ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ย้อนไทม์ไลน์ 2 ปี “ไทยพีบีเอส” ล่า “ปลาหมอคางดำ”

สิ่งแวดล้อม
27 ก.ค. 67
00:59
1,369
Logo Thai PBS
ย้อนไทม์ไลน์ 2 ปี “ไทยพีบีเอส” ล่า “ปลาหมอคางดำ”
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
“ไทยพีบีเอส” เกาะติดสถานการณ์การแพร่ระบาดของ “ปลาหมอคางดำ” มาตั้งแต่การแพร่ระบาดเมื่อปี 2565 โดย สำนักเครือข่ายและการมีส่วนร่วมสาธารณะ และสำนักข่าว

นำปักหมุด ติดตามปัญหา “ปลาหมอคางดำ”

ย้อนกลับในปี 2565 จากความร่วมมือระหว่าง “สำนักเครือข่ายและการมีส่วนร่วมสาธารณะ ไทยพีบีเอส” จัดแคมเปญปักหมุดการพบปลาต่างถิ่นผ่านแอปพลิเคชัน C-Site กับเครือข่ายนักวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ที่พบเห็นสัญญาณการกลับมาระบาดอีกครั้งของ “ปลาหมอสีคางดำ” (ชื่อเรียกที่ใช้กันในตอนนั้น) ในพื้นที่ 3 สมุทร (สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สมุทรปราการ) และบางจุดของอ่าวตัว ก. และพื้นที่ทางภาคตะวันออก

สำรวจการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำ

“ไทยพีบีเอส” ได้ชักชวนนักนิยมธรรมชาติ นักตกปลา เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำ รวมถึงสภาเกษตรกรในพื้นที่ข้างต้น ร่วมกันปักหมุดสำรวจ รายงานสถานการณ์ และการจัดการที่ทำอยู่ในพื้นที่ จากหมุดไม่ถึง 10 จนถึงหมุดกว่า 100 ในวันนี้

ทำให้ทีมงานและเครือข่ายข้อมูลเบื้องต้น เห็นพื้นที่และแบบแผนในการทำงานร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่

เปิดประเด็นในรายการ “คุณเล่าเราขยาย”

นอกจากการรายงานข่าวสารอยู่เป็นระยะผ่าน “รายการคุณเล่าเราขยาย” ในเดือนกันยายน 2566 ยังอาศัยวันแม่น้ำสากล จัดกิจกรรมสำรวจแม่น้ำใกล้บ้าน Home River Bioblitz หรือที่รู้จักในชื่อ “ชีววิทยาตะลุมบอน” เพื่อสำรวจ “ปลาหมอคางดำ”

และทำข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพรวมกับเยาวชน และผู้นำท้องถิ่น แล้วคืนข้อมูลให้กับชุมชนและทำวงเสวนาสาธารณะเพื่อหากลไกการจัดการใน พื้นที่ระบาดแห่งแรกของประเทศไทย

ล้อมวงคุยในรายการ “ฟังเสียงประเทศไทย”

จากความกังวลในพื้นที่เล็ก ๆ ไม่กี่แห่งบริเวณอ่าวตัว ก. เริ่มขยายขอบเขตเป็นเสียงที่ดังขึ้น กระบวนการปรึกษาหารือโดยไตร่ตรองด้วยข้อมูลและความรู้ อย่าง “รายการฟังเสียงประเทศไทย” ตอน ภัยคุกคาม “ปลาหมอคางดำ” ซึ่งจัดขึ้น เมื่อวันที่ 30 พ.ย.2566 เวลา 09.00-12.00 น. ณ วัดศรีสุทธาราม (วัดกำพร้า) จ.สมุทรสาคร

โดยมีประชาชน ตัวแทนชาวประมงในพื้นที่ประสบปัญหา และตัวแทนเกษตรกรกลุ่มเพาะเลี้ยง 3 จังหวัด คือ จ.สมุทรสาคร จ.สมุทรสงคราม และ จ.จันทบุรี เข้าร่วม

นับจากตอนนั้นจนถึงเวลานี้ สำนักเครือข่ายและการมีส่วนร่วมสาธารณะ โดยกลุ่มงานโลคอล C-Site นักข่าวพลเมือง CJA และห้องทดลองปัญญารวมหมู่ ยังคงชวนเครือข่ายในพื้นที่ระบาด เฝ้าระวังการแพร่ระบาด ร่วมติดตาม รายงานสถานการณ์ และหาทางออกจากความรู้และความร่วมมือในท้องถิ่นในสถานการณ์เฉพาะหน้า

รวมถึงขยายความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา นักนิยมธรรมชาติ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สกสว. มาหาทางออกอย่างเป็นระบบในระยะยาว โดยความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อหาทางออกที่เป็นระบบ ยกระดับประเด็นไปยังชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานต่าง ๆ และหาเครื่องมือกลไกในการเฝ้าระวัง รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ

เนื้อหาบนเว็บไซต์ thecitizen ของสำนักเครือข่ายฯ

ปลาหมอคางดำ สัตว์น้ำต่างถิ่น ตอนนี้อยู่ที่ไหน ?
บทสนทนาว่าด้วยเรื่อง ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานและแนวทางการรับมือ กับ นณณ์ ผาณิตวงศ์
ชีวะตะลุมบอน สำรวจนิเวศ ตามหาสัตว์ต่างถิ่นรุกราน ที่บางสะแก สมุทรสงคราม
ไปต่อ! กับแผนจัดการปลาหมอคางดำ จนถึงชนิดพันธุ์ต่างถิ่นอื่นในไทย

“สำนักข่าว” นำเสนอบนออนไลน์ Thai PBS news

สำนักข่าว โดย ไทยพีบีเอสออนไลน์ ได้นำเสนอข่าวการแพร่ระบาดของ "ปลาหมอคางดำ" มาตั้งแต่ปี 2560

19 มิ.ย.2560

ปลาหมอสีระบาดหนัก กินกุ้ง-ปลายกบ่อ

26 มิ.ย.2560

ปลาหมอสีระบาดกินกุ้งยกบ่อใน จ.สมุทรสงคราม พบคนเลี้ยงเบื่อแอบปล่อยสู่แหล่งธรรมชาติ

6 ก.ค.2560

ชาวบ้านเร่งกำจัดปลาหมอสีคางดำ "เอเลียนสปีชีส์" หลังทำลายระบบนิเวศ

7 ก.ค.2560

นักวิชาการแนะเพิ่มมูลค่ารับซื้อ "ปลาหมอสีคางดำ" นำไปกำจัดด้วยการทำเป็นอาหารสัตว์

9 ก.ค.2560

ชาวบ้านในพื้นที่ 3 จังหวัดเรียกร้องเร่งกำจัด "ปลาหมอสีคางดำ" อย่างเร่งด่วน

11 ก.ค.2560

พบปลาหมอสีคางดำที่แพร่ระบาดหนัก ถูกนำเข้าเพื่อปรับปรุงสายพันธุ์

กระทั่งกลางปี 2567 การแพร่ระบาดมีมากขึ้น จนเกิดความเคลื่อนไหวในโลกออนไลน์ สำนักข่าว ไทยพีบีเอส จึงได้เริ่มนำเสนอข่าวบนเว็บไซต์ ThaiPBSnews หลังจากสำนักงานประมงจังหวัดสงขลา ประกาศจับปลาหมอคางดำ ที่แพร่ระบาดในพื้นที่

3 ก.ค.2567
ประกาศจับ “ปลาหมอสีคางดำ” เอเลี่ยนสปีชีส์ทำลายระบบนิเวศ

พร้อมทั้งนำเสนอข้อมูลเบื้องต้นสู่สาธารณะ ว่า “ปลาหมอคางดำ” มาจากที่ใด
4 ก.ค.2567
รู้หรือไม่ “ปลาหมอสีคางดำ” เข้ามาระบาดในไทยได้ยังไง

ต่อมาค้นเอกสารพบว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เคยได้รับการร้องเรียนเรื่องนี้จากชาวบ้าน ใน จ.สมุทรสงคราม และเพชรบุรี พร้อมทั้งมีผลการสอบสวนออกมา เมื่อปี 2561

5 ก.ค.2567
เปิดเอกสาร “กรรมการสิทธิฯ” หลังถูกร้อง “ปลาหมอสีคางดำ” ระบาด "สมุทรสาคร-เพชรบุรี"

หลังจากนั้น ไทยพีบีเอส โดย สำนักข่าว ได้ติดตามสถานการณ์ การขับเคลื่อนของภาคส่วนต่าง ๆ ความเคลื่อนไหว เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม แก้ปัญหาการแพร่ระบาดของ “ปลาหมอคางดำ”

ด้วยการนำเสนอข่าวสาร ข้อมูล ทั้งสถานการณ์และข้อมูลเชิงลึก ในทุกแพลตฟอร์ม ทั้ง On Air และ OnLine ตั้งแต่วันที่ 10 ก.ค.2567 เป็นต้นมา เช่น เนื้อหาบนเว็บไซต์ www.thaipbs.or.th/news ที่ถูกนำเสนอไปบนโซเชียลมีเดีย

ทั้งยังรวบรวมเนื้อหาไว้ในคอลัมน์ “ไทยพีบีเอสโฟกัส” “ไทยพีบีเอสโฟกัส” ในชื่อ “หยุดระบาดปลาหมอคางดำ”

นอกจากนี้ยังนำเสนอบน On Air ในรายการข่าวทุกช่วงข่าว อาทิ วันใหม่ไทยพีบีเอส จับตาสถานการณ์ ข่าวค่ำ รวมถึงรายการ The EXIT ซึ่งเป็นรายการข่าวสืบสวนสอบสวน https://www.facebook.com/TheEXITThaiPBS

เนื้อหาที่นำเสนอบนเว็บไซต์

ไขปริศนา! ทำไมต้องใช้ "ปลากะพงขาว" จัดการ "ปลาหมอคางดำ"

11 ก.ค.2567
รง.ปลาป่นสมุทรสาคร รับซื้อ "ปลาหมอคางดำ" ลดปัญหาล้นตลาด

12 ก.ค.2567
เปิดรายงานฉบับเต็ม "คณะกรรมการสิทธิฯ" ใครทำ "ปลาหมอคางดำ" ระบาด?
เปิดรายงานฉบับเต็ม "คณะกรรมการสิทธิฯ" ใครทำ "ปลาหมอคางดำ" ระบาด?

13 ก.ค.2567
กทม.หาทางสกัด "ปลาหมอคางดำ" จ่อลงทะเบียนเยียวยาเกษตรกร

15 ก.ค.2567
ชาวบ้านนับร้อย แห่จับ "ปลาหมอคางดำ-ปลานิล" บึงมักกะสัน

เข้าใจใหม่! ปลากะพงขาวใช้กินลูก ไม่ได้กินปลาหมอคางดำตัวใหญ่

16 ก.ค.2567
แห่จับปลาหมอคางดำ บึงมักกะสันตลอดคืน – เปิดประตูระบายน้ำแล้ว

กรมประมง ยันไม่พบข้อมูลส่งตัวอย่างนำเข้า "ปลาหมอคางดำ"

"ชัชชาติ" คุมเองเก็บซากปลาเน่าพ้นบึงมักกะสัน

เคาะค่าหัวปลาหมอคางดำโลละ 15 บาท ห้ามเพาะแลกเงินเยียวยา

"ซีพีเอฟ" แจงอนุ กมธ.ปมนำเข้า "ปลาหมอคางดำ"

เทียบรายงาน "บริษัทนำเข้า-กรมประมง" ปมปลาหมอคางดำ

17 ก.ค.2567
ปลาหมอคางดำระบาด 16 จังหวัด กรมประมง เปิด 6 มาตรการเร่งด่วน

18 ก.ค.2567
"ณัฐชา" แนะกำหนดไทม์ไลน์ให้ชัดแก้ "ปลาหมอคางดำ" ระบาด

พบ "ปลาหมอคางดำ" ปากอ่าวไทย จ.สมุทรปราการ

จ่อเรียก CPF แจงปมปลาหมอคางดำระบาด 25

"ปลาหมอคางดำ" ระบาดหนัก

19 ก.ค.2567

ดีเดย์ปล่อยปลากะพงล็อตแรก 9 หมื่นตัวปราบ "หมอคางดำ"

20 ก.ค.2567
ปลัดเกษตรฯให้เวลา 7 วัน สอบข้อเท็จจริง "ปลาหมอคางดำ" ระบาด

ปลาหมอบัตเตอร์ ปลาต่างถิ่นต้องห้าม ระบาดหนักในเขื่อนสิริกิติ์

22 ก.ค.2567
เปิดกระบวนการเลี้ยงปลา “ฟาร์มยี่สาร” สมุทรสงคราม

“ปลาหมอคางดำ” ใครพลาดอะไร ใครต้องรับผิดชอบ

วันที่ 23 ก.ค.2567
อนุ กมธ.ทวงหลักฐาน 9 ประเด็นร้อน "กรมประมง" ต้องพูดความจริงกรณี "ปลาหมอคางดำ"

รู้จัก “ศูนย์วิจัย CPF” ไม่มีบ่อปิด-ฝังกลบ “ซากปลา” ที่ไหน

กยท.ยันใช้ 50 ล้านซื้อ "ปลาหมอคางดำ" ไม่ขัด พ.ร.บ.การยางฯ

24 ก.ค.2567
วิกฤต “ปลาหมอคางดำ” (Blackchin Tilapia) รุกราน-ระบาดทั่วโลก

จ่อเรียก CPF แจงปมปลาหมอคางดำระบาด 25 ก.ค.

"บอร์ด กยท." ซื้อ "ปลาหมอคางดำ" 1,000 ตัน ทำ "น้ำหมักชีวภาพ"

กรมประมง โต้ยังไม่มีวิจัย "ไข่ปลาหมอคางดำ" ทนแล้ง 2 เดือน

25 ก.ค.2567
“ซีพีเอฟ” ไม่มาชี้แจง ! อนุ กมธ.ฯ "ปลาหมอคางดำ" ผู้บริหารระบุติดภารกิจ

"ณัฐชา" เสนอญัตติด่วนตั้ง กมธ.วิสามัญแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ

เปิดชื่อบอร์ด กยท.ทุ่มงบฯ ซื้อ “ปลาหมอคางดำ” ทำน้ำหมักชีวภาพ

"นาก" ไม่ใช่คำตอบปราบ "ปลาหมอคางดำ" ห่วงควบคุมยาก

"ปลาหมอคางดำ" จับจากน้ำเน่าเสี่ยงสารพิษ-เชื้อโรคในตัวปลา

อนุกมธ.เปิดเอกสารซีพีเอฟ ระบุชื่อ 2 ขรก.รับซาก "ปลาหมอคางดำ" ปี 2551

26 ก.ค.2567
จ่อฟ้องแพ่งค่าเสียหายคดี สวล."ปลาหมอคางดำ"

หลักฐานใหม่ DNA "ปลาหมอคางดำ" ระบาด "ไบโอไทย" อ้างมีแหล่งที่มาร่วมกัน

"ธรรมนัส" ยังไม่ฟันธงเอาผิดเอกชน ปมปลาหมอคางดำระบาด

“ซีพีเอฟ” ยื่นเอกสารให้ อนุ กมธ. ยืนยันส่ง “ซาก” ปลาหมอคางดำให้กรมประมงแล้ว

ชุมพรลงแขกจับ "ปลาหมอคางดำ" ระบาดหนัก 3 อำเภอ

นักวิชาการแม่โจ้แนะเร่งกำจัด “ปลาหมอคางดำ” ก่อนปลาไทยสูญพันธุ์

27 ก.ค.2567

ปลาหมอคางดำระบาด กระทบปลาพื้นถิ่นหายากสะท้อนระบบนิเวศพัง

30 ก.ค.2567

“ณัฐชา” จ่อดึง “ไบโอไทย” ร่วมอนุ กมธ.หาความจริง “ปลาหมอคางดำ”

ของบ 450 ล้านบาท กษ.อ้าง 7 มาตรการแก้ "ปลาหมอคางดำ"

"อธิบดีกรมประมง" เลื่อนส่งผลสอบ “ปลาหมอคางดำ” ให้ปลัดฯ เกษตร 1 ส.ค.

"ศรีสุวรรณ" ฟ้องเอาผิด"อธิบดีกรมประมง-รมว.เกษตรฯ" ปม "ปลาหมอคางดำ"

31 ก.ค.2567

อ.เจษฎ์ชี้ "มันเป็นปลาหมอคางดำที่อ้วน" ไม่ใช่ "ปลานิลกลายพันธุ์"

"สภาทนายความ" ฟ้องเอกชน-กรมประมง ทำ "ปลาหมอคางดำ" ระบาด

“ซีพีเอฟ” แถลงพบภาพเท็จ-ข้อความเท็จ กรณี “ปลาหมอคางดำ”

8 ส.ค.2567

กมธ.เรียก "กรมประมง-11 บริษัท" ส่งออก "ปลาหมอคางดำ" แจง

 

คลิปรายงานข่าวจาก The EXIT

คลิปรายงานข่าวจาก The EXIT

12 ก.ค.2567
ไปแกะรอยเส้นทางนำเข้าปลาหมอคางดำ ผ่านรายงานฉบับเต็ม กสม.

15 ก.ค.2567
ย้อนกลับไปที่ต้นทาง เพื่อตรวจสอบที่มาของ "ปลาหมอคางดำ" ว่ามาจากไหน ?

16 ก.ค.2567
เทียบข้อมูลการนำเข้า พื้นที่ที่พบการหลุดรอดของปลาหมอคางดำ

17 ก.ค.2567
ข้อมูลที่ไม่ตรงกัน ระหว่าง "กรมประมง" และบริษัท "CPF"

18 ก.ค.2567
เปิดรายงานโครงสร้างพันธุกรรม หรือ DNA ปลาหมอคางดำ
เปิดรายงานโครงสร้างพันธุกรรม หรือ DNA ปลาหมอคางดำ

19 ก.ค.2567
ย้อนภาพถ่ายดาวเทียม หาต้นตอ การระบาดของ "ปลาหมอคางดำ"

23 ก.ค.2567
แกะรอยตัวอย่าง “พันธุกรรม” ปลาหมอคางดำ

ข่าวในช่วงต่าง ๆ ทาง ThaiPBS ช่องหมายเลข 3

ติดตามได้ทาง
https://www.youtube.com/channel/UCOFvLl4bKwCIZg0r4EBQLug และ www.thaipbs.or.th/news/archive

12 ก.ค.2567
14 ปี 14 จังหวัด ยังเหลือโอกาสกำจัดปลาหมอคางดำ?

เร่งตรวจ DNA "ปลาหมอคางดำ" หลังสาวไม่ถึงต้นตอนำเข้า

16 ก.ค.2567
นักวิชาการระบุ "ปลาหมอคางดำ" เกินกว่าจะควบคุม

18 ก.ค.2567
“ปลาหมอคางดำ” พรึ่บปากอ่าวไทย จ.สมุทรปราการ ผ่าเจอ “เคย” เต็มท้อง

เปิดรายงานเก่ากรมประมง พิสูจน์ที่มา "ปลาหมอคางดำ"

ปลาหมอคางดำ แก้อย่างไร ให้อยู่หมัด

ฝ่าวิกฤต "ปลาหมอคางดำ" โผล่อ่าวไทย จับตา "วาระแห่งชาติ" ?

19 ก.ค.2567
เตรียมประกาศให้จับปลาหมอคางดำ ยกเว้น "เขตอภัยทาน"
แปรรูปปลาหมอคางดำเป็น "เคยปลา" จ.นครศรีธรรมราช

พิสูจน์ปล่อย "ปลากะพงขาว" ล่า "ปลาหมอคางดำ" ได้ผล?

ดีเดย์ ปล่อยปลากะพงขาว ล่าปลาหมอคางดำ

กรมประมง ย้ำ ! หาแนวทางเอาผิดต้นตอ

กรมประมงแจงปมปลาหมอคางดำ ย้ำหาแนวทางเอาผิดต้นตอ

20 ก.ค.2567
"ปลาหมอคางดำ" แพร่กระจายหลายประเทศ

จับ "ปลาหมอคางดำ" หารายได้เสริม

21 ก.ค.2567
ชาวประมง ร้องแพปลา กดราคารับซื้อ “ปลาหมอคางดำ”

สำรวจปลาหมอคางดำ อ.ระโนด จ.สงขลา

ห้ามเลี้ยงปลาหมอคางดำ ฝ่าฝืนจำคุก 2 ปี หรือปรับ 2 ล้านบาท

ชาวประมง ร้องแพปลา กดราคารับซื้อ “ปลาหมอคางดำ”

22 ก.ค.2567
สำรวจระบบเลี้ยง ฟาร์มวิจัยของ CPF จ.สมุทรสงคราม

ทุ่งสามร้อยยอด พบปลาหมอคางดำ

เยียวยาผลกระทบปลาหมอคางดำ

23 ก.ค.2567

กยท. ยัน ใช้งบฯ 50 ล้าน ซื้อปลาหมอคางดำ ไม่ขัด พ.ร.บ.การยางฯ

24 ก.ค.2567
เรียก "บ.ซีพีเอฟ" ส่งหลักฐานปลาหมอคางดำพรุ่งนี้ (25 ก.ค.67)

ปล่อย "ปลากะพงขาว" ล่าปลาหมอคางดำ จ.สมุทรสาคร

25 ก.ค.2567

ชาวประมงเรียกร้องล่า "ปลาหมอคางดำ" เขตอภัยทาน

แม่ค้า อ.ครบุรี ขอโทษ โพสต์ขายปลาหมอคางดำ

26 ก.ค.2567

“BIOTHAI” เปิดภาพบ่อเลี้ยงปลาหมอคางดำ ต.ยี่สาร จ.สมุทรสงคราม

ข้อสังเกตปลาหมอคางดำระบาด "ปากพนัง-หัวไทร"

ปลาหมอคางดำหายาก ชาวประมงสมุทรสาครล่าขายทุกวัน

"นาก" นักล่าใหม่ กำจัดปลาหมอคางดำ ?

เปรียบเทียบการขยายพันธุ์ ปลาหมอคางดำ-ปลาหมอมายัน

9 ส.ค.2567

เสนอใช้ไฟฟ้า กำจัดปลาหมอคางดำ

10 ส.ค.2567

ซีพีเอฟ นำสื่อมวลชนบางส่วนดูพื้นที่นำเข้าปลาหมอคางดำ

11 ส.ค.2567

ประมงสงขลาเตือน ห้ามเพาะเลี้ยงปลาหมอคางดำขาย

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง