ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ดัน “สินค้าเกษตร” เจาะตลาดเกาหลี ดึงห่วงโซ่สินค้าไฮเทคลงทุนไทย

เศรษฐกิจ
28 มี.ค. 67
15:39
467
Logo Thai PBS
ดัน “สินค้าเกษตร” เจาะตลาดเกาหลี ดึงห่วงโซ่สินค้าไฮเทคลงทุนไทย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ไทยจับมือเกาหลี ทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจEPA ดึงห่วงโซ่สินค้าไฮเทคลงทุนไทย พร้อมดันสินค้าเกษตรไทย ทั้งอาหารและผลไม้ มังคุด-มะม่วง เจาะตลาดเกาหลีเพิ่ม

วันนี้ (28 มี.ค.2567) นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ได้เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามเอกสารขอบเขต (TOR) สำหรับการเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (Economic Partnership Agreement: EPA) ไทย-เกาหลี 

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามเอกสารขอบเขต (TOR) ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (Economic Partnership Agreement: EPA) ไทย-เกาหลี

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามเอกสารขอบเขต (TOR) ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (Economic Partnership Agreement: EPA) ไทย-เกาหลี

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามเอกสารขอบเขต (TOR) ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (Economic Partnership Agreement: EPA) ไทย-เกาหลี

ทั้งนี้คาดว่า จะเริ่มการเจรจารอบแรก ภายในกลางปี 2567 และตั้งเป้าเจรจาเสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 2568 หรือต้นปี 2569 การจัดทำความตกลง EPA ไทย-เกาหลี เป็นหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการเร่งรัดการจัดทำความตกลงการค้าเสรีของไทยให้มากขึ้น

เอฟทีเอฉบับนี้ จะเป็นการต่อยอดจากเอฟทีเอที่ไทยและเกาหลีเป็นภาคีร่วมกัน ทั้งความตกลงการค้าเสรีอาเซียน–เกาหลี (AKFTA) และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย อีกทั้งยังช่วยดึงดูดการลงทุนจากสาธารณรัฐเกาหลีเข้ามาในไทยเพิ่มขึ้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่น่าสนใจของไทยในขณะนี้ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนและเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ไทยและเกาหลีมีความสนใจร่วมกันในการพัฒนาความร่วมมือใหม่ ๆ อย่าง การเสริมสร้างความแข็งแกร่งในห่วงโซ่อุปทานการผลิต และความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัล

สินค้าที่ไทยจะได้รับประโยชน์จากความตกลง EPA เช่น ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และประมง เนื้อไก่แช่แข็งและแปรรูป อาหารทะเลแช่แข็งและแปรรูป ผลไม้เมืองร้อน มะม่วง ฝรั่ง และมังคุด ผลิตภัณฑ์อาหารอื่น ๆ แป้ง ซอสและของปรุงรสหรือแม้แต่ ผลิตภัณฑ์ไม้ ไม่ว่าจะเป็น ไม้แปรรูป พาติเคิลบอร์ด ไม้อัดพลายวูด และเคมีภัณฑ์

ขณะที่สาขาบริการที่ไทยคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการเปิดตลาดการค้าบริการของเกาหลีอย่าง บริการด้านธุรกิจ บริการการขนส่ง คลังสินค้า และบริการด้านโรงแรมและภัตตาคาร

เกาหลีลงทุนในบ้านเราหลายหมื่นล้าน อย่าง เครื่องใช้ไฟฟ้าซัมซุง รถยนต์ KIA และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สนใจอยากเปิดตลาดร่วมกับไทย และเกษตรกรไทยสนใจขยายตลาดไปเกาหลีเพิ่ม เช่น มังคุดและมะม่วง
นายคอนกี โร   ปลัดกระทรวงการค้า อุตสาหกรรม และพลังงาน สาธารณรัฐเกาหลี

นายคอนกี โร ปลัดกระทรวงการค้า อุตสาหกรรม และพลังงาน สาธารณรัฐเกาหลี

นายคอนกี โร ปลัดกระทรวงการค้า อุตสาหกรรม และพลังงาน สาธารณรัฐเกาหลี

นอกจากนี้ไทยยังมีแหล่งผลิตอาหารที่เป็นที่ต้องการ เช่น ไก่แช่แข็ง อาหารทะเลแช่แข็ง ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะพยายามทำให้ของเราส่งออกสินค้าให้มากที่สุด จะเป็นประโยชน์ร่วมกัน

ปี 2566 เกาหลี เป็นคู่ค้าอันดับ 12 ของไทย มีมูลค่าการค้าระหว่างกัน 14,736.86 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออกไปสาธารณรัฐเกาหลี 6,070.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สินค้าส่งออกสำคัญ อาทิ น้ำมันสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ยาง น้ำตาลทราย แผงวงจรไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม และไทยนำเข้าจากสาธารณรัฐเกาหลี 8,666.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้านำเข้าสำคัญ อาทิ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ แผงวงจรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ

อ่านข่าวอื่นๆ:

ชาวสวนมะม่วงเฮ! "น้ำดอกไม้-เขียวเสวย" ราคาพุ่งกก.ละ 25-40 บาท

ล้งจีน บุกเมืองจันทบุรี ชิงตลาดส่งออกผู้บริโภค "ทุเรียน"ไทย

กกพ.เคาะ "ค่าไฟใหม่" งวด พ.ค.– ส.ค. อยู่ที่ 4.18 บาท

ข่าวที่เกี่ยวข้อง