ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

อัปเดต 2567 วงเงิน "ค่ารักษาพยาบาล" ที่ "ลูกจ้าง" ต้องรู้

สังคม
25 ก.ค. 67
12:43
5,954
Logo Thai PBS
อัปเดต 2567 วงเงิน "ค่ารักษาพยาบาล" ที่ "ลูกจ้าง" ต้องรู้
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เช็กเลยมีอะไรใหม่เพิ่มมาบ้าง กองทุนเงินทดแทน โดยสำนักงานประกันสังคม เพิ่มวงเงิน "ค่ารักษาพยาบาล" ที่ให้ "นายจ้าง" จ่าย "ลูกจ้าง" ทุกคน

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กองทุนเงินทดแทน ค่ารักษาพยาบาล เพิ่มวงเงินค่ารักษาพยาบาลเป็น 65,000 บาท จากเดิม 50,000 บาท หากบาดเจ็บรุนแรงหรือเรื้อรัง นายจ้างจ่ายเพิ่มขึ้นอีก แต่ไม่เกิน 100,000 บาท รวมจ่ายจริงไม่เกิน 165,000 บาท

  • หากไม่เพียงพอจ่ายเพิ่มได้อีก 300,000 บาท
  • หากไม่เพียงพอจ่ายเพิ่มได้อีก 500,000 บาท
  • หากไม่เพียงพอจ่ายรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 1,000,000 บาท

*** เว้นแต่ ลูกจ้างเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของรัฐตั้งแต่ เริ่มแรกจนสิ้นสุดการรักษาพยาบาลหรือกรณีมีความจำเป็นหรือมีเหตุสมควรที่ไม่สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐตั้งแต่เริ่มแรก แต่ภายหลังได้เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐสามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นจนสิ้นสุดการรักษาพยาบาล

อ่านข่าว : "ฟรีแลนซ์" รายได้ไม่แน่นอนแต่มีเงินออมเก็บเป็น "บำนาญ" ได้

ค่าทดแทนรายเดือน

ค่าทดแทน 70% ของค่าจ้างรายเดือน ไม่เกิน 14,000 บาทต่อเดือน (ค่าจ้างสูงสุด 20,000 บาท)

  • แพทย์ให้หยุดพักรักษาตัว ตั้งแต่วันแรก รวมไม่เกิน 1 ปี
  • สูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกายไม่เกิน 10 ปี
  • ทุพพลภาพตลอดชีวิต
  • ถึงแก่ความตายหรือสูญหาย 10 ปี และค่าทำศพ

ค่าทำศพ

จ่ายค่าทำศพแก่ผู้จัดการศพ 50,000 บาท (ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง)

อ่านข่าว : เคล็ดวิธีรับมือ เมื่อมนุษย์เงินเดือน "ถูกเลิกจ้าง-ตกงาน" กะทันหัน

ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน

กรณีฟื้นฟูสมรรถภาพ ในการทำงานภายหลังการประสบอันตรายสำหรับลูกจ้างที่จำเป็น ต้องได้รับการฟื้นฟู ได้รับตามอัตรา มีรายละเอียดดังนี้

  • ค่าใช้จ่ายในกระบวนการเวชศาสตร์ฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานด้านการแพทย์
    โดยเป็นค่าใช้จ่ายทางกายภาพบำบัดไม่เกินวันละ 200 บาท และค่าใช้จ่ายทางกิจกรรมบำบัด ไม่เกินวันละ 100 บาท รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 24,000 บาท
  • ค่าใช้จ่ายในกระบวนการบำบัดรักษาและการผ่าตัดเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานไม่เกิน 40,000 บาท หากมีความจำเป็นให้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกไม่เกิน 140,000 บาท แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 180,000 บาท โดยให้คณะกรรมการการแพทย์เป็นผู้มีอำนาจพิจารณา

อ่านข่าว : ต้องรู้! "ลูกจ้าง" มีสิทธิลาได้ 3 วันเพื่อกิจธุระอันจำเป็น

  • ค่าวัสดุและอุปกรณ์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู หน่วยละไม่เกินอัตราตามที่กระทรวงการคลังกำหนด โดยเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 160,000 บาท
  • ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานด้านอาชีพ ให้จ่ายได้เฉพาะที่เป็นการฝึกตามหลักสูตรที่หน่วยงานของสำนักงานประกันสังคมเป็นผู้ดำเนินการไม่เกิน 24,000 บาท

อ่านข่าว : "ละครทีวี" สุดหืด-สุดโหด การต่อสู้ท่ามกลางสมรภูมิ "สตรีมมิ่ง"

“ราคาทอง” ร่วงแรง 550 บาท “รูปพรรณ” ขายออก 39,916 บาท

"อุ๊งอิ๊ง" ดีด "เฉลิม" พ้นไลน์เพื่อไทย ไม่ยุ่งขอดีเบต "ทักษิณ"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง