ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เช็กขั้นตอน สมัครสอบ ก.พ. ประจำปี 2567 ภาค ก. แบบ Paper & Pencil จำนวน 380,000 ที่นั่ง

สังคม
11 มี.ค. 67
19:57
67,049
Logo Thai PBS
เช็กขั้นตอน สมัครสอบ ก.พ. ประจำปี 2567 ภาค ก. แบบ Paper & Pencil  จำนวน 380,000 ที่นั่ง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ใครกำลังจะสมัครสอบ ก.พ. เตรียมตัวให้พร้อม ล่าสุด สำนักงาน ก.พ. เตรียมเปิดสอบ ภาค ก. (Paper & Pencil) ประจำปี 2567 จำนวน 380,000 ที่นั่ง เริ่มสมัครได้ 19 มี.ค. - 9 เม.ย.นี้ เช็กวัน เวลา เงื่อนไขและขั้นตอนการสมัครสอบที่นี่

วันนี้ (11 มี.ค.2567) สำนักงาน ก.พ. หรือ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน แจ้งแผนการดำเนินการสอบ ภาค ก. (Paper & Pencil) ประจำปี 2567 พร้อมรายชื่อศูนย์สอบและจำนวนที่นั่งสอบ โดยมีแผนการดำเนินการสอบ ทุกระดับวุฒิ มีรายละเอียด ดังนี้

  • วันที่ 19 มี.ค. -9 เม.ย.67 : กรอกข้อมูลและยืนยันการสมัครสอบ อัปโหลดรูปถ่าย และพิมพ์แบบฟอร์มชำระเงิน 
  • ชำระค่าธรรมเนียมสอบ ภายในเวลา 22.00 น. ของวันถัดจากวันที่ยืนยันการสมัคร
  • วันที่ 12-22 เม.ย.67 : เปลี่ยนรูปถ่าย เฉพาะผู้ที่อัปโหลดรูปผิดพลาด อนุญาตเพียง 1 ครั้ง 
  • วันที่ 9 พ.ค. 67 : ประกาศรายชื่อผู้สมัครสอบ 
  • วันที่ 2 ส.ค. 67 : ประกาศกำหนดวัน เวลา สถานที่สอบ ระเบียบเกี่ยวกับการสอบ และพิมพ์บัตรประจำตัวสอบ 
  • วันที่ 25 ส.ค. 67 : สอบข้อเขียน 
  • วันที่ 7 พ.ย. 67 : ประกาศรายชื่อผู้สอบผ่าน การวัดความรู้ความสามารถทั่วไป 
  • วันที่ 14 พ.ย. 67 : ดูผลคะแนนสอบ 
  • วันที่ 21 พ.ย. 67 : พิมพ์หนังสือรับรองผลการสอบผ่าน 

** หมายเหตุ กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

สามารถติดตามและศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ประจำปี 2567 ทั้งหมด ได้ที่ : https://job3.ocsc.go.th/ หรือ ดาวน์โหลดเอกสาร ประกาศสำนักงาน ก.พ. เรื่อง รับสมัครสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ประจำปี 2567 นอกจากนี้ผู้สนใจสมัครสอบ ก.พ. ยังสามารถติดตามข่าวประกาศแจ้งเตือนและสรุปผลการรับสมัครในแต่ละช่วงเวลาได้ที่ เฟซบุ๊กสำนักงาน ก.พ. อีกหนึ่งช่องทาง

ขั้นตอนการสมัครสอบ

ขั้นตอนการสมัครสอบ กพ

ขั้นตอนการสมัครสอบ กพ

ขั้นตอนการสมัครสอบ กพ

  1. อ่านประกาศสอบ กรอกข้อมูลและยืนยันข้อมูล
  2. อัปโหลดรูปถ่าย หน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำ ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน สำหรับการสมัครสอบและพิมพ์แบบฟอร์มการชำระเงิน
  3. ชำระเงิน ค่าธรรมเนียมการสอบ ผ่านแอปพลิเคชัน "Krungthai Next" หรือ "เป๋าตัง" 
  4. ตรวจสอบสถานะการสมัครสอบ 
  5. พิมพ์บัตรประจำตัวสอบ

รายชื่อศูนย์สอบ - จำนวนที่นั่งสอบ

รายชื่อศูนย์สอบ - จำนวนที่นั่งสอบ มี 12 ศูนย์สอบ รวม 380,000 ที่นั่งสอบ มีรายละเอียด ดังนี้

  • 01 กรุงเทพฯ และนนทบุรี : 78,000 ที่นั่ง
  • 02 พระนครศรีอยุธยา : 25,000 ที่นั่ง
  • 03 ราชบุรี : 24,000 ที่นั่ง
  • 04 ชลบุรี : 28,000 ที่นั่ง
  • 05 เชียงใหม่ : 32,000 ที่นั่ง
  • 06 พิษณุโลก : 31,000 ที่นั่ง
  • 07 นครราชสีมา : 26,000 ที่นั่ง
  • 08 อุดรธานี : 20,000 ที่นั่ง
  • 09 อุบลราชธานี : 27,000 ที่นั่ง
  • 10 ขอนแก่น : 30,000 ที่นั่ง
  • 11 สุราษฎร์ธานี : 26,000 ที่นั่ง
  • 12 สงขลา : 33,000 ที่นั่ง

** หมายเหตุ กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

 

สอบ ก.พ. คืออะไร

การสอบ ก.พ. อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ สำนักงาน ก.พ. หรือ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ซึ่งเป็นองค์การกลางทำหน้าที่บริหารทรัพยากรบุคคลของระบบราชการพลเรือน  ทำหน้าที่ดูแลการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือน ในกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ได้แก่

  • การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน
  • การสอบเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ
  • การแต่งตั้งโยกย้าย
  • การเลื่อนตำแหน่งและอัตราเงินเดือนไปจนถึงการดำเนินการทางวินัย
  • การออกจากราชการ
  • เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

การสอบ ก.พ. คือ การสอบคัดเลือกบุคคลเข้ามาทำงานให้หน่วยงานราชการ ซึ่งจะมีการจัดสอบเป็นประจำทุกปี มีทั้งแบบ Paper & Pencil และ e-Exam

เรียกได้ว่า การสอบ ก.พ. เป็นด่านแรกของผู้ที่สนใจเข้าสู่สายงานราชการ แบ่งออกเป็น 3 ภาค ดังนี้ 

  • สอบภาค ก. คือ วัดความรู้ความสามารถทั่วไป
  • สอบภาค ข. คือ วัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง
  • สอบภาค ค. คือ วัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง

ข้อมูลจาก gurupoliceacademy อธิบายว่า 

ภาค ก. คือ การสอบภาคความรู้ ความสามารถทั่วไปที่มีการจัดสอบเป็นประจำในทุกปี ถือเป็นด่านแรกที่ต้องสอบให้ผ่านเพื่อไปสู่ขั้นต่อไป โดย ภาค ก. แบ่งออกเป็น 3 วิชา ได้แก่

  • วิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุม การคิดวิเคราะห์เชิงภาษา, การคิดวิเคราะห์เชิงนามธรรม และการคิดวิเคราะห์เชิงปริมาณ
  • วิชาภาษาอังกฤษ เป็นวิชาที่วัดทักษะด้านต่าง ๆ ของภาษาอังกฤษในระดับเบื้องต้น ทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน
  • วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี ซึ่งเป็นการทดสอบความรู้ที่เป็นพื้นฐานของการเป็นข้าราชการที่ดี

การสอบ ก.พ. แบบ Paper & Pencil เป็นการสอบแบบปกติด้วยการฝนกระดาษคำตอบ แตกต่างจากการสอบแบบ E-exam คือ การสอบสำหรับบุคคลทั่วไป แต่จะทำข้อสอบด้วยคอมพิวเตอร์ 

ภาค ข. คือ ผู้สมัครสอบจะต้องนำหนังสือรับรองการสอบผ่านภาค ก. มายืนยันก่อนจึงจะสามารถสมัครได้ การสอบในภาค ข. เป็นการสอบที่เน้นใช้ความรู้และความสามารถเฉพาะตำแหน่ง ผู้ที่จัดสอบในภาคนี้จะเป็นหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่เปิดรับสมัคร

สำหรับภาค ค. ผู้ที่เข้าสอบได้ ต้องสอบผ่านทั้งภาค ก. และ ภาค ข. มาแล้ว ก่อนที่จะสอบสัมภาษณ์ โดยจะมีผู้สัมภาษณ์เป็นหน่วยงานต้นสังกัดนั้น ๆ มาร่วมทำการทดสอบด้วย นอกจากสอบสัมภาษณ์แล้ว อาจมีการทดสอบเพิ่มเติม เช่น การทดสอบร่างกาย จิตวิทยา ร่วมด้วย

อ่านข่าวอื่น ๆ

ขึ้นฟรีทางด่วน 9 เส้นทางยาว 7 วันสงกรานต์ 11-17 เม.ย.

"รอมฎอน 2567" เดือนแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิม

พบศพ "สาวเมียนมา" ถูกทิ้งในบ่อน้ำกุฏิร้าง ตร.เร่งตามอดีตแฟนหนุ่ม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง