ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รู้ไว้ไม่เสี่ยง "โรคลีเจียนแนร์" ข้อแนะนำป้องกันติดเชื้อ

สังคม
4 เม.ย. 67
09:13
595
Logo Thai PBS
รู้ไว้ไม่เสี่ยง "โรคลีเจียนแนร์" ข้อแนะนำป้องกันติดเชื้อ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สคร.9 นครราชสีมา เตือนโรงแรม รีสอร์ท รักษาความสะอาดภายในที่พัก ป้องกัน "โรคลีเจียนแนร์" ที่อาจเกิดขึ้นกับผู้เข้าพัก โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับน้ำและความชื้น ที่อาจกลายเป็นแหล่งเจริญเติบโตของ "เชื้อแบคทีเรีย"

ช่วงนี้เป็นฤดูกาลท่องเที่ยวทำให้มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มขึ้น จึงมีคำเตือนจากกระทรวงสาธารณสุขให้โรงแรม รีสอร์ท รักษาความสะอาดของระบบต่าง ๆ ภายในที่พัก เพื่อป้องกัน "โรคลีเจียนแนร์" ที่อาจเกิดขึ้นกับผู้เข้าพัก 

โรคลีเจียนแนร์ คืออะไร

นพ.ทวีชัย วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา กล่าวถึง "โรคลีเจียนแนร์ ว่าเป็น "ภาวะปอดอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย" ที่พบในแหล่งน้ำที่ไม่มีกระบวนการควบคุมคุณภาพน้ำ และความชื้น เช่น ระบบระบายอากาศ ฝักบัว ก๊อกน้ำ อ่างน้ำวน อ่างน้ำร้อน สระน้ำ น้ำพุ แม้กระทั่งพัดลมไอน้ำ หรือเครื่องเพิ่มความชื้นภายในที่พักหรือสปา

รวมถึงสำลักน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ โดยเฉพาะผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง หรือผู้สูบบุหรี่หนัก สามารถอาจทำให้เกิดอาการไม่รุนแรง หรือที่เรียกว่า "ไข้ปอนเตียก" (Pontiac fever)

อาการของผู้ป่วย

สำหรับผู้ป่วยมีอาการเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ และมีไข้สูง โดยทั่วไปมักพบอาการใน 2–5 วัน หลังจากสัมผัสเชื้อ ส่วนคนที่มีภาวะปอดอักเสบจะมีอาการ ไข้ ไอ หายใจเหนื่อยหอบ การป่วยค่อนข้างรุนแรงและอาจจะทำให้การหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ยังไม่เคยพบการแพร่เชื้อจากคนสู่คน

อ่าน : สธ.อาร์เจนติน่าระบุ โรคปอดอักเสบปริศนา คือโรคลีเจียนแนร์

โรคลีเจียนแนร์ ไม่ใช่โรคใหม่และไม่ได้เกิดขึ้นได้ง่าย การแพร่ระบาดมักอยู่ในวงจำกัดเฉพาะผู้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน

"โรคลีเจียนแนร์" ป้องกันได้ มีคำแนะนำสถานประกอบการที่พักนักท่องเที่ยว และประชาชน 

คำแนะนำสำหรับสถานประกอบการ

  • ควบคุมดูแลระบบน้ำและระบบปรับอากาศให้ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับน้ำและความชื้น เช่น ระบบระบายอากาศ ฝักบัว ก๊อกน้ำ อ่างน้ำวน อ่างน้ำร้อน สระน้ำ น้ำพุ หรือเครื่องเพิ่มความชื้นภายในที่พักหรือสปา
  • กรณีสถานที่ หรือ ห้องพักปิดหรือหยุดบริการชั่วคราว ให้ทำความสะอาดด้วยคลอรีนซ็อค (คลอรีนเม็ดฟู่) เปิดระบบน้ำให้มีการไหลเวียนทุกจุด ดูแลระบบน้ำและระบบปรับอากาศอย่างถูกต้อง
  • ตรวจสอบปริมาณคลอรีนในน้ำ ไม่น้อยกว่า 0.2 ppm.
  • อุณหภูมิน้ำในระบบต้องสูงกว่า 60°C และน้ำที่ส่งออกต้องอุณหภูมิสูงกว่า 50°C
  • ทำความสะอาดแหล่งพบเชื้อด้วยสารละลายคลอรีน (เข้มข้น 10 ppm.) หรือน้ำร้อน (65°C นาน 5 นาที)
  • ประเมินความเสี่ยงจากโรคลีเจียนแนร์ โดยดำเนินการตรวจสอบระบบน้ำและระบบปรับอากาศ ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

คำแนะนำเพื่อป้องกันการติดเชื้อสำหรับประชาชนทั่วไป

  • ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง และพักผ่อนให้เพียงพอ หากมีไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ร่วมกับมีความเสี่ยง คือ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีโอกาสได้รับเชื้อโรคลีเจียนแนร์ ควรรีบไปพบแพทย์
  • ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศอย่างถูกวิธีทุก 1–2 สัปดาห์
  • หากไม่ได้ใช้งานฝักบัวหรือก๊อกน้ำต่าง ๆ เป็นเวลานาน ควรเปิดน้ำทิ้งเป็นเวลา 20 นาที
  • หมั่นทำความสะอาดหัวฉีดอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ให้อุดตัน
  • ทำความสะอาดถังน้ำในพัดลมไอน้ำทุกวันด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อหรือผงซักฟอก น้ำที่เติมควรเป็นน้ำสะอาด ผ่านการฆ่าเชื้อ

อ่านข่าวอื่น ๆ

ด่วน ไฟไหม้เรือกลางทะเล "เกาะเต่า" - เร่งช่วยเหลือนักท่องเที่ยว

เช็ก 45 จังหวัด พ.ค.นี้ รองรับ "30 บาทรักษาทุกที่"

ทนายความอาสา 1 ตำบล 1 ทนายความ นำร่อง 14 แห่ง เริ่ม พ.ค.นี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง