ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ข้อสังเกต "ร่องน้ำบนเขา-ก่อสร้างตีนเขา" เหตุดินสไลด์ภูเก็ต

ภัยพิบัติ
24 ส.ค. 67
15:53
9,457
Logo Thai PBS
ข้อสังเกต "ร่องน้ำบนเขา-ก่อสร้างตีนเขา" เหตุดินสไลด์ภูเก็ต
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ผู้เชี่ยวชาญด้านปฎพีและฐานราก ม.เกษตรศาสตร์ ตั้งข้อสังเกต "หินแกรนิต" จำนวนมากอาจเป็นสาเหตุดินสไลด์ภูเก็ต พบความถี่เกิดดินถล่มมากที่สุดในไทย ยังไม่ตัดประเด็นยอดเขามีสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ อาจเป็นเหตุน้ำไหลจากภูเขากัดเซาะรากดินเป็นร่องจำนวนมาก

วันนี้ (24 ส.ค.2567) รองศาสตราจารย์ สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านปฎพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งข้อสังเกต เหตุดินสไลด์ที่ จ.ภูเก็ต อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงร่องน้ำบนภูเขา หรือ ตีนเขาถูกรบกวนจากการก่อสร้างมากเกินไป และได้อธิบายลักษณะธรณีวิทยาของ จ.ภูเก็ต ว่าจะมี "หินแกรนิต" จำนวนมาก และหินชนิดนี้ยังมีความถี่เกิดดินถล่มมากสุดในประเทศไทย เช่น เขาพนมเบญจา จ.กระบี่ เขานพพิตำ จ.นครศรีธรรมราช จะเป็นมวลหินผสมดินขนาดใหญ่ลงมา ทำให้พลังการทำลายล้างสูง

นอกจากนี้จะเห็นว่าหลายพื้นที่ใน จ.ภูเก็ต มีการตัดดินตีนเขาไปสร้างบ้านหรู หรือ โรงแรมจำนวนมาก ทั้งที่ภูเก็ตมีกฎหมายสิ่งแวดล้อม ขึ้นไปจากระดับน้ำทะปานกลาง เกิน 40 เมตร ขึ้นไปจะจำกัดการก่อสร้าง และเลย 80 เมตรขึ้นไปก่อสร้างไม่ได้เลย

เพราะต้องการรักษาสภาพแวดล้อมภูเขา ผู้เชี่ยวชาญย้ำว่าเป็นสิ่งที่จะต้องทบทวนเหมือนกัน ถ้าต่ำว่า 40 เมตรลงมาอนุญาตให้ก่อสร้างได้ จึงเป็นในข้อสงสัยว่าการพังลงมาของดินเกิดจากการไปทำการก่อสร้างรบกวนตีนเขาหรือไม่ แต่ก็ต้องตรวจสอบรายละเอียดอีกครั้ง

นอกจากนี้ยังไม่ตัดประเด็น บนยอดเขา เพราะจะพบว่ามีพระพุทธรูปขนาดใหญ่อยู่ข้างบนคล้ายกับวัด มีถนนอาจคล้ายกับหลายพื้นที่ เช่น ป่าตอง หรือ บนดอยสูง ด้านบนมีการก่อสร้างมีการระบายน้ำ น้ำไหลตามถนนด้านบนแล้วมาปล่อยออกที่ใดที่หนึ่ง ป่าตองเคยเกิดเหตุแบบนี้มาแล้วเช่นเดียวกัน

น้ำที่ไหลลงมาจากภูเขา มันมากัดเซาะ ทำให้กระตุ้นรากดินไหลลงมาเป็นทางยาว

จะเป็นกรณีป่าตอง หรือ บ่อเกลือ จ.น่าน สไลด์ภูเขา เกาะช้างมีลักษณะแบบเดียวกัน มีการไปเปลี่ยนแปลง รวมน้ำให้ลงมาตามสโลป ลาดชัน มีร่องน้ำเยอะ ๆ ทำให้ฝนตกลงมา ต้องไปสำรวจให้ชัดเจนจริงๆแล้วว่าพังจากน้ำจากข้างบนไหลลงมา หรือ จากข้างล่างมีการเปลี่ยนแปลง 

เมื่อถามว่าชาวบ้านยังอาศัยอยู่ที่เดิมได้หรือไม่ หากเปรียบเทียบกับ บ่อเกลือ จ.น่าน ต้องย้ายทั้งหมู่บ้าน หลังจากนี้เป็นประเด็นสำคัญ ตามหลักการสร้างอาคารให้ปลอดภัยไม่ควรอยู่ตีนเขาหลายประเทศ เช่น "ฮ่องกง" จะมีระยะการก่อสร้างชัดเจนว่าสร้างได้หรือไม่ เพื่อควบคุมการก่อสร้างอาคารบริเวณพื้นที่ภูเขาเพื่อลดความเสี่ยง ส่วน "ญี่ปุ่น" มีกฎหมายป้องกันการพิบัติพื้นที่ลาดชัน เพื่อให้มีหน่วยงานรับผิดชอบความปลอดภัยอย่างจริงจัง แต่สำหรับไทยยังไม่มี

อ่านข่าวเพิ่ม : 

ทางหลวงชนบทส่ง จนท.ช่วยเหลือ "น้ำท่วมแพร่-ดินสไลด์ภูเก็ต"

3 แบงก์รัฐออกมาตรการบรรเทา "ภาระหนี้" จากผู้ประสบภัยน้ำท่วม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง