ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ไขคำตอบ "กลิ่นไหม้" คลุมกทม.อันตรายหรือไม่

สิ่งแวดล้อม
21 มี.ค. 67
10:56
1,807
Logo Thai PBS
ไขคำตอบ "กลิ่นไหม้" คลุมกทม.อันตรายหรือไม่
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ไขคำตอบ "กลิ่นไหม้" คลุมกทม.ข้ามคืนอันตรายหรือไม่ กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ยังไม่ฟันธงต้นตอ เร่งวิเคราะห์ค่าสารมลพิษรายชั่วโมง หลังฝุ่น PM 2.5 พีคกลางดึก กทม.ชี้ปฏิกิริยาการเผาไหม้เสี่ยงระคายเคืองตา

#กลิ่นไหม้ ติดคำค้นในแอปพลิเคชัน X หลังช่วงกลางดึกของวันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา ประชาชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รายงานผ่านโลกออนไลน์พบลักษณะของกลิ่นไหม้ ฟุ้งกระจายในหลายพื้นที่ และบรรยากาศลักษณะคล้ายหมอกหนาปกคลุม

แม้ว่ากทม.จะระบุสาเหตุเบื้องต้นว่าหนึ่งในสาเหตุมาจากการเผาจนเกิดฝุ่น ไนโตรเจน และแอมโมเนีย จะเกิดปฏิกิริยาได้ดีในสภาวะที่มีความชื้นสูงแต่เชื่อว่าหลายคนก็ยังไม่มั่นใจว่าหากสูดดมเข้าไปแล้วจะเกิดปัญหาหรือไม่

กลิ่นไหม้-ฝุ่น PM2.5 คลุมกทม.-ปริมณฑล

กลิ่นไหม้-ฝุ่น PM2.5 คลุมกทม.-ปริมณฑล

กลิ่นไหม้-ฝุ่น PM2.5 คลุมกทม.-ปริมณฑล

คพ.เร่งวิเคราะห์ค่าสารมลพิษหาต้นตอกลิ่นไหม้

น.ส.ปรีญาพร สุวรรณเกษ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ว่า จากการติดตามพบว่ากลิ่นไหม้ดังกล่าวหายไปในช่วงเวลา 04.00 น.ของวันนี้ และคพ.ได้วิเคราะห์เบื้องต้นยังไม่ฟันธงได้ชัดเจนว่าต้นตอของกลิ่นไหม้ใน กทม.-ปริมณฑล มาจากการเผาไหม้จากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งก่อนหน้านี้เคยพบจุดความร้อนสูงมากในกัมพูชา และส่งผลให้เกิดฝุ่น PM2.5 

กำลังตรวจสอบว่ามาจากตรงไหนในไทย เมื่อเช้าคุยกันแล้ว ลมไม่ได้มาจากกัมพูชา แต่มาทางเหนือทางทิศตะวันออก ประกอบกับในไทยมีฝนตก ซึ่งจะต้องไล่ดูค่ารายชั่วโมงทั้งในกทม.-รอบนอก เพราะค่าฝุ่น PM 2.5 ขึ้นช่วงเที่ยงคืนและลดลงช่วงเช้ามืด

ขอวิเคราะห์ค่าฝุ่นรายชั่วโมงในพื้นที่กทม.-ปริมณฑล เพื่อดูค่าสารมลพิษที่เป็นปัจจัยทำให้ทำค่าฝุ่นพีค บางช่วงและมีกลิ่นไหม้ดังกล่าว จะได้คำตอบที่ชัดเจน 

กทม.เตือนกลิ่นไหม้ระคายเคืองตา

นายพรพรหม วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารด้านความยั่งยืนของกรุงเทพมหานคร ให้คำตอบถึงสาเหตุของค่าฝุ่น PM2.5 ที่กลับมาพุ่งสูงใน กทม. ดังนี้

  • ทิศทางลมวันที่ 20 มี.ค. เป็นทิศตะวันออก (ตามภาพ) ซึ่งต่างจากวันอื่น ๆ ช่วงนี้ที่มาจากอ่าวไทย ส่วนจุดเผาในช่วง 24 ชม.ที่ผ่านมาพบที่ปริมณฑลหลายจุด
  • ระยะนี้สภาพอากาศแปรปรวน มีพายุฤดูร้อน ประกอบกับมีความกดอากาศสูงผ่านทางอีสานมาเมื่อวาน ส่งผลให้ความสูงของชั้นบรรยากาศผสม (Mixing Height) ลดต่ำลง ฝุ่นละอองเกิดการสะสมตัวเพิ่มมากขึ้น
  • ความชื้นในบรรยากาศทำให้เกิดฝุ่นละออง PM2.5 ทุติยภูมิ เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะชนิดที่เกิดจากสารประกอบไนโตรเจนและแอมโมเนียจะเกิดปฏิกิริยาได้ดีในสภาวะที่มีความชื้นสูง
  • รูปแบบฝุ่นทุติยภูมิ เกิดจากก๊าซบางชนิดที่ลอยอยู่ในอากาศ เช่น ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ทำปฏิกิริยากับแสงแดด กลายเป็นฝุ่นลอยอยู่ในอากาศ มักเกิดในช่วงเดือนก.พ.–มี.ค.
สภาพอากาศขมุกขมัวช่วงกลางคืนของวันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา

สภาพอากาศขมุกขมัวช่วงกลางคืนของวันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา

สภาพอากาศขมุกขมัวช่วงกลางคืนของวันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มีกำมะถัน เช่น การเผาไหม้ถ่านหินหรือน้ำมัน ในโรงไฟฟ้า โรงถลุงโลหะ และโรงกลั่นน้ำมัน ส่วนออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงภายใต้แรงดันอากาศที่สูง

ทำให้เกิดการรวมตัวกันของออกชิเจน และไนโตรเจนเป็นไนตริคออกไซด์ (NO) ซึ่งเป็นก๊าซที่ไม่เป็นอันตราย แต่เมื่อขึ้นสู่บรรยากาศ NO จะถูกออกซิไดซ์ เป็นก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) มีสีเหลืองอมน้ำตาล เป็นสารพิษที่ระคายเคืองตา

แหล่งกำเนิดหลักของออกไซด์ของไนโตรเจน เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในรถยนต์ การเผาไหม้ถ่านหินหรือก๊าซธรรมชาติ หรือกระบวนการอุตสาหกรรมในโรงงานผลิตปุ๋ยและวัตถุระเบิด

โดยหากคุณภาพอากาศอยู่ในระดับสีส้ม หมายถึงเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ประชาชนทั่วไป ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก และควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา

ส่วนประชาชนกลุ่มเสี่ยง ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์

อ่านข่าวอื่นๆ

สมัครสอบ ก.พ.67 เช็กจำนวนผู้สมัคร-ศูนย์สอบไหนเต็มแล้วบ้าง

สภาพอากาศวันนี้ เหนือ-กลางฝุ่นบางลง มีลม ฝนตก 60% พื้นที่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง