รู้จัก "งูเหลือม" เลือกเหยื่อ รัด กิน ย่อย

สิ่งแวดล้อม
19 ก.ย. 67
16:49
209
Logo Thai PBS
รู้จัก "งูเหลือม" เลือกเหยื่อ รัด กิน ย่อย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

หน้าฝนนอกจากฝนตกน้ำท่วมยังต้องกังวลเรื่องสัตว์เลื้อยคลาน หนึ่งในนั้นคือ "งู" ซึ่งเป็นสัตว์ที่ชอบอากาศชื้น ไม่ถูกรบกวนจากศัตรูตามธรรมชาติ หรือมนุษย์ หลบซ่อนตามต้นไม้ พื้นที่ที่มีหญ้าสูง สถานที่รกร้าง 

ยิ่งในช่วงที่มีฝนตกอากาศเย็นกว่าปกติงูจะหาพื้นที่อบอุ่น นั้นเพราะงูเป็นสัตว์เลือดเย็นอุณหภูมิร่างกายจะแปรผันตามอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมภายนอก หลายครั้งจึงมักพบเห็นงูในบ้าน ห้องครัว ใต้ตู้เย็น รถยนต์ หรือใต้หลังคา

งูเหลือม

งูเหลือม

งูเหลือม

งูที่พบได้บ่อยในชุมชน มีทั้งงูที่มีพิษ เช่น งูเห่า งูเขียวหางไหม้ และงูไม่มีพิษหรือมีพิษไม่รุนแรง เช่น งูเหลือม งูหลาม งูสิง ยิ่งในช่วงนี้ฝนตกลงมาบ่อย เราจึงได้พบเห็นข่าวงูเข้าบ้านคนมากขึ้น

เมื่อวันที่ 17 ก.ย.2567 เหตุเกิดในพื้นที่ จ.ปราจีนบุรี เจ้าหน้าที่กู้ภัยรีบทำ CPR ปั๊มหัวใจช่วย "แมว" หลังถูกงูเหลือมขนาดใหญ่รัดจนแน่นิ่ง กลับมาหายใจอีกครั้ง  

และกรณีล่าสุดเมื่อวันที่ 18 ก.ย.2567  เกิดเหตุงูเหลือมขนาดใหญ่กัดและรัดหญิงอายุ 64 ปี ใน จ.สมุทรปราการ นานเกือบ 2 ชั่วโมง และร้องขอความช่วยเหลือจนชาวบ้าน และกู้ภัยเข้ามาช่วยเหลือ

อ่านข่าว : เช็กวิธีเอาตัวรอดถูก "งูเหลือมรัด"

รู้จัก "งูเหลือม" ยาวเป็นรองแค่ "อนาคอนดา"

"งูเหลือม" หรือ Reticulated Python มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ (Malayopython reticulatus (formerly as: Python reticulatus)) เป็นงูที่มีขนาดใหญ่และยาว ไม่มีพิษ และพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย รวมถึงเมียนมา มาเลเซีย สิงคโปร์ มักอาศัยอยู่บนต้นไม้และตามพื้นตั้งแต่พื้นที่ชุ่มน้ำบริเวณลุ่มน้ำจนถึงในป่าดิบชื้น

"งูเหลือม" เป็นงูที่มีลำตัวยาวที่สุดในโลก โดยอาจยาวได้มากกว่า 10 เมตร ตัวใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจาก "อนาคอนดา" (Anaconda)

งูเหลือม

งูเหลือม

งูเหลือม

ลักษณะเฉพาะของ "งูเหลือม"

งูเหลือม "ลำตัว" มีสีน้ำตาลเทาถึงน้ำตาลเทาอมเหลือง มีลายข้าวหลามตัดบนหลัง ตลอดความยาว "ลำตัว" มีลายจุดสีขาวประปราย มีปากใหญ่ ฟันแหลมคม ขากรรไกร แข็งแรงมาก หางยาว

ส่วน "หัว" สีเหลืองมีเส้นสีดำกลางหัวลากจากปลายจมูกถึงคอ และจากหางตาถึงขากรรไกร ม่านตาหดตัวในแนวตั้ง ท้องสีขาวเกล็ดเรียบ

เกล็ดบริเวณกลางตัว 69 - 79 แถวเกล็ด หัวตา 2 เกล็ด เกล็ดระหว่างเกล็ดจมูกกับเกล็ดหัวตา 3 - 4 เกล็ด เกล็ดหางตา 3 เกล็ดเกล็ดปลายปากบนมีรูลึก 2 เกล็ด เกล็ดริมฝีปากบนมีรูลึก 1 - 4 เกล็ด เกล็ดทวารเดี่ยวเกล็ดใต้หางคู่มีขาหลังที่ลดรูปเหลือเป็นส่วนที่คล้ายเล็บแหลมบริเวณข้างรูเปิดทวาร 2 ข้าง 

งูเหลือม จะใช้เวลาฟักไข่ 3 เดือน ลูกงูที่ออกจากไข่มีความยาวประมาณ 55 ซม. วางไข่ครั้งละถึง 100 ฟองโดยวางกองรวมกันบนกองใบไม้แห้งฟักไข่ประมาณ 90 วัน

พฤติกรรมของ "งูเหลือม"

อย่างที่บอก "งูเหลือม" เป็นงูไม่มีพิษ เลื้อยช้า ๆ จะใช้ช่วงเวลากลางคืนออกหากิน โดยจะหากินทั้งบนบกและในน้ำ งูเหลือม อาศัยนอนตามโพรงดิน โพรงไม้ในที่มืดและเย็น หลาย ๆ วันจึงจะออกหากินครั้งหนึ่ง

"งูเหลือม" เป็นงูที่มีพละกำลังมาก มักใช้วิธีซุ่มโจมตีเหยื่อรัดร่างสัตว์ที่ต้องการจับเป็นอาหาร โดยปกติจะรอจนกว่าเหยื่อจะเข้ามาในระยะโจมตีก่อนจึงจะจับเหยื่อด้วยการขดตัวและฆ่าเหยื่อด้วยการรัดลำตัวแน่นเข้าทีละนิด 

การกอดรัดที่ทรงพลังของงูเหลือม ทำให้เหยื่อเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นหรือขาดอากาศหายใจจนตาย ก่อนที่งูเหลือมจะกลืนเหยื่อลงท้อง

งูเหลือม

งูเหลือม

งูเหลือม

"งูเหลือม" กินอะไร ?   

งูเหลือมกินสัตว์แทบทุกชนิด เช่น เก้ง สุนัข กระต่าย หนู ไก่ เป็ด นก บางครั้งก็จับปลากินด้วย 

นายสัตวแพทย์ทวีศักดิ์ อนันต์ศิริวัฒนา ผอ.โรงพยาบาลสัตว์คลองหลวง ผู้เชี่ยวชาญด้านงู  เคยระบุกับ ไทยพีบีเอสออนไลน์ถึงการกินเหยื่อของงูเหลือมว่า งูเหลือมเป็นสัตว์ที่กินไม่เลือก โดยเฉพาะงูเหลือมที่มีขนาดตัวใหญ่มากพอ เมื่อพบเหยื่อที่อ่อนแอ อยู่ใกล้ เคลื่อนไหวช้าก็พร้อมเข้าจู่โจมทันที

งูเหลือมจะกินเหยื่อเข้าไปทั้งตัว ก่อนจะเลื้อยหนีไปจากพื้นที่นั้นทันที แต่อาจจะเคลื่อนที่ได้ช้า และจะใช้เวลาย่อยเหยื่อ 7-15 วัน โดยขับถ่ายออกมาหลังย่อยสมบูรณ์   

งูเหลือม โจมตีมนุษย์ด้วยวิธีการ อย่างไร ?

ตามปกติงูเหลือมมักกินสัตว์เล็ก ๆ เป็นอาหาร แต่เมื่อเติบโตจนมีขนาดใหญ่ มันก็แทบจะไม่สนใจสัตว์เล็ก ในบางครั้งพวกมันก็กินสัตว์เลื้อยคลานอื่น ๆ ที่มีไซต์ใหญ่ขึ้น และก็มีกรณีที่ที่มนุษย์ถูกงูเหลือมทำร้าย

นายวรุฬ จิโนแสง ที่ปรึกษาทีมอสรพิษวิทยาภาคอีสาน กล่าวกับไทยพีบีเอส ออนไลน์ว่า งูเหลือม มีพฤติกรรมและสามารถรัดคน และเขมือบสัตว์เข้าไปในท้องได้แต่ต้องมีขนาดใหญ่มาก และโดยธรรมชาติของงูจะไม่กินสัตว์ที่มีแนวตั้งฉากกับพื้น แต่จะกินสัตว์ที่นอนขนาดอยู่กับพื้น เช่นกรณีที่ หมา แมว ไก่ สัตว์เลี้ยง ที่นอนอยู่กับพื้น

“ถ้ามีโอกาสที่งูเจอสัตว์ตายแล้ว งูจะมองว่าเป็นเหยื่อ แต่ถ้าเห็นคนยืนแนวตั้ง งูจะแค่จู่โจม”

งูเหลือม

งูเหลือม

งูเหลือม

"งูเหลือม" หนึ่งในงู 14 ชนิด ในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครอง 

สัตว์ป่าคุ้มครอง ประเภท งู ตาม กฎกระทรวง กำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ.2546 ห้ามล่า ห้ามฆ่า ห้ามกิน ห้ามเลี้ยง เหตุผลที่จับได้แล้วต้องปล่อยสู่ธรรมชาติ จำนวน 14 ชนิด ดังนี้ 

  • งูจงอาง (Ophiophagus hannah) : มีพิษร้ายแรง
  • งูสิงธรรมดา หรือ งูสิงตาโต (Ptyas korros) : ไม่มีพิษ
  • งูสิงหางลาย (Ptyas mucosa) : ไม่มีพิษ
  • งูสิงหางดำ (Ptyas carinata) : ไม่มีพิษ
  • งูเหลือม (Malayopython reticulatus) : ไม่มีพิษ
  • งูหลาม (Python bivittatus) : ไม่มีพิษ
  • งูหลามปากเป็ด (Python brongersmai) : ไม่มีพิษ
  • งูแสงอาทิตย์ (Xenopeltis unicolor) : ไม่มีพิษ
  • งูทางมะพร้าว (Coelognathus radiatus) : ไม่มีพิษ
  • งูทางมะพร้าวแดง (Oreocryptophis porphyraceus) : ไม่มีพิษ
  • งูทางมะพร้าวดำ (Coelognathus flavolineatus) : ไม่มีพิษ
  • งูทางมะพร้าวเขียว (Gonyosoma coeruleum) : ไม่มีพิษ
  • งูเขียวกาบหมาก (Gonyosoma oxycephalum) : ไม่มีพิษ
  • งูกาบหมากหางนิล (Elaphe taeniura) : ไม่มีพิษ

มาถึงตรงนี้ได้รู้แล้วว่า "งูเหลือม" เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง และยังเป็นหนึ่งใน "สัตว์เลื้อยคลาน" และยังสามารถพบเห็นได้ในเมืองบางครั้งไปโผล่ตามแหล่งชุมชน บ้านเรือน สวนสาธารณะ 

ทั้ง 14 ชนิดนี้ ห้ามล่า ห้ามทำอันตราย ห้ามเลี้ยงดูหรือครอบครอง หรือ กระทำการค้าซึ่งสัตว์ป่าฯ และซากของสัตว์ป่าฯ ดังกล่าว หากฝ่าฝืนจะมีความผิด จำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

งูเหลือม

งูเหลือม

งูเหลือม

แยกอย่างไร "งูเหลือม" กับ "งูหลาม" 

หลายคนที่อาจแยกไม่ออกระหว่าง "งูเหลือม" กับ "งูหลาม" 2 ชนิดนี้แตกต่างกันอย่างไรและต้องดูตรงไหน เริ่มแรกอาจต้องดูที่ ลำตัว และ ความยาว

ทั้ง "งูหลาม" มีลำตัวที่ใหญ่กว่า "งูเหลือม" แต่มีความยาวน้อยกว่า อธิบายให้เห็นภาพคือ "งูหลาม" มีความยาวเฉลี่ยจากปลายจมูกถึงปลายหาง 3.7 ม. ส่วน "งูเหลือม" บางตัวยาวกว่า 5 ม.

หากสังเกตลายของงูทั้ง 2 ชนิดให้มองที่หัวก่อน โดยหัวของ "งูหลาม" จะมีกลุ่มเกล็ดรูปสามเหลี่ยมสีน้ำตาลเข้มชี้ไปทางปลายจมูก ส่วนหัวของ "งูเหลือม" จะมีเส้นสีดำกลางหัวลากจากปลายจมูกถึงคอ

แล้วชนิดไหนดุร้ายกว่ากัน ? อุทยานแห่งชาติกุยบุรี เคยอธิบายไว้ว่า งูหลามไม่ดุร้ายเท่างูเหลือมและมักจะออกล่าเหยื่อบนบก หากพบเห็นงูแบบนี้หากินในน้ำ สันนิษฐานได้เลยว่า เป็นงูเหลือม

แต่หากพบเห็นงูประเภทนี้ในพื้นที่ภาคใต้ สันนิษฐานได้เลยว่าเป็นงูเหลือม เพราะถิ่นกำเนิดของงูหลามไม่ได้อยู่ในบริเวณภาคใต้ แต่จะพบได้ในภาคอื่น ๆ ของไทย ส่วนงูเหลือมพบได้ทั่วไป

อ่านข่าว : ปฏิทินวันหยุดตุลาคม 2567 ปิดเทอมใหญ่ โอกาสดีพาครอบครัวเที่ยว

ใครเกิดทันบ้าง? ย้อนอดีตรู้จัก "เพจเจอร์" เครื่องมือสื่อสารยุค 90

"พินัยกรรม" สำคัญอย่างไร เลือกทำแบบไหนดี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง