ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

กมธ.อว.สภาฯ เตรียมสรุปรายงาน ศึกษาปัญหาวิกฤตปลาหมอคางดำ ปลาย ก.ย.นี้

สิ่งแวดล้อม
15 ก.ย. 67
12:58
216
Logo Thai PBS
กมธ.อว.สภาฯ เตรียมสรุปรายงาน ศึกษาปัญหาวิกฤตปลาหมอคางดำ ปลาย ก.ย.นี้
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กมธ.อว.สภาฯ เตรียมสรุปรายงาน ศึกษาปัญหาวิกฤตปลาหมอคางดำ ปลาย ก.ย.นี้ พร้อมเตรียมทวงถาม “ก.เกษตรฯ - ก.ทรัพย์ฯ” แก้ปัญหาและเยียวยาชาวบ้านได้รับผลกระทบ

วันนี้ (15 ก.ย. 67) ที่วัดประชาบำรุง (วัดลูกวัว) เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ คณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สภาฯ จัดงานสัมมนา "การจัดการและควบคุมการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ เพื่อความยั่งยืนทางระบบนิเวศ ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม" เพื่อติดตามการหาแนวทางช่วยเหลือประชาชนในด้านกฎหมายกับเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากปลาหมอคางดำ

นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ในฐานะกรรมาธิการฯ กล่าว ไล่เลียงไทม์ไลน์เกี่ยวกับการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำ ตั้งแต่ปี 2556 ที่พบการส่งออก ส่วนปี 2560 พบว่า DNA เลือดชัดไม่แตกต่างกัน จากนั้นในปี 2561 มีการสั่งห้ามนำเข้าและจัดถึงงบประมาณแก้ไข

ต่อมาในปี 2563 เกิดการแพร่กระจายในวงกว้างขึ้น พบปลาหมอคางดำในพื้นที่ 7 จังหวัด ปีถัดมา 2564 สั่งห้ามเพราะพันธุ์ และเพิ่มมาตรการที่เข้มงวด โดยในปี 2565 มีการวิจัยระบุถึงแหล่งที่มาที่เดียวกัน จนในปี 2566 ได้ตั้งกระทู้ถามในสภาฯ และได้มีการติดตามในประเด็นนี้มาอย่างต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนผ่านกลไกของสภาฯ

พร้อมยืนยันที่จะเกาะติดกับปัญหานี้ โดยจะไม่หยุด หากรัฐยังไม่แก้ไขใน 3 ประเด็น 1. ถ้ายังไม่ประกาศเขตภัยพิบัติและเยียวยาประชาชน 2. จะฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 3. ถ้ายังไม่มีงบมาเยียวยาก็จะไม่หยุดเรื่องนี้ จะยกระดับการดำเนินการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อหาความจริงทั้งหมด

ทั้งนี้ กรรมาธิการจะสรุปผลการศึกษาในประเด็นปัญหาดังกล่าวในช่วงสิ้นเดือนนี้ หลังจากนี้จะนำทีมชาวบ้านและเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบไปติดตามความคืบหน้าในแต่ละกระทรวง คือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นพ.วาโย อัศวรุ่งเรือง ประธานกรรมาธิการ การอุดมศึกษาฯ สภาผู้แทนราษฎร และกรรมาธิการ ได้สอบถามประเด็นความเดือดร้อนของประชาชนที่มาร่วมในเวทีวันนี้ เกี่ยวกับการจัดการและควบคุมการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ โดยนายวัลลภ ขุนเจ๋ง เกษตรกรในพื้นที่สมุทรสงคราม ได้ลุกขึ้น สอบถามการทำงานของภาครัฐ แก้ไขปัญหาล่าช้าทำให้เกิดการแพร่ระบาดในพื้นที่อย่างกว้างขวางหลายจังหวัด

ส่วนนายปัญญา โตกทอง เครือข่ายประชาคมคนรักแม่กลอง ได้สะท้อนปัญหาเกี่ยวกับค่าดำเนินการทางกฎหมาย ว่าชาวบ้าน ประสบปัญหาเรื่องกำลังทรัพย์ที่จะต้องมาใช้สำหรับการดำเนินคดีฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ซึ่งหากจะเรียกค่าเสียหายวงเงิน 1 ล้านบาทจะต้องวางเงิน ค่าวางศาล 25,000 บาท และยังต้องมีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง จึงขอให้แก้ไขกฎหมายสิ่งแวดล้อมยกเลิกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ เนื่องจากประชาชนได้รับผลกระทบและเสนอเปลี่ยนให้กำหนดไว้เพียง 1 บาท

ทั้งนี้ในงานมีสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งบูธเพื่อทำแบบสอบข้อเท็จจริง กรณีผลกระทบของการระบาดปลาหมอคางดำในพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและในแหล่งน้ำธรรมชาติ ที่ทำให้กลุ่มประมงได้รับความเสียหาย ซึ่งมีประชาชนเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด มายื่นแบบฟอร์มเกี่ยวกับค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกว่า 50 คน

อ่านข่าว : ฟ้องเอาผิด “ปลาหมอคางดำ” ระบาด เรียกค่าเสียหาย 2.4 พันล้าน  

"ซีพีเอฟ" พร้อมพิสูจน์ข้อเท็จจริง ไม่ใช่ต้นเหตุการระบาด "ปลาหมอคางดำ"  

“ซีพีเอฟ” แจ้งความดำเนินคดี “ไบโอไทย” กรณี “ปลาหมอคางดำ

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง