- เข้าใจใหม่! ปลากะพงขาวใช้กินลูก ไม่ได้กินปลาหมอคางดำตัวใหญ่
- รู้หรือไม่ “ปลาหมอสีคางดำ” เข้ามาระบาดในไทยได้ยังไง
วันนี้ (18 ก.ค.2567) นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ สส.พรรคก้าวไกล ในฐานะรองคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาศึกษาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการนำเข้าปลาหมอคางดำ เพื่อการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ในราชอาณาจักรไทย ว่าในการติดตามข้อเท็จจริง มีผลสรุปที่ชัดเจนมากขึ้น
ทั้งนี้จากการติดตามเอกสารนำเข้าปลาชนิดนี้ นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง จะส่งสำเนามาให้คณะอนุกรรมาธการฯ ซึ่งวันที่ 23 ก.ค.นี้ เตรียมจะไปที่กรมประมงเพื่อ เพื่อดูห้องเก็บซากปลา และติดตามกระบวนการนำเข้าสัตว์จากต่างชาติมีมาตรการรัดกุมแค่ไหน
อ่านข่าว "ณัฐชา" แนะกำหนดไทม์ไลน์ให้ชัดแก้ "ปลาหมอคางดำ" ระบาด
ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ สส.พรรคก้าวไกล ในฐานะรองคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาศึกษาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหา
เรียก CPF แจงดีเอ็นเอปลา-ขอเก็บตัวอย่างดิน
ขณะเดียวกันข้อมูลเรื่องซากปลา ระหว่างภาคเอกชน กับของกรมประมงยังสวนทางกัน เอกชนยืนยันว่าได้ส่งซากปลามาให้กรมประมงแล้ว ในขณะที่กรมประมงบอกไม่ได้รับ ดังนั้นหากภาคเอกชนส่งแล้วจะต้องมีเอกสาร หรือภาพถ่ายยืนยัน
วันที่ 25 ก.ค.นี้ จะพูดคุยรายละเอียดกับภาคเอกชน ถึงแนวทางการนำตัวอย่างดินที่อ้างอิงว่ามีการฝังกลบปลาเพื่อมาตรวจดีเอ็นเอปลา หากไม่อนุญาตก็จะใช้วิธีการทางกฎหมาย พร้อมกับตั้งข้อสังเกตเหตุใดโครงการดำเนินการระยะสั้นเพียง 10 วัน และล้มเลิกไปเฉยๆ
อ่านข่าว พบ "ปลาหมอคางดำ" ปากอ่าวไทย จ.สมุทรปราการ
กรมประมง แจงปมส่งออกปลา 230,000 ตัว
ด้านนายบัญชา ระบุว่า มีบริษัทเอกชนรายเดียว ที่ขอนำเข้าปลาหมอคางดำ 2,000 ตัว ช่วงปลายปี 2553 ภายใต้ระเบียบ-เงื่อนไข ของคณะกรรมการกลั่นกรองที่กรมประมงตั้งขึ้น และยืนยันว่า เหตุที่เกิดขึ้นต้องมีผู้รับผิดชอบ แม้กฎหมายไปไม่ถึง แต่ต้องรับผิดชอบต่อสังคม
ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาว่าจะใช้กฎหมายใด นอกจากนี้ยังพร้อมให้อนุกรรมธิการฯ เดินทางไปที่กรมประมง เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงการจัดเก็บตัวอย่างปลาหมอคางดำ ที่บริษัทเอกชนต้องส่งให้กรมประมงตามเงื่อนไขการนำเข้า
อธิบดีกรมประมง ยังชี้แจงถึงประเด็น เรื่องการส่งออกปลาหมอคางดำไปต่างประเทศ 15 ประเทศ ตั้งแต่ปี 2556-2559 โดยเมื่อวานที่ผ่านมา ถูกตั้งข้อสังเกตจาก CPF ว่า แม้จะเป็นผู้นำเข้ารายเดียว แต่ก็มีการส่งออกจากรายอื่นๆ
อ่านข่าว พบ "ปลาหมอคางดำ" ปากอ่าวไทย จ.สมุทรปราการ
เบื้องต้น มีคำชี้แจงในวันนี้ว่า มีการส่งออกจริง โดยผู้ประกอบการ 11 ราย รวมปลาที่ส่งออกทั้ง 230,000 ตัว ซึ่งที่มาของปลาที่มีการส่งออกมาจาก 2 แหล่ง คือจากแหล่งธรรมชาติ และจากการเพาะเลี้ยง โดยในช่วงเวลาที่มีการส่งออก กฎหมายไม่ได้ห้ามครอบครอง นำเข้า หรือส่งออก แต่มีกฎหมายห้ามในภายหลัง คือปี 2561 จึงยุติไม่ให้มีการส่งออก
แม้จะมีข้อมูลว่า ผู้ประกอบการรายอื่นส่งออก แต่จากข้อมูลของกรมประมง ชัดเจนว่า ช่วงเวลาในการส่งออกตั้งแต่ ปี 2556 ก็พบการระบาดของปลาหมอคางดำแล้ว ที่จังหวัดสมุทรสงคราม
ขณะที่ทีมวิจัยกรมประมง ชี้แจงเส้นทางการแพร่ระบาดว่า เกี่ยวข้อง 7 จังหวัด มีการแพร่กระจาย 2 ลักษณะคือกระจายจากคลองที่เชื่อมต่อถึงกัน และการขนส่งเคลื่อนย้ายโดยมนุษย์ ไปใช้ประโยชน์แล้วเกิดการหลุดรอด จนกระจายเป็นจุดๆ
อ่านข่าวอื่นๆ