นายกฯ เร่งแก้ไขการบริหารจัดการแหล่งน้ำรับมือภัยแล้ง
นายกรัฐมนตรีเร่งแก้ไขการบริหารจัดการแหล่งน้ำรับมือปัญหาภัยแล้ง ยืนยันรัฐบาลหามาตรการเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน
วันนี้ (10 ก.ค.2558) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในรายการ "คืนความสุขให้คนในชาติ" ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ถึงกรณีปัญหาภัยแล้งว่า ปัญหาภัยแล้งวันนี้กำลังแก้ไขปัญหาเรื่องการบริหารจัดการแหล่งน้ำที่มีอยู่ ต้นทุนที่มีอยู่ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ทำไปหมดแล้ว หลายชุมชนยังมีการเบิกจ่ายที่ว่าล่าช้านี่ มันก็ 70% มุ่งหวังให้มันมากกว่านี้ จริงๆ แล้วมันก็มากอยู่พอสมควรนะ เพียงแต่ทำเป็นงวดๆ งานเบิกเงินออกไปนี่ต้องเบิกตามงวดงาน ถ้าทำไม่เสร็จก็เบิกไม่ได้ นั่นแหละผมก็ไล่อย่างนี้นะ ทำไม่ได้ ทำไมมันช้าหรือเปล่า ช้าเกินไปไหมประสิทธิภาพดีไหมเหล่านี้ มีการตรวจสอบหรือเปล่า อันไหนที่ตรวจสอบแล้วก็ให้ทำๆ เร็วๆ ไม่งั้นไม่เสร็จสักที ก็เบิกเงินไม่ได้ เงินก็ไม่ออกไป ใช้จ่ายข้างนอกนะ ไม่ได้หมายความว่าใครบกพร่อง สื่อกรุณาอย่าไปตีความให้มัน ให้ผมไปทะเลาะเบาะแว้งกับคนทุกคนนี่ ประเทศนี้ไม่รู้เป็นไร
ส่วนเรื่องการเร่งบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในห้วงนี้ นอกจากนี้ รัฐบาลก็หามาตรการทุกอัน เรื่องผลกระทบความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจ สภาวะภัยแล้ง ทั้งเรื่องการบริหารจัดการน้ำ การส่งเสริมจ้างงานเพิ่มเติมให้แก่ประชาชนที่ไม่สามารถทำการเกษตรได้ ก็จะไปจ้างให้ขุดแหล่งน้ำขนาดเล็กโดยใช้แรงงานนะ มีค่าจ้างให้ ก็จะได้มีเงินมาใช้จ่ายระหว่างที่ปลูกพืชไม่ได้ ก็คงช่วยได้เฉพาะในพื้นที่ที่ทำการเกษตรไม่ได้เลย ไอ้ที่ทำได้วันนี้ฝนก็เริ่มลงแล้ว ก็ต้องยอมรับว่าจะช่วยกันยังไง จะมีการฝึกงานฝึกอาชีพ ฝึกงานเพิ่มเติม รวมทั้งจะมีการสนับสนุนการลงทุนสำหรับธุรกิจ SMEs และภาคเอกชน หรือ Social Business เพื่อช่วยกระตุ้นภาคเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอยู่ในขณะนี้ควบคู่กันไปด้วย
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ในเรื่องของการปฏิบัติน้ำ อย่าตื่นตระหนก วันนี้ฝนเริ่มตกแล้ว หลายจังหวัดด้วยกัน ปริมาณน้ำในเขื่อนบางเขื่อนก็เริ่มสูงขึ้น ถึงแม้ว่าปริมาณยังน้อยอยู่ แต่สิ่งสำคัญ คือว่าเริ่มดีขึ้นแล้ว ถ้าเรียกร้องมากเกินไป ไม่เกิดประโยชน์ ยังไงฝนก็ยังไม่ตก ตกแล้วค่อยพูดกันแล้วก็บริหารจัดการใหม่
ทั้งนี้ มีหลายเรื่องที่อยากจะเติมอีกนิดหนึ่ง เมื่อฝนตกแล้วต้องระมัดระวังเรื่องวาตภัย คลื่นลมแรงในทะเลอีก เดี๋ยวเกิดอุบัติเหตุอีก การท่องเที่ยวอีก โดยเฉพาะชาวประมงน้ำตื้น ประมงพื้นบ้านต้องระมัดระวัง ให้ส่วนราชการทุกส่วนให้มีการเตรียมการการช่วยเหลือให้พร้อม มีการซักซ้อมไว้ด้วย
นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า ในเรื่องของการขุดลอกบ่อน้ำ ขุดลอกอะไรต่างๆ นี้ทางฝ่ายความมั่นคง ฝ่ายเศรษฐกิจก็กำลังไปดำเนินการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรฯ ใช้งบประมาณของรัฐบ้าง งบประมาณของแต่ละหน่วยงานบ้าง ที่ให้ไปแล้วนี่ ไปปรับเปลี่ยนดูบ้าง เพื่อจะช่วยเหลือเกษตรกรที่มีความเดือดร้อน เป็นพื้นที่ๆ ไป ไม่ใช่ว่าทุกพื้นที่ต้องได้ เท่ากันหมดมันเป็นไปไม่ได้ วันนี้ก็ต้องเผื่อแผ่ แบ่งปันกันบ้าง