใจ
สร้างนิสัยการใช้จ่ายที่ดี
การสร้างนิสัยการใช้จ่ายเงินที่ดี จะทำให้คุณรู้จักแยกแยะสิ่งที่จำเป็นและไม่จำเป็น และช่วยลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นได้ ไม่ว่าจะเป็น การออมเงิน เสมือนการสร้างเงินสำรอง ทำให้มีเงินไว้ใช้กรณีฉุกเฉินหรือเป้าหมายในอนาคต
เมื่อคุณออมเงินอย่างสม่ำเสมอ คุณจะสามารถบรรลุเป้าหมายทางการเงิน เช่น การซื้อบ้าน หรือการเดินทางท่องเที่ยว
หลีกเลี่ยงการก่อหนี้ใหม่ ด้วยนิสัยการใช้จ่ายที่ดี พยายามหลีกเลี่ยงการใช้บัตรเครดิตเกินวงเงิน หรือกู้ยืมเงินที่ไม่จำเป็น เมื่อมีเงินเก็บที่มากพอ จะทำให้มีการวางแผนการใช้จ่ายอย่างดี มีเงินเพียงพอในการชำระหนี้สินได้เร็วขึ้น เมื่อหนี้ลด ความสุขก็เพิ่มขึ้น ทำให้รู้สึกมั่นใจในอนาคตและไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับปัญหาทางการเงิน
การสร้างนิสัยการใช้จ่ายเงินที่ดี ไม่ได้จำเพาะอยู่แค่เพียงการออมเงิน การชำระหนี้เท่านั้น แต่นิสัยการใช้จ่ายที่ดี จะทำให้กล้าลงทุนในสิ่งที่มีคุณภาพ เช่น อาหารสุขภาพ การออกกำลังกาย หรือการเรียนรู้ ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ
นิสัยการใช้จ่ายที่ดี จะทำให้มีเงินเหลือ เพื่อนำไปลงทุนสร้างผลตอบแทนในอนาคต การใช้จ่ายอย่างมีสติจะช่วยให้สามารถวางแผนเกษียณได้อย่างมั่นคง และเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อน ทำให้พวกเขาเรียนรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางการเงินไปในทางที่ดีขึ้น
การเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับอนาคต อย่ารอช้า! ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางการเงินและเริ่มต้นวางแผนเพื่อชีวิตที่ดีในอนาคต
อ่านข่าว : รับบำเหน็จหรือบำนาญ ? เพื่อบริหารคุณภาพชีวิตหลัง "เกษียณ"
เกษียณไร้สุข ผลลัพธ์ละเลยวางแผนการเงิน
การเกษียณอายุเป็นช่วงเวลาที่หลายคนรอคอย เพื่อให้ได้ใช้ชีวิตอย่างอิสระและมีเวลาให้กับกิจกรรมที่รัก แต่หากไม่มีการวางแผนการเงินที่เหมาะสม อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตได้
1.ความไม่มั่นคงทางการเงิน คือผลกระทบที่สำคัญที่สุดจากการไม่ยอมวางแผนการเงิน เพราะหลังเกษียณ คุณจะไม่มีรายได้ประจำจากการทำงาน หมายความว่าหากไม่มีเงินออมที่เพียงพออาจต้องเผชิญกับปัญหาทางการเงินได้ หรือหากมีเงินออมแต่วางแผนไม่รัดกุม เงินออมก็หมดในเวลาอันสั้นได้ และในกรณีที่เงินออมไม่เพียงพอหรือหมด อาจต้องขอหยิบยืมจากครอบครัวหรือคนใกล้ชิด ส่งผลให้เกิดความเครียดทั้ง 2 ฝ่ายได้
2.ปัญหาสุขภาพ การไม่วางแผนทางการเงิน อาจทำให้คุณไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่จำเป็นได้ จนกลายเป็นปัญหาสุขภาพใหญ่ในอนาคต หรืออาจต้องประหยัดค่าใช้จ่าย เครียด กังวลเรื่องกลัวเจ็บป่วย จนละเลยการดูแลสุขภาพ กินอาหารที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ ทำให้สุขภาพย่ำแย่ลง
3.การสูญเสียความเป็นอิสระ เพราะการไม่วางแผนการเงิน ส่งผลให้สูญเสียความเป็นอิสระในการใช้ชีวิตหลังเกษียณ และต้องพึ่งพาผู้อื่นในการใช้ชีวิต
4.คุณภาพชีวิตที่แย่ลง เพราะไม่วางแผนการเงินที่เหมาะสม อาจทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมที่ต้องการในวัยเกษียณได้ เช่น ไม่ได้ไปเที่ยว ไม่ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ หรือการใช้เวลาอยู่กับครอบครัวและเพื่อนฝูง เพราะไม่สามารถใช้จ่ายเงินได้ตามต้องการ เมื่อไม่มีเงิน โอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมก็ลดลง อาจทำให้คุณรู้สึกโดดเดี่ยวและไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนหรือสังคมได้
5. ความเครียดทางจิตใจ ปัญหาทางการเงินที่เกิดจากการไม่วางแผน สามารถสร้างความเครียด วิตกกังวล ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต เกิดความเครียดหากสถานการณ์การเงินไม่ดีและไม่สามารถทำสิ่งที่รักได้ อาจนำไปสู่ปัญหาซึมเศร้าหรือความรู้สึกไม่พอใจในชีวิต
การไม่วางแผนการเงินหลังเกษียณอาจนำไปสู่ผลกระทบหลายอย่างที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะเรื่องความมั่นคงทางการเงิน สุขภาพ และความเป็นอิสระ ควรเริ่มต้นวางแผนการเงินตั้งแต่วันนี้ เพื่อให้ชีวิตหลังเกษียณเต็มไปด้วยความสุขและความมั่นคง อย่ารอให้ถึงเวลาที่คุณจะต้องเผชิญปัญหาใหญ่
การวางแผนคือกุญแจสู่ชีวิตที่มีคุณภาพและสุขสบายในอนาคต
อ่านข่าว :
อัปเดตครึ่งปีหลัง! ปฏิทินวันจ่ายเงินเดือน ขรก. เงินบำนาญ เงินเดือนทหาร ออกวันไหน?
เปิดอัตราเงินเดือนข้าราชการใหม่ ปี 2567 หลัง ครม.เคาะปรับขึ้น 10%