ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รู้จัก "ใบส่งตัว" ผู้ป่วยบัตรทองทำ "ครั้งเดียว" รักษาต่อเนื่อง

สังคม
15 เม.ย. 67
09:00
25,154
Logo Thai PBS
รู้จัก "ใบส่งตัว" ผู้ป่วยบัตรทองทำ "ครั้งเดียว" รักษาต่อเนื่อง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สธ.ชวนทำความรู้จัก "ใบส่งตัว" สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเกินศักยภาพการรักษาของ รพ. แห่งหนึ่งส่งไปรักษายัง รพ.อีกแห่งหนึ่ง โดยขอเพียงแค่ครั้งเดียว พร้อมแนะนำช่องทางออนไลน์สำหรับลงทะเบียนเมื่อต้องการย้ายสิทธิ สปสช. ไปยังสถานพยาบาลใหม่

วันนี้ (15 เม.ย.2567) เว็บไซต์เจาะลึกระบบสุขภาพ ชวนประชาชนทำความรู้จัก "ใบส่งตัว"

การออกหนังสือส่งตัว หมายถึง กรณีอาการผู้ป่วยเกินศักยภาพ แพทย์จะพิจารณาส่งตัวไปยังหน่วยบริการที่มีศักยภาพที่สูงว่าตามภาวะความจำเป็นของโรค แต่หากแพทย์วินิจฉัยแล้วสามารถให้การรักษาได้ จะให้การรักษาผู้ป่วยโดยไม่ส่งตัว หากมีประวัติรักษาที่หน่วยบริการอื่น แนะนำให้ขอประวัติการรักษาหรือใบสรุปการรักษาติดต่อหน่วยบริการตามสิทธิเพื่อให้แพทย์พิจารณาก่อน

อ่าน : สปสช.ออก 6 หลักเกณฑ์ ส่งต่อผู้ป่วยบัตรทองใน กทม.

ทั้งนี้ กรณีย้ายที่พักอาศัยใหม่ หรือไม่สะดวกเข้ารับบริการที่หน่วยบริการตามสิทธิเดิม สปสช. เปิดช่องทางการลงทะเบียนเปลี่ยนหน่วยบริการ เมื่อลงทะเบียนแล้วใช้สิทธิได้ทันทีและย้ายสิทธิ 4 ครั้ง / ปี (วันที่ 1 ต.ค.- 30 ก.ย. ของปีถัดไป) ผ่านช่องทางออนไลน์ ดังนี้

ช่องทางลงทะเบียนออนไลน์

  1. ช่องทางที่ 1 : ผ่านทาง Application สปสช. เพียงดาวน์โหลดแอป คำว่า "สปสช." เพื่อใช้ลงทะเบียนเปลี่ยนหน่วยบริการ ดาวน์โหลดฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย ได้ทั้งระบบ Android และ iOS
  2. ช่องทางที่ 2 : ผ่านทาง ไลน์ สปสช. แอดไลน์ สปสช. พิมพ์ค้นหา Line ID @nhso ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย

วิธีการใช้สิทธิเข้ารับบริการ

  1. ติดต่อที่หน่วยบริการปฐมภูมิ / หน่วยบริการประจำของผู้มีสิทธิ กรณีเกินเกินศักยภาพจะส่งตัวไปหน่วยบริการที่รับส่งต่อ
  2. แจ้งความจำนงใช้สิทธิบัตรทองก่อนรับบริการ
  3. แสดงบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายและเลขประจำตัวประชาชนที่ทางราชการออกให้ สำหรับเด็กใช้ใบสูติบัตร

สอบถามเพิ่มเติม โทรสายด่วน สปสช. 1330 กด 0 ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง (ข้อมูลจาก สปสช.)

อ่าน : เพิ่มสิทธิบัตรทอง "รักษาภาวะมีบุตรยาก" ส่งเสริมมีลูก

สำหรับผู้ที่มีคำถามว่า
ทำไมต้องมีระบบส่งตัว ?
ทำไมอยากไปโรงพยาบาลที่อยากไป ไม่ได้ ?
ทำไมเมื่อไปโรงพยาบาลที่อยากไปแล้วต้องกลับไปขอใบส่งตัว ?

อดีต : การขอใบส่งตัวรักษาจากคลินิกหรือโรงพยาบาลที่ลงทะเบียนใช้สิทธิหรือหน่วยบริการประจำที่ผู้ป่วยเลือกไว้ เพื่อไปรักษาโรงพยาบาลเฉพาะทาง เป็นภาระที่ผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เผชิญมาตลอด เพราะการขอใบส่งตัวรักษา ต้องทำทุกๆ 3 เดือนจนกว่าจะสิ้นสุดการรักษา ซึ่งประชาชนต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพื่อกลับไปขอใบส่งตัว ซึ่งทำให้ประชาชนต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพื่อกลับไปขอใบส่งตัว

ปัจจุบัน : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีนโยบายยกระดับบัตรทอง "ผู้ป่วยในไม่ต้องกลับไปรับใบส่งตัว" ทั่วประเทศ โดยตั้งแต่ 1ม.ค.2565 เป็นต้นมา ผู้ป่วยในสิทธิบัตรทองไม่ต้องกลับไปรับใบส่งตัว ครอบคลุมหน่วยบริการทั่วประเทศ สามารถรับการรักษาได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งกรณีเข้ารับบริการที่หน่วยบริการในเขตหรือข้ามเขต โดยที่หน่วยบริการจะไม่มีการเรียกให้กลับไปรับใบส่งตัวมาเหมือนในอดีต เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด สะดวกสบาย ประหยัดทั้งค่าใช้จ่าย และเวลาเดินทางไปรักษา

อ่าน : หลังเกษียณเลือก "บัตรทอง หรือ "ประกันสังคม" สิทธิไหนดีกว่ากัน

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาประชาชนยังให้ความสนใจเรื่องนี้อย่างมาก เพราะหลายพื้นที่เกิดผลกระทบหลายๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็น เรื่องร้องเรียนในพื้นที่ กทม. จากการเข้ารับบริการในหน่วยปฐมภูมิเขต 13 กรุงเทพมหานคร รวมทั้งกรณีเมื่อปรับรูปแบบการให้บริการแล้ว ทำให้ประชาชนมีปัญหาการรักษา การส่งต่อผู้ป่วยที่ยุ่งยาก และคลินิกหลายแห่งปิดตัว ไม่สามารถเข้ารับบริการได้ทุกที่แบบเดิม ถูกปฏิเสธขอใบส่งตัว ถูกปฏิเสธสิทธิ ถูกเรียกเก็บค่ารักษา และให้ย้ายหน่วยบริการ เป็นต้น

อ่าน : สปสช. ถก ผู้ว่าฯ ชัชชาติ แก้ปมไม่ส่งต่อผู้ป่วย "บัตรทอง"

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง