เทือกเขากมลา ร่องน้ำขนาดใหญ่ จากยอดเขาเทือกเขากมลา ลงไปถึงลำธารด้านล่าง และเห็นก้อนหินขนาดใหญ่ เศษซากต้นไม้ที่ล้มระเนระนาด นี่คือร่องน้ำใหม่ที่เกิดขึ้น จากเห็นการณ์ดินถล่ม เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา
ร่องน้ำใหม่ เกิดขึ้นบนเทือกเขากมลา มากกว่า 4 จุด หลังเกิดเหตุดินถล่ม และยังปรากฎการกัดเซาะหน้าดิน เป็นจุดเล็กๆกระจายอยู่บนเทือกเขาแห่งนี้อีกจำนวนมาก ที่น่าสนใจคือ มีดินสไลด์เกิดขึ้นบริเวณถนนที่ตัดขึ้นไปยังพื้นที่ด้านบน หลายจุด
อ่านข่าว กรมธรณีรับอุปกรณ์พัง เตือน “เขานาคเกิด” ภูเก็ตเสี่ยงดินถล่มซ้ำ

ร่องรอยดินไหลและร่องน้ำหลังดินถล่มที่จ.ภูเก็ต
ร่องรอยดินไหลและร่องน้ำหลังดินถล่มที่จ.ภูเก็ต
ฝนที่ตกลงมา ไหลไปตามถนน และกัดเซาะหน้าดินจนเป็นร่องลึกลงไป บางจุดลึงมากกว่า 1 เมตร เป็นทางยาวไปถึงด้านล่าง กลายเป็นร่องน้ำใหม่ ชาวบ้านในพื้นที่บอกว่า ขนาดของร่องน้ำ ขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกครั้งที่ฝนตกหนัก และพัดนำดินทรายลงไปด้านล่าง นี่คือสัญญาณของดินถล่ม
สวดมนต์ว่าอย่าให้ฝนตกซ้ำในตอนกลางคืน
แม้จะดูเป็นคำพูดติดตลก แต่การขอพรจากสิ่งศักสิทธิ์ ไม่ให้ฝนตกหนัก ก็สะท้อนให้เห็นว่า ชาวบ้านไม่มีที่พึ่งอื่น นอกจากพึ่งพาทางใจ ชายคนนี้มีบ้านติดตีนเขาเทือกกมลา และเป็นหลังแรกที่อยู่ติดภูเขา

ทิวา ขุนทอง ชาวบ้านชุมชนในโบสถ์ ต.กมลา อ.กระทู้ จ.ภูเก็ต
ทิวา ขุนทอง ชาวบ้านชุมชนในโบสถ์ ต.กมลา อ.กระทู้ จ.ภูเก็ต
ทิวา ขุนทอง ชาวบ้านชุมชนในโบสถ์ ต.กมลา อ.กระทู้ จ.ภูเก็ต บอกว่า ชาวบ้านต้องช่วยเหลือตัวเอง เมื่อฝนตกหนักเกิน 1 ชั่วโมง เขาจะแจ้งไปยังผู้ใหญ่บ้าน เพื่อประเมินสถานการณ์ และหากพบว่าน้ำเริ่มเปลี่ยนสี จากน้ำใส เป็นสีแดงโคลน
ผู้นำชุมชนจะเริ่มให้ชาวบ้านเตรียมอพยพ เพราะนั่นคือสัญญาณของน้ำป่า แต่หลายครั้งน้ำมาเร็ว จนหนีไม่ทัน ทำให้ทรัพย์สินเสียหาย น่าสนใจว่าพื้นที่เสี่ยงภัยที่อาจสร้างความเสียหายขนาดนี้ สวนทางกับระบบเตือนภัยที่เหมาะสม สมควรจะมีในพื้นที่
สมัยก่อนมีการตั้งหอเตือนภัยสึนามิ ถ้ามีแผ่นดินไหวจะเตือนเสียงดัง แต่เรื่องดินถล่มไม่มี แต่ระดับน้ำจะรู้เมื่อกรมอุตุนิยมวิทยาแจ้งมา
อ่านข่าว "ป่าไม้" แจ้งข้อหาวัดดัง "พระใหญ่ภูเก็ต" รุกป่าเขานาคเกิด

สภาพทางธรณีวิทยาของภูเขาแห่งนี้ เป็นเขาหินแกรนิต ชนิดเดียวกันกับเทือกเขานาคเกิดใน ต.กะรน ซึ่งเกิดเหตุดินถล่มเมื่อ สัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้พื้นที่ ต.กมลา ถูกประเมินจากนักวิชากานด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เมื่อ 5 ปีที่ผ่านมาว่าเป็นจุดเสี่ยงสีแดง หรือเสี่ยงสูงสุดที่จะเกิดดินถล่ม
ภาพแผนที่ แผนที่ประเมินความเสี่ยงดินถล่มใน จ.ภูเก็ต มีพื้นที่เสี่ยงกระจายทั่วทั้ง 3 อำเภอ ครอบคลุมกะตะน้อย กะตะ กะรน ป่าตอง และกมลา แบ่งเป็นร้อยละ 15 ของพื้นที่ทั้งหมด มีทั้งเสี่ยงปานกลาง จนถึงเสี่ยงสูง โดยวิเคราะห์จากปริมาณน้ำฝน ความลาดชันของพื้นที่ และสิ่งปกคลุมดิน หรือสิ่งปลูกสร้างบนที่ลาดชัน ที่เป็นตัวกระตุ้นหลัก

พื้นที่เสี่ยงดินถล่มใน จ.ภูเก็ต
พื้นที่เสี่ยงดินถล่มใน จ.ภูเก็ต
ส่วนจุดสีดำ คือเป็นพื้นที่เคยเกิดดินถล่มไปแล้ว ภายใน 2 ปีมีมากกว่า 80 จุด และพบว่าอยู่ในระดับเสี่ยงสีแดง การเก็บข้อมูล สิ่งปลูกสร้างตั้งแต่ปี 2561 เปรียบเทียบกับปี 2566 พบว่า มีสิ่งปลูกสร้างเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงขึ้นตามไปด้วย ส่วนหนึ่งเกิดจากการปรับปรุงกฎหมาย ที่เปิดช่องทางให้สามารถทำได้
อ่านข่าว
รอน้ำเหนือ เตรียมผันน้ำเข้าทุ่งเจ้าพระยา 4 แสนไร่หลัง 15 ก.ย.
ผงะ! เครื่องเตือนดินถล่มเขานาคเกิดปลวกกิน เหตุไม่แจ้งเตือน