ชาวบ้านค้าน กทพ.ก่อสร้างอุโมงค์ N1 ช่วงศรีรัช-งามวงศ์วาน

สังคม
18 มิ.ย. 67
18:25
290
Logo Thai PBS
ชาวบ้านค้าน กทพ.ก่อสร้างอุโมงค์ N1 ช่วงศรีรัช-งามวงศ์วาน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กลุ่มประชาชนผู้อาศัย บริเวณ ถ.ประเสริฐมนูกิจ กว่า 30 คน ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าการ กทพ.เพื่อขอให้ทบทวนการก่อสร้างอุโมงค์ N1 ช่วงศรีรัช-งามวงศ์วาน โดยอ้างถึงความคุ้มค่า ความปลอดภัย และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

วันนี้ (18 มิ.ย.2567) กลุ่มผู้อาศัยบริเวณถนนประเสริฐมนูกิจ เข้ายื่นหนังสือ ถึงผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ให้ทบทวนการก่อสร้างอุโมงค์ N1 ตั้งแต่ช่วงศรีรัช-ถนนประเสริฐมนูกิจ โดยเปลี่ยนจากการสร้างรูปแบบ “ทางยกระดับ” ผ่านทางหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นการสร้าง “อุโมงค์ลอดใต้ดิน” เริ่มจากบริเวณห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่างามวงศ์วาน ไปยังบริเวณปากทางออกที่ปั๊ม ปตท. บริเวณถนนประเสริฐมนูกิจ - ช่วงแยกลาดปลาเค้า ระยะทางรวม 10.55 กม.

กลุ่มประชาชนผู้อาศัย บริเวณ ถ.ประเสริฐมนูกิจ กว่า 30 คน ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าการ กทพ.เพื่อขอให้ทบทวนการก่อสร้างอุโมงค์ N1 ช่วงศรีรัช-งามวงศ์วาน โดยอ้างถึงความคุ้มค่า ความปลอดภัย และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

กลุ่มประชาชนผู้อาศัย บริเวณ ถ.ประเสริฐมนูกิจ กว่า 30 คน ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าการ กทพ.เพื่อขอให้ทบทวนการก่อสร้างอุโมงค์ N1 ช่วงศรีรัช-งามวงศ์วาน โดยอ้างถึงความคุ้มค่า ความปลอดภัย และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

กลุ่มประชาชนผู้อาศัย บริเวณ ถ.ประเสริฐมนูกิจ กว่า 30 คน ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าการ กทพ.เพื่อขอให้ทบทวนการก่อสร้างอุโมงค์ N1 ช่วงศรีรัช-งามวงศ์วาน โดยอ้างถึงความคุ้มค่า ความปลอดภัย และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

นายมนัส ทรงแสง ตัวแทนประชาชน สะท้อนว่า หาก กทพ.อนุมัติสร้างอุโมงค์ทางลอดดังกล่าว ประชาชนในพื้นที่มีความกังวล 3 เรื่อง คือ 1.เรื่องความปลอดภัย จากอุบัติเหตุการใช้ความเร็วขณะขับขี่รถยนต์ลงอุโมงค์ 2.ความคุ้มค่าของการก่อสร้าง จากเดิมที่วางงบประมาณไว้ 17,000 ล้านบาท จะต้องใช้งบประมาณในการก่อสร้างถึง 42,000 ล้านบาท ซึ่งมีการจำกัดการใช้งานเพียงรถยนต์สี่ล้อเท่านั้น และ 3.ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งควัน ฝุ่น และเสียงดัง นอกจากนี้ยังที่ดินที่ต้องเวนคืนที่ดิน 22 ไร่ และบ้านเรือนของประชาชนได้รับผลกระทบ 188 คน

กลุ่มประชาชนผู้อาศัย บริเวณ ถ.ประเสริฐมนูกิจ กว่า 30 คน ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าการ กทพ.เพื่อขอให้ทบทวนการก่อสร้างอุโมงค์ N1 ช่วงศรีรัช-งามวงศ์วาน โดยอ้างถึงความคุ้มค่า ความปลอดภัย และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

กลุ่มประชาชนผู้อาศัย บริเวณ ถ.ประเสริฐมนูกิจ กว่า 30 คน ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าการ กทพ.เพื่อขอให้ทบทวนการก่อสร้างอุโมงค์ N1 ช่วงศรีรัช-งามวงศ์วาน โดยอ้างถึงความคุ้มค่า ความปลอดภัย และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

กลุ่มประชาชนผู้อาศัย บริเวณ ถ.ประเสริฐมนูกิจ กว่า 30 คน ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าการ กทพ.เพื่อขอให้ทบทวนการก่อสร้างอุโมงค์ N1 ช่วงศรีรัช-งามวงศ์วาน โดยอ้างถึงความคุ้มค่า ความปลอดภัย และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ด้าน นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (ผู้ว่าการ กทพ.) เปิดเผยว่า การก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดดังกล่าว ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาหลายขั้นตอน ทั้งการรับฟังความคิดเห็นของชาวบ้าน การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และการประเมินความคุ้มค่าของโครงการ โดยช่วงเดือน ส.ค. - ก.ย.2567 นี้ จะมีการประชุมรับฟังความเห็นประชาชน เป็นครั้งสุดท้าย

นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (ผู้ว่าการ กทพ.)

นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (ผู้ว่าการ กทพ.)

นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (ผู้ว่าการ กทพ.)

หลังจากนั้นจะมีการเสนอกระทรวงคมนาคม สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) แล้วจะมีการนำเสนอให้ประชาชนทราบอีกครั้ง

สำหรับโครงการ "อุโมงค์ทางด่วน N1" สรุปการศึกษาและรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในเดือน พ.ค.2567 จากนั้นเป็นขั้นตอนการเสนอ ครม.และขออนุมัติรายงาน EIA คาดใช้เวลาประมาณ 1.5 - 2 ปี คาดประมูลในปี 2569 เริ่มก่อสร้างปี 2570 ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี เปิดบริการปี 2575

กลุ่มประชาชนผู้อาศัย บริเวณ ถ.ประเสริฐมนูกิจ กว่า 30 คน ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าการ กทพ.เพื่อขอให้ทบทวนการก่อสร้างอุโมงค์ N1 ช่วงศรีรัช-งามวงศ์วาน โดยอ้างถึงความคุ้มค่า ความปลอดภัย และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

กลุ่มประชาชนผู้อาศัย บริเวณ ถ.ประเสริฐมนูกิจ กว่า 30 คน ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าการ กทพ.เพื่อขอให้ทบทวนการก่อสร้างอุโมงค์ N1 ช่วงศรีรัช-งามวงศ์วาน โดยอ้างถึงความคุ้มค่า ความปลอดภัย และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

กลุ่มประชาชนผู้อาศัย บริเวณ ถ.ประเสริฐมนูกิจ กว่า 30 คน ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าการ กทพ.เพื่อขอให้ทบทวนการก่อสร้างอุโมงค์ N1 ช่วงศรีรัช-งามวงศ์วาน โดยอ้างถึงความคุ้มค่า ความปลอดภัย และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ คาดการณ์ปริมาณจราจรปีเปิดบริการที่ 70,000 คัน/วัน ขณะที่สายทางมีความจุประมาณ 140,000 คัน/วัน เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรและพัฒนาโครงข่ายทางพิเศษที่เชื่อมโยงการเดินทางระหว่างพื้นที่ด้านตะวันออก และตะวันตกของ กรุงเทพฯ 

อ่านข่าว : ขึ้นฟรี! กทพ.ยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษ หยุดราชการ 3 วัน เดือน พ.ค.  

"ทล. - กทพ." มั่นใจโครงการก่อสร้าง ถ.พระราม 2 เสร็จทุกโครงการปี 68 

กทพ.ปรับขึ้นค่าทางด่วน "ฉลองรัช-บูรพาวิถี" 5 บาท มีผล 1 มี.ค.นี้

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง