ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ปลาเครียด ! กรมประมง แนะเกษตรกรรับมือภัยแล้ง เฝ้าระวังสัตว์น้ำ

เศรษฐกิจ
14 มี.ค. 67
17:49
398
Logo Thai PBS
ปลาเครียด ! กรมประมง แนะเกษตรกรรับมือภัยแล้ง เฝ้าระวังสัตว์น้ำ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมประมงแนะเกษตรกร วางแผนรับมือภัยแล้ง ชี้แหล่งน้ำธรรมชาติปริมาณลดลง ส่งกระทบต่อสัตว์น้ำ มีอาการเครียด ป่วย ตาย เสนอลดการผลิต คัดเลือกพันธุ์สัตว์น้ำที่แข็งแรง จากฟาร์มที่ได้มาตรฐาน

วันนี้ (14 มี.ค.2567) นายมานพ หนูสอน รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทย ได้เข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการ ทำให้ในช่วงเวลากลางวันอุณหภูมิสูงขึ้นและอากาศร้อนจัด ปริมาณน้ำทั้งในแหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำชลประทานลดน้อยลง ส่งผลให้สัตว์น้ำทั้งที่อยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติ และที่เกษตรกรเลี้ยงในบ่อดินรวมถึงในกระชัง ปรับตัวไม่ทัน เกิดความเครียด อ่อนแอ ป่วย และตายได้

นายมานพ หนูสอน รองอธิบดีกรมประมง

นายมานพ หนูสอน รองอธิบดีกรมประมง

นายมานพ หนูสอน รองอธิบดีกรมประมง

ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น กรมประมง จึงได้จัดทำแผนเตรียมรับสถานการณ์ในช่วงฤดูแล้ง ประจำปี 2567 โดยมีการวางแผนการให้ความช่วยเหลือไว้ 3 ระยะคือ การเตรียมรับสถานการณ์ก่อนเกิดภัยแล้ง การให้ความช่วยเหลือขณะเกิดภัยแล้ง และการให้ความช่วยเหลือหลังเกิดภัยแล้ง เพื่อให้สามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ กรมประมง ยังได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมประชาสัมพันธ์แจ้งเตือน รวมถึงสร้างการรับรู้ข้อมูลข่าวสารให้แก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

เพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากภัยแล้งด้านประมง พร้อมแจ้งเตือนเกษตรกรให้เฝ้าระวัง หมั่นดูแลสัตว์น้ำและปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมประมงอย่างเคร่งครัด โดยในส่วนของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

โดยกรมประมงแนะนำให้เกษตรกรปฏิบัติ เช่น ควรปรับลดขนาดการผลิต หรืองดเว้นการเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยทำการตากบ่อและตกแต่งบ่อเลี้ยงในช่วงฤดูแล้งแทน เพื่อเตรียมไว้เลี้ยงสัตว์น้ำในรอบต่อไป ทยอยจับสัตว์น้ำที่ได้ขนาดขึ้นจำหน่ายหรือบริโภค เพื่อลดปริมาณสัตว์น้ำภายในบ่อ วางแผนการเลี้ยงสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับความพร้อมของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทั้งชนิด ฤดูกาล สภาพภูมิอากาศ และเหตุการณ์ ซึ่งมีอิทธิพลต่อความต้องการพันธุ์สัตว์น้ำ

หากจำเป็นต้องเลี้ยงสัตว์น้ำ ควรคัดเลือกพันธุ์สัตว์น้ำที่มีความแข็งแรง จากฟาร์มผู้ผลิตที่ได้มาตรฐานและเชื่อถือได้ และวางแผนการสำรองแหล่งน้ำต้นทุน เพื่อใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และเก็บรักษาพ่อแม่สัตว์น้ำ ตลอดช่วงฤดูแล้งและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น

รองอธิบดีกรมประมงกล่าวอีกว่า หากเป็นเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง ควรปรับลดขนาดการผลิต หรืองดเว้นการเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยทำความสะอาดและซ่อมแซมกระชังในช่วงฤดูแล้งแทน เพื่อเตรียมไว้เลี้ยงสัตว์น้ำในรอบต่อไป และทยอยจับสัตว์น้ำที่ได้ขนาดขึ้นมาจำหน่ายหรือบริโภค เพื่อลดปริมาณสัตว์น้ำภายในกระชัง เป็นต้น

ทั้งนี้โรคสัตว์น้ำที่ควรเฝ้าระวังในช่วงฤดูแล้ง เช่น โรคที่เกิดจากปรสิต ได้แก่ เห็บระฆัง ปลิงใส เห็บปลา หมัดปลา โดยโรคจากปรสิตสามารถควบคุมได้ โดยการตัดวงจรของปรสิต รักษาความสะอาด กำจัดตะกอน เศษอาหาร ควบคู่กับการควบคุมคุณภาพน้ำ และการใช้สารเคมี

โรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคที่เรีย เช่น โรคตัวด่าง โรคแผลตามลำตัว โรคสเตรปโตคอคคัส เป็นต้น ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียกลุ่มแบคทีเรียฉวยโอกาส ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำทั่วไป โดยจะเข้าทำอันตรายต่อสัตว์น้ำ เมื่อสัตว์น้ำอ่อนแอ

อ่านข่าวอื่นๆ:

ดีเดย์ 1 เม.ย.นี้ "แบงก์ชาติ" เริ่มมาตรการแก้หนี้เรื้อรัง ช่วยปิดจบเร็ว

ยางพาราพุ่งทะลุ 90 บาท สูงสุดในรอบ 7 ปี

หนี้ครัวเรือนพุ่ง ส่งออกชะลอตัว สอท.จี้รัฐตรึงราคาดีเซล-ก๊าซหุงต้ม

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง