2 เหตุการณ์ติด ๆ กันกับกรณีเขื่อนริมตลิ่งแม่น้ำเจ้าพระยาใน 2 พื้นที่คนละจังหวัดคือ จ.นนทบุรี และชัยนาท เกิดการทรุดตัวพังครืนลงในแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างความกังวลใจกับชาวบ้านที่ต้องอาศัยริมแม่น้ำเจ้าพระยา
เหตุการณ์แรกเกิดขึ้น เมื่อช่วงเย็นวานนี้ (9 มิ.ย.) เขื่อนริมน้ำบริเวณวัดเชิงเลน ต.ท่าอิฐ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี พังทรุดลงมาเป็นแนวยาวกว่า 75 เมตร โชคดีที่เป็นช่วงเวลา 17.30 น.ซึ่งผู้ที่เดินทางมาทำบุญและปล่อยปลา รวมถึงให้อาหารปลาที่บริเวณเขื่อนเดินทางกลับไปหมดแล้ว ทำให้ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ
อ่านข่าว "เขื่อนริมน้ำ" หน้าวัดเชิงเลน พังถล่มยาว 75 เมตร
ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ ตรวจเขื่อนริมตลิ่งพังวัดเชิงเลน ต.ท่าอิฐ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
ตรวจสอบเขื่อนริมตลิ่งวัดบางเลนทรุด
นายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี พร้อมด้วยนายทรงสิทธิ์ สุขพานิช ผอ.สำนักงานชลประทานขนาดกลางที่ 11 ลงพื้นที่ตรวจสอบเขื่อนทรุดตัว โดยพบว่าเขื่อนก่อสร้างตั้งแต่ปี 2563 ตั้งแต่วัดแสงสิริธรรม ถึงริมวัดเชิงเลน ความยาว 2,235 เมตร งบประมาณ 469 ล้านบาท และหมดสัญญาในปี 2565
โดยพบว่าจุดที่พังสร้างเสร็จมา 2 ปี คนในพื้นที่ระบุว่าเป็นจุดน้ำแรง เพราะตรงข้ามกับเกาะเกร็ดที่มีการจัดน้ำเข้ามาและมีน้ำวน มีโอกาสที่เขื่อนโดนกัดเซาะรุนแรงกว่าตรงอื่น และอยู่ระหว่างนำดินเข้าหลังเขื่อน เพื่อให้เป็นไปตามรูปแบบแต่ยังต้องรอสาเหตุทางเทคนิค
อยากฝากทางกรมชลประทาน เร่งแก้ปัญหาก่อนน้ำหลากลงมาในช่วงก.ย.-พ.ย. เพราะจุดนี้จะมีน้ำเอ่อล้นตลิ่งขึ้นมา แต่หากไม่มีกำแพงน้ำก็จะหลากเข้ามาในชุมชน
ผู้ว่าฯ นนทบุรี กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้มีเขื่อนบริเวณปากประตูนน้ำคลองบาง กรวย จุดนั้นมีน้ำลงต่ำมาก และอยู่ระหว่างการนำดินไปถมด้านหลังมีน้ำซึมในฤดูฝน ลักษณะเดียวกัน แต่เขื่อนเก่า และใช้งานมานานกว่า ส่วนบริเวณวัดเชิงเลนคาดว่ากระแสน้ำที่แรงมีผลต่อโครงสร้าง
อ่านข่าว ฝนฉ่ำ 150 มม.! เตือน 33 อำเภอ 8 จว.เสี่ยงดินถล่ม-น้ำป่าหลาก
ภาพตลิ่งทรุดที่วัดธรรมามูลวรวิหาร จ.ชัยนาท (ภาพเฟซบุ๊ก Chanawin Sonrayothin)
น้ำวน-น้ำลงเร็วปัจจัยเขื่อนทรุด
นายทรงสิทธิ์ กล่าวว่า กรมชลประทาน จะส่งผู้เชี่ยวชาญด้านออกแบบและธรณีว่าสาเหตุที่มีการทรุดตัวเกิดจากอะไร แต่เบื้องต้นตรวจสอบแล้วเขื่อนทำตามรูปแบบ ไม่มีเหล็ก ลักษณะของกำแพงคล้ายรั้วบ้าน ป้องกันน้ำระดับแนวตั้ง ดินข้างแม่น้ำเข้าพระยาเป็นดินอ่อน
แต่ในรูปแบบของการก่อสร้างของกรมชลประทาน สามารถสร้างในดินเลนได้ เสาเข็มถึง มีการทำบันทึกแจ้งไปทางผู้รับเหมาแล้ว อยู่ในระยะประกัน มีการส่งงานบางส่วนแต่ยังไม่ส่งมอบทั้งหมดตามสัญญา ซึ่งเดอมหมดสัญญาไปในปี 2565 แต่มีปัญหาเรื่องโควิด ทำให้ตอนนี้ยังไม่หมดสัญญา และมีแผนเฟส 3 จึงจะต้องทบทวนในเรื่องของแบนนการก่อสร้าง
เบื้องต้นจุดนี้มีน้ำวนค่อนข้างสูง และมีระดับน้ำในแม่น้ำต่ำ เกิดการแตกต่างของ 2 ฝั่ง ระหว่างน้ำกับหลังคันตลิ่งค่อนข้างมาก น้ำลงมาก ๆ จะมีการไหลกลับเข้า ถ้าไหลรวดเร็วอาจทำให้ดินข้างล่างทรุดตัว และเกิดการเซของกำแพง
ด้านร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวหลังลงพื้นที่ว่า เขื่อนริมตลิ่งความยาว 2.20 กิโลเมตร เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนและเกษตรกรรมในช่วงฤดูน้ำหลาก กรมชลประทาน เข้าไปตรวจสอบสาเหตุการทรุดตัว และเร่งหาแนวทางในการซ่อมแซมโดยเร่งด่วนแล้ว
เบื้องต้นได้สั่งการกรมชลประทาน ในการนำชีทไพล์ขนาด 4×20 เมตร มาติดตั้งบริเวณที่เกิดการทรุดตัว เพื่อป้องกันแรงกระแทกจากกระแสน้ำทำให้เกิดการทรุดตัวเพิ่มเติม
ภาพตลิ่งทรุดที่วัดธรรมามูลวรวิหาร จ.ชัยนาท (ภาพเฟซบุ๊ก Chanawin Sonrayothin)
"ชัยนาท" ตลิ่งทรุดรถยนต์จม 3 คัน
ส่วนอีกเหตุการณ์เพิ่งเกิดขึ้นสดๆ ร้อนๆ ที่หน้าวัดธรรมามูลวรวิหาร หมู่ที่ 1 ต.ธรรมามูล จ.ชัยนาท พบตลิ่งทรุดเป็นทางยาวกว่า 60 เมตร ลึกกว่า 30 เมตร และทำให้กุฎิพระสงฆ์ 1 หลัง รถยนต์ของครู 3 คัน รถจักรยาน ยนต์ของครู ภารโรง แม่ครัวจำนวน 5 คัน และรถจักรยานของเด็กนักเรียน 6 คัน ที่จอดอยู่ในโรงรถจมหายไปในแม่น้ำ และยังทำให้แพเทียบเรือของวัดธรรมามูล จำนวน 3 หลังได้รับความเสียหาย
ร.ต.วิทยา เกล้าวิกรณ์ นายอำเภอเมืองชัยนาท เข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุ ระบุว่า สาเหตุน่าจะเกิดจากการที่แม่น้ำมีน้ำขึ้นน้ำลง อาจทำให้ความแน่นหนาของดินริมตลิ่งผ่อนตัวลง จึงเกิดการทรุดตัวเป็นทางยาว
สาเหตุน่าจะมาจากการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำเจ้าพระยา ประกอบดินแถบนี้มีการทรุดตัวอยู่ก่อนแล้ว
บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงต.ช้างใหญ่ อ.บางไทร จ.พระนคร ศรีอยุธยา พบว่าระดับน้ำลดจากตลิ่งอย่างเห็นได้ชัดมากกว่า 30 ซม.
ขณะนี้อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย และตรวจสอบความแน่นหนาของดินริมตลิ่งว่าจะเกิดการทรุดตัวอีกหรือไม่ เบื้องต้นกันเป็นพื้นที่ห้ามเข้า พร้อมประสานกับทางหลวงชนบทว่ามีผลกระทบกับโครงสร้างอื่น ๆ หรือไหม เพื่อจะเปิดให้สัญจรต่อไป
นอกจากนี้บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงต.ช้างใหญ่ อ.บางไทรจ.พระนคร ศรีอยุธยา พบว่าระดับน้ำลดจากตลิ่งอย่างเห็นได้ชัดมากกว่า 30 ซม.
อ่านข่าว