รายงาน การค้นพบปลาหมอคางดำ สัตว์รุกรานทั่วโลก ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในประเทศไทยเท่านั้น
ดูจากแผนที่ : https://www.gbif.org/occurrence/map?has_coordinate=true
จากพื้นที่แหล่งถิ่นกำเนิดในแอฟริกาตะวันตก พื้นที่ชายฝั่ง และเมืองต่าง ๆ หลายประเทศในแถบนั้น ล้วนพบการแพร่พันธุ์ รุกราน มาตั้งแต่ปี ค.ศ.1950 หรือ กว่า 70 ปีก่อน เช่น กานา แคมเมอรูน กีนี และเซเนกัล
นอกจากนั้น ถัดมา การรุกรานขยายพันธุ์ จากการค้นของประชาชน ยังพบในแถบนั้นมากขึ้น เช่น ไลบีเรีย แกมเบีย เซียร์ราลีโอน
ถัดมาในราว ๆ ปี 1959 พบการแพร่พันธุ์ที่หลายเมือง ของแหลมฟลอริดา ทั้งที่ปากแม่น้ำ และทะเลสาบน้ำกร่อยริมชายฝั่ง คูคลอง และปากลำธาร ทำให้ปลาพื้นเมืองและปลาชนิดอื่น ๆ มีจำนวนลดลง
ฮาวาย ก็เป็นอีกที่ที่พบการระบาด ซึ่งชาวพื้นเมือง เรียกว่า “ปลานิลน้ำเค็ม” เนื่องจากสามารถอยู่รอดและขยายพันธุ์ได้ในน้ำทะเล โดยเฉพาะที่เกาะโออาฮูและเมาอิ
มาที่ฝั่งเอเชีย พบที่ฟิลิปปินส์ แต่ไม่มีบันทึกว่าปลานิลคางดำ หรือ ปลาหมอคางดำ ถูกนำเข้าสู่แหล่งน้ำของประเทศฟิลิปปินส์ได้อย่างไร แต่เชื่อกันว่าในช่วงต้นปี 2015 อาจมาจาก การค้าสัตว์น้ำ และหลุดรอดสู่ธรรมชาติ ในแหล่งน้ำใกล้ จ.บาตาน และบูลากัน
อ่าวมะนิลาเป็นพื้นที่หลักสำหรับการประมง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ในขณะที่การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในทะเล เป็นหนึ่งในแหล่งสำคัญของการดำรงชีวิตในฮาโกนอย บูลากัน การแนะนำพันธุ์สัตว์รุกรานจึงเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อการดำรงชีวิตและระบบนิเวศในฟิลิปปินส์
ส่วนทั้งที่แอฟริกา สหรัฐ ฟิลิปปินส์ และไทย ประเทศไหน พบการระบาด และผลกระทบมากที่สุด ผู้เชี่ยวชาญให้คำตอบว่า ประเทศไทย ที่อยู่ในขั้นวิกฤต
มีข้อสังเกตจากผู้เชี่ยวชาญ ถึงปัจจัยที่อาจทำให้การขยายพันธุ์รุกราน ถึง คือแพร่ระบาดของ ปลาหมอคางดำ เกิดขึ้นในแนวเขตภูมิภาคอากาศ และทะเลอบอุ่น ทั้งเหนือ-ใต้เส้นศูนย์สูตร ซึ่งมีทั้งความหลากหลายทางชีวภาพ แหล่งห่วงโซ่อาหาร และอุณหภูมิน้ำที่เหมาะสม
อ่านข่าว : กยท.ยันใช้ 50 ล้านซื้อ "ปลาหมอคางดำ" ไม่ขัด พ.ร.บ.การยางฯ
รู้จัก “ศูนย์วิจัย CPF” ไม่มีบ่อปิด-ฝังกลบ “ซากปลา” ที่ไหน
อนุ กมธ.ทวงหลักฐาน 9 ประเด็นร้อน "กรมประมง" ต้องพูดความจริงกรณี "ปลาหมอคางดำ"