- เรารู้อะไรจาก Acoustic Kitty โครงการสัตว์สายลับฉบับ "เหมียว"
- โปรดเกล้าฯ ครม.แพทองธาร แล้ว "ภูมิธรรม" รองนายกฯ ควบ กห. , "เฉลิมชัย" รมว.ทส.
ในเดือนกันยายน 2567 ท้องฟ้ายามค่ำคืนจะมีปรากฏการณ์ทาง "ดาราศาสตร์" ที่น่าสนใจเกิดขึ้นบ้างสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้อัปเดตไว้ ดังนี้
5 กันยายน 2567 ดาวเคียงเดือน : ดาวศุกร์เคียงดวงจันทร์
สังเกตได้ทางทิศตะวันตก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึงเวลาประมาณ 19.20 น.
7 กันยายน 2567 ดาวเคียงเดือน : ดาวสไปกาเคียงดวงจันทร์ (0.3 องศา)
สังเกตได้ทางทิศตะวันตก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึงเวลาประมาณ 20.30 น.
8 กันยายน 2567 ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี
ดาวเสาร์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ส่งผลให้ดาวเสาร์อยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ดาวเสาร์สว่างจะปรากฏทางทิศตะวันออก สังเกตได้ด้วยตาเปล่ายาวนานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า หากดูดาวเสาร์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ เส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 4 นิ้ว หรือมีกำลังขยายตั้งแต่ 50 เท่าขึ้นไป
10 กันยายน 2567 ดาวเคียงเดือน : ดาวแอนทาเรสเคียงดวงจันทร์
สังเกตได้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึงเวลาประมาณ 22.40 น.
17 กันยายน 2567 ดาวเคียงเดือน : ดาวเสาร์เคียงดวงจันทร์ (0.3 องศา)
สังเกตได้ทางทิศตะวันออก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึงรุ่งเช้า
22 กันยายน 2567 วันศารทวิษุวัต
ช่วงเวลากลางวันยาวนานเท่ากับกลางคืน และยังเป็นช่วงเวลาที่ประเทศทางซีกโลกเหนือเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง ส่วนประเทศทางซีกโลกใต้เข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ
26 กันยายน 2567 ดาวเคียงเดือน : ดาวพอลลักซ์เคียงดวงจันทร์
สังเกตได้ทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ 01.20 น. จนถึงรุ่งเช้า
29 กันยายน 2567 ดาวเคียงเดือน : ดาวเรกูลัสเคียงดวงจันทร์
สังเกตได้ทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ 03.45 น. จนถึงรุ่งเช้า
อ่านข่าว : เตี้ย ล่ำ ตัน สัญชาตญาณนักล่า "ต่ำ" สุนัขสายพันธุ์อเมริกันบูลลี่
รู้ความสำคัญ "วันอาสาฬหบูชา - วันเข้าพรรษา" ที่เรียกว่า "วันพระใหญ่"
อย่ามองข้าม "วัณโรคเทียม" มีกว่า 140 สายพันธุ์ ภูมิคุ้มกันต่ำเสี่ยงสูง