ถ้าอุโมงค์รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เจาะและตัดผ่านส่วนไหนของหมวดหินภูกระดึง คุณสมบัติความแข็งแรง ก็แตกต่างกันไป ถ้าวางส่วนบนสุด ก็จะเป็นหินทรายแข็งชั้นหนา แต่หากอยู่ส่วนล่างความแข็งแรงก็จะลดหลั่น ต้องดูว่าอุโมงค์แห่งนี้สร้างในส่วนไหนของหมวดหิน
ดร.ประดิษฐ์ นูเล นักธรณีวิทยาชำนาญการพิเศษ สำนักงานทรัพยากรธรณีเขต 2 กรมทรัพยากรธรณี ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ว่า จากแผนพื้นที่ตั้งโครงการอุโมงค์รถไฟฟ้าความเร็วสูงไทย-จีน จ.นครราชสีมา อยู่ในพื้นที่ต่อเนื่องบนแนวเทือกเขายายเที่ยง เป็นลักษณะหินทรายของกลุ่มหินโคราช ซึ่งทางธรณีวิทยาเรียกว่า “หมวดหินภูกระดึง” อยู่ในยุคจูแรสสิกตอนปลายถึงครีเทเชียสตอนต้น ประมาณ 150–140 ล้านปีก่อน
อ่านข่าว ปิดภารกิจ 126 ชั่วโมง "อุโมงค์ถล่ม" พาร่าง 3 คน กลับครอบครัว
ดร.ประดิษฐ์ นูเล นักธรณีวิทยาชำนาญการพิเศษ สำนักงานทรัพยากรธรณีเขต 2
สำหรับหมวดหินภูกระดึง หินชุดนี้อยู่ในภาคอีสาน ตามขอบที่ราบสูงโคราช มีชั้นหินต้นแบบ (Type Section) อยู่ที่ภูกระดึง จ.เลย ตามเส้นทางเดินเท้าขึ้นภูกระดึง จากเชิงเขาถึงซำแฮก พบกระจายตัวตามขอบแอ่งโคราช และตามแนวเทือกเขาภูพาน ประกอบไปด้วยหินตะกอน จำพวกหินทรายแป้งและหินทรายสีม่วงแดงเป็นหลัก
ความหนาเกือบ 1,000 เมตรตั้งแต่ตอนล่างจนถึงตอนบนของหมวดหิน ลักษณะหินส่วนใหญ่ เป็นหินทรายแป้ง สีม่วงแดงเนื้อปูนผสมเนื้อโมก้าหิน ทรายสีเทาเขียว น้ำตาลแดงและหินกรวดมน ซึ่งในชั้นหินเหล่านี้นอกจากเป็นมัสโตนแล้ว ยังมีชั้นหินทรายที่หนามากกว่า 1 เมตรแทรกตัวอยู่ในหมวดหินชุดนี้
อ่านข่าว ไทม์ไลน์ 126 ชั่วโมง ติดอุโมงค์ถล่ม เสียชีวิต 3 คน
อุโมงค์โครงการรถไฟไทย-จีน
เช็กสภาพธรณีวิทยา-อุโมงค์ทำได้
หากถามว่าหมวดหินภูกระดึง เหมาะกับการทำโครงสร้างขนาดใหญ่ การขุดเจาะอุโมงค์หรือไม่ นักธรณีวิทยา มองว่า ในทางเทคโนโลยี การขุดเจาะอุโมงค์ทำได้ทั่วโลก แม้แต่ในชั้นดินเหนียวอ่อนของ กทม.ยังทำโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินได้
ถ้ามีการประเมินความเสี่ยง จะยอมรับได้ถ้ามีโครงสร้างในการรับมือ เหมือนกับทำบ้าน ถ้าพื้นดินไม่แข็งแรงก็ต้องหาโครงสร้างที่รับแรง เช่นการตอกเสาเข็ม แต่หากไม่รู้ และไม่เสริมความแข็งแรง ความเสี่ยงก็จะเกิดขึ้น
การออกแบบอุโมงค์ ต้องศึกษาสภาพธรณีวิทยาละเอียดมาก เพราะชั้นหิน ชั้นดินที่ขุดม่ว่าจะดี หรือแย่ การออกแบบร่วมกันระหว่างวิศวกรธรณี วิศวกรต้องมีมาตรฐานและออกแบบรองรับความเสี่ยง
เมื่อถามว่า ความเสี่ยงโอกาสเกิดการถล่มซ้ำได้หรือไม่ นักธรณีวิทยาชำนาญการพิเศษ กล่าวว่า ชุดกลุ่มหินโคราช จะมีความเสี่ยงน้อยกว่าหินอัคนี หินแปร และในพื้นที่นี้ไม่มีประวัติดินถล่มขนาดใหญ่ แบบเทือกเขานาคเกิด จ.ภูเก็ต ซึ่งแม้ว่าจะมีการไหลของดินตามธรรมชาติ อาจจะมีหินร่วงหล่นเล็กน้อย ถล่มในชุดกลุ่มหินโคราช จะมีความเสี่ยงน้อยกว่าหินอัคนี หินแปร
ปัจจัยที่จะเสี่ยงถล่มแบบเดียวกับเขานาคเกิด ในธรรมชาติเสี่ยงน้อย แต่หากมีการตัดไหล่เขา ทำถนน สร้างบ้าน ความเสี่ยงตามธรรมชาติที่ไม่เสี่ยง อาจจะกลายเป็นความเสี่ยงได้
ดร.ประดิษฐ์ ตั้งคำถามว่า เรื่องนี้มองว่าเกิดจากภัยพิบัติดินถล่ม หรือข้อผิดพลาดจากคน ส่วนตัวอยากให้รอผลการสอบสวน จากหน่วยงานที่รับผิดชอบ แต่ขอฝากว่าการทำงาน ถ้าไม่ลืมจะลืมตำรา และทำตามมาตรฐาน การรองรับความเสี่ยงบนโลกใบนี้ขุดเจาะอุโมงค์ผ่านชั้นดินชั้นหินได้
ถ้าเรารู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง เรื่องนี้ต้องรอผลการสอบสวน เพราะในการทำอุโมงค์เจาะกันได้ทั่วโลก
สำหรับโครงการงานก่อสร้างสัญญาที่ 3-2 ระยะเวลาสัญญา 1,080 วัน เดิมสัญญาสิ้นสุด 3 เม.ย.2567 แต่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการรถไฟ เมื่อวันที่ 25 มี.ค.ที่ผ่านมา ในการขยายเวลาก่อสร้างออกไปอีก 431 วัน รวมระยะเวลาก่อสร้างเป็น 1,511 วัน
เนื่องจากการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้ผู้รับจ้างล่าช้าในส่วนของอุโมงค์คลองไผ่ บริเวณลำตะคอง ทำให้มีการขยายสัญญาก่อสร้าง ไปสิ้นสุดวันที่ 7 มิ.ย.2568 โดยงานก่อสร้าง ณ วันที่ 25 ก.ค.นี้ มีความคืบหน้าที่ 74.06%
อ่านข่าวอื่นๆ
กู้ภัยเล่าภารกิจวางแผนช่วย 3 ชีวิตติดอุโมงค์ถล่ม จนถึงวันกู้ร่าง