ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

วันอาสาฬหบูชา 2567 ปฐมเทศนา "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร"

ไลฟ์สไตล์
28 มิ.ย. 67
17:22
13,283
Logo Thai PBS
วันอาสาฬหบูชา 2567 ปฐมเทศนา "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"วันอาสาฬหบูชา" วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี เป็นวันที่ระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา คือวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย

"อาสาฬหบูชา" ประกอบขึ้นจากคำ 2 คำ คือ อาสาฬห (เดือน 8 ทางจันทรคติ) กับบูชา (การบูชา) เมื่อรวมกันเข้าจึงแปลว่า การบูชาในเดือน 8 หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน 8 ถ้าจะเรียกให้เต็มต้องว่า อาสาฬหบูรณมีบูชา มาจาก อาสาฬห (เดือน 8) + บูรณมี (วันเพ็ญ) + บูชา ซึ่งแปลว่า การบูชาในวันเพ็ญเดือน 8 หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในวันเพ็ญเดือน 8

วันอาสาฬหบูชาไม่เพียงแต่เป็นวันสำคัญในประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่ยังเป็นวันที่พุทธศาสนิกชนทั่วโลกได้มาร่วมกันสืบสานและปฏิบัติธรรมตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า โดยมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นดังนี้ 

  1. พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาที่เรียกว่า "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" หมายถึงการหมุนวงล้อแห่งธรรม ประกาศหลักการสำคัญในพระพุทธศาสนา คือ อริยสัจ 4 และ มรรค 8 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมที่ตรัสรู้เป็นครั้งแรกแก่ ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 คนได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และ อัสสชิ
  2. การบังเกิดของอริยสงฆ์รูปแรกหลังจากฟังปฐมเทศนาแล้วนั่นคือ "โกณฑัญญะ" 1 ในปัญจวัคคีย์ที่ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน และได้รับการบวชเป็นพระสงฆ์รูปแรกของโลก
  3. การก่อตั้งพระรัตนตรัย เมื่อพระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ เกิดขึ้นครบถ้วนทำให้มีพระรัตนตรัยครบองค์ 3 ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการเคารพบูชาในพระพุทธศาสนา
สำหรับปีนี้วันอาสาฬหบูชาตรงกับวันเสาร์ที่ 20 ก.ค.2567

อ่านข่าว : รวมคำบูชา - คำถวาย ในพิธีทางพระ วันอาสาฬหบูชา - เข้าพรรษา 2567

วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญที่ช่วยให้พุทธศาสนิกชนระลึกถึงหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ในประเทศไทยมีกิจกรรมและประเพณีที่สำคัญหลายอย่างที่ทำในวันนี้ ได้แก่

  • การทำบุญตักบาตรที่วัดเพื่อสั่งสมบุญกุศล
  • การสวดมนต์ ในช่วงวันอาสาฬหบูชาหลายวัดจะจัดการสวดมนต์ใหญ่ พุทธศาสนิกชนจะเข้าร่วมสวดมนต์เพื่อแสดงความเคารพและบูชาพระรัตนตรัย
  • การฟังเทศน์ พระธรรมเทศนาจากพระสงฆ์
  • การเวียนเทียน รอบพระอุโบสถหรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เพื่อแสดงความเคารพและน้อมรำลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
  • การรักษาศีลและปฏิบัติธรรม หลายวัดจะจัดให้มีการปฏิบัติธรรมในช่วงนี้ พุทธศาสนิกชนจะมาร่วมปฏิบัติธรรม ถือศีล ฟังธรรม และนั่งสมาธิเพื่อเสริมสร้างสติและปัญญา บางคนอาจเลือกที่จะรักษาศีล 8 หรือทำสมาธิภาวนา
  • การจัดนิทรรศการและการศึกษา วัดและสถานศึกษาในพระพุทธศาสนาบางแห่งจะจัดนิทรรศการหรือกิจกรรมการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับวันอาสาฬหบูชา เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้รับความรู้และความเข้าใจในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า

วันอาสาฬหบูชาเป็นวันที่สำคัญอีกอย่าง ทำให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสพัฒนาตนเองตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นแนวทางที่นำไปสู่ความสงบสุขและความเจริญในชีวิตประจำวัน เช่น การน้อมนำหลักธรรมมาปฏิบัติ ตั้งมั่นในศีล เจริญสติปัฏฐาน ฝึกสมาธิ และยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวและชุมชน เพราะมีกิจกรรมทางศาสนาที่ทำร่วมกัน ทั้งการไปวัด ทำบุญ เวียนเทียน เป็นต้น 

บทสวดมนต์วันอาสาฬหบูชา

(หันทะ มะยัง อาสาฬหะปะณามะคาถาโย ภะณามะ เส)
อาสาฬหะปุณณะมายัง โย สัทธัมโม โหติ เทสิโต เตนุป

ปันโน ปะฐะโม สังโฆ โกณฑัญโญ พุทธะสาสะเน
ธัมมะจักโกติ นาเมนะ วิสสุโต จะ ปะวัตติโต ตัสสัตโถ

อัฏฐะโก มัคโค จัตตาริ เจวะ สัจจานิ
เอเตสัง เทสะเนเนวะ อุปปันนัง ระตะนัตตะยัง พุทโธ ธัมโม ภิกขุสังโฆ สัมปันนา พุทธะสาสะเน

เปเสสิ ภะคะวา สังเฆ กาตุง โลกานะ สังคะหัง ละภิงสุ พะหุกา สัตตา โอกาสัง ปัตตุ นิพพุติง
ปัณณะระสี อะยันทานิ สัมปัตตา อะภิลักขิตา ทีปะปุปผาทิหัตถา จะ หุตวา อิธะ สะมาคะตา

ปะทักขิณัง กะริสสามะ ติกขัตตุง คะรุเจติยัง ภะคะวา ปะฏิคัณหาตุ อัมหากัง สักการัง อิมัง
ระตะนัตตะยานุภาเวนะ ระตะนัตตะยะเตชะสา สัพเพ สัตตา ปุญญะภาคา นิททุกขา นิรุปัททะวา

อะระหันตา ปะพุชฌันตุ สะทา โคตะมะสาวะกา การุญญัญจะ อุปาทายะ ภะคะวา ปะฏิคัณหาตุ
สักกาเร อิเม มัยหัง หิตายะ จะ สุขายะ จะ จิรัง ติฏฐะตุ สัทธัมโม ตะถาคะตัปปะเวทิโต
สัมมาธารัง ปะเวสสันโต กาเลเทโว ปะวัสสะตุ วุฒิภาวายะ สัตตานัง สะมิทธัง เนตุ เมทะนิง ฯ

คำบูชาดอกไม้ธูปเทียน วันอาสาฬหบูชา

ยะมัมหะ โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา
โย โน ภะคะวา สัตถา, ยัสสะ จะ มะยัง ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ

อะโหสิ โข โส ภะคะวา มัชฌิเมสุ ชะนะปะเทสุ อะริยะเกสุ มะนุสเสสุ อุปปันโน
ขัตติโย ชาติยา โคตะโม โคตเตนะ

สักยะปุตโต สักยะกุลา ปัพพะชิโต
สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ

นิสสังสะยัง โข โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวา
สวากขาโต โข ปะนะ เตนะ ภะคะวะตา ธัมโม

สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ

สุปะฏิปันโน โข ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ ฯ อิทัง โข ปะนะ ปฏิมาฆะรัง ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ กะตัง ยาวะเทวะ ทัสสะเนนะ ตัง ภะคะวันตัง อะนุสสะริตวา ปะสาทะสังเวคะปะฏิลาภายะ

มะยัง โข เอตะระหิ อิมัง วิสาขะปุณณะมีกาลัง ตัสสะ ภะคะวะโต ชาติสัมโพธินิพพานะกาละสัมมะตัง ปัตวา อิมัง ฐานัง สัมปัตตา

อิเม ทัณฑะทีปะธูปาทิสักกาเร คะเหตวา อัตตะโน กายัง สักการุปะธานัง กะริตวา ตัสสะ ภะคะวะโต ยะถาภุจเจ คุเณ อะนุสสะรันตา

อิมัง ปะฏิมาฆะรัง ติกขัตตุง ปะทักขิณัง กะริสสามะ อิมัง ยะถาคะหิเตหิ สักกาเรหิ ปูชัง กุรุมานา
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ ญาตัพเพหิ คุเณหิ อะตีตารัมมะณะตายะ ปัญญายะมาโน
อิเม อัมเหหิ คะหิเต สักกาเร ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

รู้หรือไม่ : วันสำคัญทางพุทธศาสนาที่ประเทศไทยทำพิธีเวียนเทียน มีอยู่ 4 วัน คือ วันวิสาขบูชา (15 ค่ำ เดือน 6) วันอัฏฐมีบูชา (แรม 8 ค่ำ เดือน 6) วันมาฆบูชา (15 ค่ำ เดือน 3) และ วันอาสาฬหบูชา (15 ค่ำ เดือน 8)

วันอาสาฬหบูชา เวียนเที่ยนกี่โมง

ในวันอาสาฬหบูชานอกจากในช่วงเช้าจะไปทำบุญ ไหว้พระแล้ว ในช่วงเย็นหลายคนจะไปเวียนเทียนที่วัด โดยส่วนใหญ่นิยมไปเวียนเทียนช่วง ประมาณ 16.00 - 20.00 น. แต่ในปัจจุบันนี้วัดหลายแห่งมีการขยับเวลาการเวียนเทียนเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่พุทธศาสนิกชนในชุมชนเมืองมากขึ้น บางวัดเปิดให้เข้ามาเวียนเทียนได้ตั้งแต่ช่วงเช้า 06.00 น.

บทสวดเวียนเทียน 3 รอบ
1. ก่อนเริ่มพิธีเวียนเทียน พระสงฆ์ประธานในพิธี กล่าวคำนำบูชาในวันมาฆบูชา ทุกคนประนมมือถือดอกไม้ธูปเทียนกล่าวตาม

2. หลังจากกล่าวคำบูชาจบ ประธานสงฆ์จะนำเวียนเทียน โดยเวียนทักษิณาวรรต (เวียนขวา) และท่องบทสวด ดังนี้

รอบที่ 1 รำลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
"อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ"

รอบที่ 2 รำลึกคุณพระธรรม
"สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ"

รอบที่ 3 รำลึกคุณพระสงฆ์
"สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ"

ทั้งนี้ เมื่อเวียนครบ 3 รอบ นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปวางไว้ ณ จุดที่กำหนด

สิ่งที่ควรปฎบัติขณะเวียนเทียน

1. เมื่อเริ่มเวียนเทียนให้สำรวม กาย วาจา ใจ

2. รักษาระยะห่างการเดินให้ห่างจากคนข้างหน้า ไม่ให้ความร้อนจากธูป เทียน เป็นอันตรายต่อผู้อื่น

3. เดินเวียนเทียนอย่างเป็นระเบียบ ไมเดินแซงกัน ไม่เร็วไม่ช้าเกินไป

4. ไม่พูดคุย หยอกล้อ ส่งเสียงระกวนผู้อื่นขณะเวียนเทียน

5. เจริญจิตภาวนาระลึกถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ

6. หลังจากเวียนเทียนเวียนเทียนครบ 3 รอบ ให้นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปวางและปักบูชาในที่ที่จัดเตรียมไว้

อ่านข่าวอื่น :

อัปเดตครึ่งปีหลัง 2567 เช็กวันหยุดราชการ วันหยุดยาว

รู้จัก "วันฤกษ์ดี เดือนมงคล" ก่อน "แต่งงาน - จดทะเบียนสมรส"

ตักบาตรเที่ยงคืนในวัน "เป็งปุ๊ด" กับอรหันต์องค์สุดท้าย "พระอุปคุต"

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง