อ่วม! ฝนถล่ม กทม.น้ำท่วม ต้นไม้หักคาถนนวิทยุทับรถยนต์ 2 คัน

ภัยพิบัติ
13 พ.ค. 67
17:49
1,930
Logo Thai PBS
อ่วม! ฝนถล่ม กทม.น้ำท่วม ต้นไม้หักคาถนนวิทยุทับรถยนต์ 2 คัน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ฝนถล่ม กทม.-ปริมณฑลฉ่ำมาก เตือนเลี่ยงเส้นทางถนนวิทยุต้นไม้ใหญ่หักโค่นทับรถยนต์ 2 คันยังเร่งเคลียร์เส้นทางจราจร กรมอุตุนิยมวิทยา ชี้อากาศแปรปรวน 13-17 พ.ค.นี้ ส่วน "ชัชชาติ" ลุยอุดจุดเสี่ยงน้ำท่วมกทม.

#ฝนตก ติดคำค้นในแอปพลิเคชัน X ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 15.00 น.หลายพื้นที่ของ กทม.ท้องฟ้ามืดครึ้ม และมีฟ้าร้องเป็นระยะ ๆ จากนั้นเริ่มมีฝนตกลงมาอย่างหนักและลมกระโชกแรง 

โดยหลายจุดมีรายงานพบว่ามีต้นไม้หักโค่นกีดขวางการจราจร และมีต้นไม้ล้มทับรถยนต์ บริเวณถนนวิทยุ หน้าโรงแรมออลซีซัน ซึ่งอยู่ในระหว่างการเคลียร์ต้นไม้ออก ทำให้การจราจรในบริเวณถนนวิทยุติดหนัก

FM91 Trafficpro @fm91trafficpro รายงานว่า มูลนิธิร่วมกตัญญู รายงานเหตุต้นไม้ล้มทับรถยนต์เสียหาย 2 จุด จุดแรก ถนนวิทยุ ก่อนถึงแยกเพลินจิต รถเสียหาย 2 คัน รอผู้เกี่ยวข้อง อีกจุด ต้นไม้ล้ม ปากซอยนราธิวาส 8 ถนนนราธิวาส ปิดการจราจร 2 เลน ระหว่างดำเนินการ

นอกจากนี้ยังมีรายงานเหตุหลังคาบ้านปลิว ซอยรามคำแหง 36 เขตบางกะปิ เจ้าหน้าที่สถานีดับเพลิงและกู้ภัยหัวหมากถึงที่เกิดเหตุ เบื้องต้นไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ รายละเอียดเพิ่มเติมอยู่ระหว่างการตรวจสอบ

ส่วนอีกจุด เหตุเต็นท์ล้มใส่รถยนต์ภายในบ้าน ซอยสุคนธสวัสดิ์ 8 ถนนสุคนธสวัสดิ์ แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว เจ้าหน้าที่สถานีดับเพลิงและกู้ภัยลาดพร้าวกำลังไปที่เกิดเหตุ

เมื่อเวลา 17.00 น.มีรายงานว่า ฝนตก ฝั่งพระนคร และฝั่งธนบุรี เคลื่อนตัวทิศตะวันตกเฉียงใต้แนวโน้มคงที่ ฝนรวมสูงสุด 6 ชั่วโมง ที่เขตหนองจอก 124.5 มม.

ภาพจากที่นี่สมุทรปราการ พบน้ำท่วมขังผิวการจราจรและรถ

ภาพจากที่นี่สมุทรปราการ พบน้ำท่วมขังผิวการจราจรและรถ

ภาพจากที่นี่สมุทรปราการ พบน้ำท่วมขังผิวการจราจรและรถ

ลาดกระบังน้ำขังรอการระบาย 

ขณะที่พื้นที่ลาดกระบัง ฝนตกปานกลาง มีน้ำท่วมขังสูงประมาณ 30 ซม. ระยะทางประมาณ 60 เมตร สามารถใช้การจราจรได้ 2 ช่องทาง เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทศกิจ พร้อมอำนวยการจราจรและให้ความช่วยเหลือประชาชน และสามารถระบายน้ำได้ดี

เช่นเดียวกับเพจที่นี่สมุทรปราการ โพสต์ภาพการจราจรหลังฝนตกมีน้ำขัง โดยเขียนแคปชันหยิกแกมหยอกว่า เปิดแล้ว สวนน้ำเทพารักษ์ เนื่องจากพบน้ำท่วมขังผิวจราจรประมาณ 20 ซม.

ต้นไม้ใหญ่หักโค่นบนถนนวิทยุ ยังเร่งเคลียร์พื้นที่ แต่ทำให้รถติดหนัก (ภาพ:
fm91trafficpro)

ต้นไม้ใหญ่หักโค่นบนถนนวิทยุ ยังเร่งเคลียร์พื้นที่ แต่ทำให้รถติดหนัก (ภาพ: fm91trafficpro)

ฝนถล่มสภาฯต้นไม้ล้ม ประตูกระจกหลุดแตก

ส่วนที่รัฐสภา มีฝนตกลงมาอย่างหนัก ประกอบกับมีลมกระโชกแรงมากจนสร้างความเสียหาย ต้นไม้ใหญ่ที่ปลูกไว้บริเวณริมทางเดินในตัวอาคาร ฝั่งสภาผู้แทนราษฎร แม้มีสลิงค้ำยันต้นไม้ไว้หลายเส้น แต่ไม่สามารถรั้งต้นไม้ดังกล่าวไว้ได้ ทำให้ล้มขวางทางเดิน

เบื้องต้นพบว่าต้นไม้ใหญ่ล้มแล้ว 2 ต้น และมีอีกหลายต้นที่เอนส่อว่าจะล้มเพิ่มเติม นอกจากนี้ ยังพบอีกว่าประตูกระจกทางเข้าออกอาคาร บริเวณชั้น 9 แตก เนื่องจากลมแรงจนทำให้ประตูหลุดล้มลงพื้นอีกด้วย

ต้นไม้อาคารรัฐสภาล้ม 2 ต้น-กระจกร้าว เนื่องจากแรงลมและฝนตกหนัก

ต้นไม้อาคารรัฐสภาล้ม 2 ต้น-กระจกร้าว เนื่องจากแรงลมและฝนตกหนัก

ต้นไม้อาคารรัฐสภาล้ม 2 ต้น-กระจกร้าว เนื่องจากแรงลมและฝนตกหนัก

ประตูกระจกทางเข้าออกอาคาร บริเวณชั้น 9 แตก เนื่องจากลมแรงจนทำให้ประตูหลุดล้มลงพื้นอีกด้วย

ประตูกระจกทางเข้าออกอาคาร บริเวณชั้น 9 แตก เนื่องจากลมแรงจนทำให้ประตูหลุดล้มลงพื้นอีกด้วย

ประตูกระจกทางเข้าออกอาคาร บริเวณชั้น 9 แตก เนื่องจากลมแรงจนทำให้ประตูหลุดล้มลงพื้นอีกด้วย

อากาศแปรปรวนฝนฉ่ำ 

ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า ระหว่างวันที่ 13–19 พ.ค.นี้บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมอ่าวไทย ประเทศไทย และทะเลอันดามัน

ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรง และฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 17–19 พ.ค.67 ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันออกจะเคลื่อนเข้าปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณด้านตะวันตกของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออกมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง 

ในช่วงวันที่ 13–16 พ.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฝนตกหนักบางแห่ง โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง 

อ่านข่าว สภาพอากาศวันนี้ อีสาน-ตะวันออกฝนตกหนัก กทม.เจอฝน 40%

นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ุ ผู้ว่าฯกทม.ลงตรวจความพร้อมรับมือน้ำท่วม

นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ุ ผู้ว่าฯกทม.ลงตรวจความพร้อมรับมือน้ำท่วม

นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ุ ผู้ว่าฯกทม.ลงตรวจความพร้อมรับมือน้ำท่วม

"ชัชชาติ" ติดตามจุดเสี่ยงน้ำท่วมกทม.

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยนายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าฯกทม. พร้อมคณะลงพื้นที่ตรวจติดตามการก่อสร้างและการปรับปรุงงานระบายน้ำในจุดสำคัญต่างๆ ของกทม. เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง

นายชัชชาติ กล่าวว่า จุดเสี่ยงน้ำท่วมในกทม. แบ่งเป็น จุดเสี่ยงน้ำฝน 617 จุด และจุดเสี่ยงน้ำหนุนริมแม่น้ำ ซึ่งประกอบด้วยจุดฟันหลอและจุดน้ำซึม 120 จุด ดำเนินการแก้ไขแล้ว 289 จุด โดยจุดที่ยังทำไม่เสร็จ 100% ก็ได้มีการเข้าไปบรรเทา เช่น การติดตั้งเครื่องสูบ เป็นต้น

จากนั้น ผู้ว่าฯ ชัชชาติ และคณะ ลงพื้นที่จุดแรก คือถนนศรีอยุธยา บ่อสูบน้ำคูน้ำสารวัตรทหารที่ 11 ซึ่งเป็น 1 ใน 3 บ่อสูบ PIPE JACKING คือ ระบบที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของท่อระบายน้ำ ซึ่งถนนศรีอยุธยาถือว่าเป็นจุดที่มีน้ำท่วมมากพอสมควร โดยการดำเนินการระบบบ่อสูบมีความคืบหน้าไปแล้ว 90% และงานดันท่อเหลือการเชื่อมบรรจบท่อที่สำคัญ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 1 เดือน

หากจุดนี้ดำเนินการเสร็จจะช่วยบรรเทาน้ำท่วมบริเวณ ถนนพระรามหก หน้ากระทรวงการต่างประเทศ โรงพยาบาลสงฆ์ สน.พญาไท เป็นต้น โดยจากการลงตรวจหน้างานในวันนี้ พบปัญหาที่ต้องแก้ไข เช่น มีขยะที่อาจเข้าไปติดในระบบ และงานในภาพรวมยังเรียบร้อยไม่ 100% ต้องเร่งปรับปรุงแก้ไขต่อไป

จุดต่อมาเป็นคูน้ำวิภาวดี บริเวณคลองบางซื่อ (ขาออก) บริเวณนี้จะเป็นจุดที่แบ่งน้ำเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งไปลงดินแดง อีกส่วนไปลงที่คลองบางซื่อ ซึ่งต้องดูแลขุดลอกไม่ให้อุดตัน โดยบริเวณนี้เป็นพื้นที่ของกรมทางหลวง การดำเนินการต่าง ๆ กรุงเทพมหานครจะต้องเร่งประสานงานเพื่อให้การทำงานราบรื่นเป็นเนื้อเดียวกัน

จากนั้น ยังคลองด่วนบริเวณสวนลุมไนท์บาซาร์ ซึ่งปีที่แล้ว บริเวณนี้เป็นจุดที่ท่วมหนักตรงหน้าศาลอาญา เป็นเพราะว่าท่อมีจุดบล็อกอยู่ แต่ตอนนี้ได้ทำการทะลวงท่อแล้ว ซึ่งจะช่วยการระบายน้ำดีขึ้น

ปิดท้ายด้วยการส่องงานที่คลองน้ำแก้ว บริเวณวัดลาดพร้าว โดยบริเวณนี้จะทำการปรับดาดท้องคลองให้สามารถดึงน้ำได้เร็วขึ้น ช่วยให้ดูดน้ำจากแถวรัชดามายังลาดพร้าวและลงคลองบางซื่อได้เร็วขึ้น ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการคาดว่าจะเสร็จภายในเดือนมิถุนายน

การระบายน้ำ กทม. หัวใจคือ ต้องระบายน้ำออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา และทำอย่างไรให้ระบายออกไปเร็วที่สุด ซึ่งต้องใช้ท่อและระบบต่าง ๆ ระบายน้ำลงคลองออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา

อ่านข่าวอื่นๆ

จับ 4 ผู้ต้องหา ยิงดาบตำรวจ-ภรรยา เสียชีวิต ทิ้งป่าปราจีนบุรี

  

ข่าวที่เกี่ยวข้อง