เปรียบเทียบนโยบาย "แจกเงิน" ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจ
21 ส.ค. 67
20:50
1,348
Logo Thai PBS
เปรียบเทียบนโยบาย "แจกเงิน" ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

ข่าวล่าสุดจากพรรคเพื่อไทย ระบุว่า โครงการดิจิทัลวอลเล็ต จะปรับไปสู่การจ่ายเงินสด ให้แก่กลุ่มเปราะบาง ก่อน โดยกลุ่มอื่นจะได้รับการพิจารณาในลำดับถัดไป แบบนี้ มันจะส่งผลต่อเศรษฐกิจแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร 

อย่างไรก็ตาม ตราบใดที่ยังไม่ได้ประกาศนโยบายรัฐบาลออกมาก็ยัง อาจจะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบไปได้ทุกขณะ แต่หากเป็นการจ่ายเงินสดจริง ๆ แก่กลุ่มเปราะบาง ก็ถือว่ายิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว เพราะเสียงคัดค้านจากนักเศรษฐศาสตร์ และฝ่ายค้าน จะลดลง ขณะที่เสียงชื่นชมจากฐานรากจะมากขึ้น

ชาวจังหวัดนราธิวาส

ชาวจังหวัดนราธิวาส

ชาวจังหวัดนราธิวาส

ชาวจังหวัดนราธิวาส ระบุ ว่า เงินสดจะทำให้เศรษฐกิจกระจายการจับจ่าย ไม่กระจุกแต่ผมคิดว่า เงินดิจิตอล ก็นายทุน เป็นเจ้าสัว ธุรกิจที่ใหญ่ๆ เพราะบางทีร้านเล็กโชว์ห่วยในหมู่บ้าน ไม่มีที่สแกน ไม่มีเทคโนโลยี ไม่ตอบโจทย์ชาวบ้านรากหญ้า  

ชาวจังหวัดเชียงใหม่

ชาวจังหวัดเชียงใหม่

ชาวจังหวัดเชียงใหม่

ขณะที่ ชาวอำเภอสันทราย จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า จำกัดให้ใช้แค่เฉพาะภายในอำเภอ แต่ว่าของที่มันจำเป็นต้องใช้ต้องกินต้องใช้บางอย่างอยู่นอกอำเภอ อย่างไปตลาดเมืองใหม่ ไม่สามารถไปซื้อได้ เพราะว่ามันจำกัดแค่ในอำเภอในตัวอำเภอก็มีไม่เท่าไหร่ มีแต่ว่ามีอย่างละเล็กละน้อยเลือกไม่ได้

หากฟังเสียงประชาชนหนีไม่พ้นคนส่วนใหญ่จะชอบเงินสดมากกว่า แบบนี้แล้วทำไมรัฐบาลไม่เลือกที่แจกเป็นเงินสดตั้งแต่แรกไปเสียเลย

แตาหากเปรียบเทียบมาตรการแจกเงินในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ และผลของเศรษฐกิจก็จะเห็นได้ว่าแต่ละมาตรการต่างมีผลดีผลเสียที่แตกต่างกันออกไป เข้าใจว่าแต่ละพรรคการเมืองก็จะมองเห็นต่างกัน

ย้อนกลับไปเมื่อครั้ง "วิกฤตต้มยำกุ้ง" เคยมีโครงการ "มิยาซาวาแพลน" วงเงิน 53,000 ล้านบาท โดยทำให้เกิดการจ้างงานประชาชนในท้องถิ่น เช่น ขุดลอกคูคลอง ดายหญ้า ผลที่ได้ คือ ประชาชนชนำเงินไปใช้ได้ไม่มีเงื่อนไข เม็ดเงินลงสู่เศรษฐกิจฐานราก เกิดประโยชน์ต่อชุมชน แต่ผลเสีย คือ การได้เงินสดใช้จ่ายหมดไปรวดเร็ว โดยไม่ได้เกิดการพัฒนาต่อยอด ใด ๆ

ต่อมาเมื่อเกิด "วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์" รัฐบาลเคยใช้โครงการ "เช็คช่วยชาติ" วงเงิน 20,000 ลบ. แจกเช็คผู้มีรายได้ต่ำกว่าเดือนละ 15,000 บาท จำนวน 2,000 บาท/คน จำนวน 9.7 ล้านคน นำไปใช้อะไรก็ได้ ผลที่ได้คือ บรรเทาภาระค่าใช้จ่าย แต่ผลเสียการใช้จ่ายหมดไปรวดเร็ว ไม่ก่อให้เกิดกิจกรรมเศรษฐกิจต่อเนื่อง

ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า การจ่ายเงินสดในแบบเดิม มีข้อเสียตรงที่ในภาวะหนี้ครัวเรือนสูงคนก็อาจจะเอาไปใช้หนี้หมด หรือ เงินไหลออกไปจากระบบไปสู่เศรษฐกิจนอกระบบ เป็นต้น

จนเข้าสู่ยุค "วิกฤตโควิด-19" รัฐบาลมีโครงการ คนละครึ่ง 192,500 ล้านบาท ภาครัฐร่วมจ่ายร้อยละ 50 ไม่เกิน 150 บาท/คน/วัน

ผลดีคือ บรรเทาภาระค่าใช้จ่ายรายวัน เม็ดเงินกระจายสู่ร้านค้ารายย่อย เกิดกิจกรรมเศรษฐกิจต่อเนื่อง วิธีนี้มีงานวิจัยบอกว่า สร้างตัวทวีคูณในระบบเศรษฐกิจที่สูงกว่าโครงการอื่น ๆ

ต่อมาถึงยุค รัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน ได้เคาะหลักการดิจิทัลวอลเล็ต วงเงิน 450,000 ล้านบาท รัฐเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เพื่อใช้ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคตามเงื่อนไข แม้เงินกระจายสู่ร้านค้าแต่มีเงื่อนไขค่อนข้างมากทั้งจำกัดพื้นที่ และจ่ายเงินร้านค้าตามวงรอบ

ข้อดี คือ เกิดกิจกรรมหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ประชาชนมีโอกาสเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีและทักษะด้านดิจิทัล แต่ก็สร้างยุ่งยากให้ผู้ที่ไม่สะดวกพอสมควร 

หากมาถึงจุดเปลี่ยน "รัฐบาลแพทองธาร" รัฐบาลเติมเงินสด 10,000 บาทผ่านบัตรสวัสดิการรัฐ 14 ล้านคน เพื่อใช้ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคตามเงื่อนไข ข้อดีเงินกระจายสู่เศรษฐกิจฐานราก ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางตรงจุด และไม่สุ่มเสี่ยงที่จะผิดกฎหมาย

แต่ผลในแง่ของพายุหมุนเศรษฐกิจก็อาจจไม่ได้เป็นดั่งที่หวังไว้ในยามแรก ที่สำคัญอาจจะต้องตอบคำถามกับฐานเสียง ที่เลือกมาในคราวแรกว่าที่เคยสัญญาไว้จะลดสเกลลงเรื่อย ๆ แบบนี้

ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ฝ่ายค้าน ที่เคยออกมาแสดงความเป็นห่วงโครงการนี้ เขามีสุ่มเสี่ยงต่างออกไปอย่างไรบ้าง 

 อ่านข่าว : "ภูมิธรรม"ยันแจกต่อ "ดิจิทัลวอลเล็ต" เล็งปรับแผนจ่ายเงินหมื่น 

 พายุหมุนเศรษฐกิจ ? เกมชิงส่วนแบ่งเม็ดเงิน "ดิจิทัลวอลเล็ต" 

"เพื่อไทย" มั่นใจเงินดิจิทัล 1 หมื่นช่วย ปชช.-ฟื้นเศรษฐกิจ 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง