ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

แก้ภัยแล้ง-แย่งน้ำ "บึงบอระเพ็ด" ลดขัดแย้ง "ชาวนา-ชาวประมง"

ภัยพิบัติ
13 มี.ค. 67
16:11
604
Logo Thai PBS
แก้ภัยแล้ง-แย่งน้ำ "บึงบอระเพ็ด" ลดขัดแย้ง "ชาวนา-ชาวประมง"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กางแผนแก้ความขัดแย้งที่ดิน - น้ำ "บึงบอระเพ็ด" แบ่ง 3 โซน "ให้-หวง-ห้าม" แก้ปัญหาชาวบ้านในพื้นที่ 6 ตำบลบึงบอระเพ็ด ตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำร่วมเข้าใจ-แก้ปัญหาจัดสรรน้ำอย่างเข้าใจ

"บึงบอระเพ็ด" เป็นบึงน้ำขนาดใหญ่ราว 130,000 ไร่ เป็นทั้งแหล่งน้ำและพื้นที่ทำกิน บนพื้นที่ 3 อำเภอใน จ.นครสวรรค์ คือ อ.เมืองนครสวรรค์ อ.ชุมแสง และ อ.ท่าตะโก มีประชาชนใช้ประโยชน์ในพื้นที่ 5 ตำบล ได้แก่ ต.ทับกฤช ต.เกรียงไกร ต.พระนอน ต.พนมเศษ และ ต.วังมหากร

ข้อมูล : ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์

ข้อมูล : ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์

ข้อมูล : ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์

ที่ผ่านมา "บึงบอระเพ็ด" มีปัญหาสะสมหลายด้าน ทั้งขอบเขตบึงไม่ชัดเจน การบุกรุกพื้นที่ การใช้ประโยชน์พื้นที่ทับซ้อน สิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรม การบริหารจัดการที่ไม่เป็นเอกภาพ และความไม่เข้าใจกันของทุกภาคส่วน กระทั่งปี 2562 คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบแผนหลักการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์

อ่านข่าว : อบจ.นครสวรรค์ พร้อมรับมือ "ภัยแล้ง" เฝ้าระวังแล้งหนัก 6 อำเภอ

แก้ปัญหาบุกรุกเปิดให้เช่าอยู่อาศัย-ทำการเกษตร

นายณพล อนุตตรังกูร หัวหน้าศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ กล่าวว่า  แนวทางในการแก้ไขปัญหาของพื้นที่บึงบอระเพ็ด เริ่มดำเนินการใน 3 ช่วง คือ ปี 2557-2562 จะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ดิน ต่อมาในช่วงปี 2564-2566 จะเป็นการแก้ปัญหาจัดการน้ำ และในช่วงปี 2567-2569 จะเป็นการพัฒนาอาชีพ

นายณพล อนุตตรังกูร หัวหน้าศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์

นายณพล อนุตตรังกูร หัวหน้าศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์

นายณพล อนุตตรังกูร หัวหน้าศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์

การจัดสรรที่ดินเหมือนเป็นกระดุมเม็ดแรก ในการแก้ปัญหาที่ดิน ในพื้นที่บึงบอระเพ็ด เพราะชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ตั้งแต่ มติ ครม.ปี 2562 และได้รับงบประมาณในการบริหารจัดการปัญหาเรื่องที่ดินบริเวณบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ ทำให้ชาวบ้านที่อยู่ในฐานะผู้บุกรุก ในอดีต ได้สถานะเป็นผู้เช่าที่ดิน และมีการโซนนิ่งบึงบอระเพ็ดเป็น 3 เขต คือ 1.เขตห้าม 2.เขตหวง 3.เขตให้โดยมีมาตรการที่แตกต่างกัน ดังนี้

ข้อมูล : ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์

ข้อมูล : ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์

ข้อมูล : ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์

1.เขตห้าม เป็นพื้นที่ห้ามชาวบ้านใช้ประโยชน์อย่างเด็ดขาด ถือเป็นพื้นที่ไข่แดงของบึงบอระเพ็ด 2.เขตหวง ประชาชนสามารถเช่าได้ในรูปแบบปีต่อปีโดยสามารถทำการเกษตรได้อย่างเดียว และ 3.เขตให้ “สีเขียว” สามารถเช่าได้ระยะเวลา 3 ปี ทั้งการอยู่อาศัยและเกษตรกรรรม

ปัญหาที่ดินทำกิน ปัจจุบันแก้ไขปัญหาหมดเรียบร้อยแล้ว เพราะที่ผ่านมา เมื่อน้ำลดจะมีที่ดินโผล่ เช่น เมื่อน้ำในบึงบอระเพ็ดลดลง 1 เมตร จะมีที่ดินโผล่ขึ้นเป็นพันไร่ เพราะกายภาพของบึงบอระเพ็ดมีลักษณะคล้ายกับจานข้าว เมื่อน้ำลดดินจะโผล่มาเยอะ ทำให้ในอดีตจะมีการบุกรุกเป็นจำนวนมาก เมื่อน้ำท่วมก็เขยิบออกมา เมื่อน้ำลงก็บุกรุกเข้ามา

ดังนั้นจึงทำให้ ณ วันนี้ ไม่มีการบุกรุกพื้นที่บึงบอระเพ็ดแล้ว และจากการพูดคุยทำให้จากผู้บุกรุกกลายเป็นผู้ร่วมพัฒนา ชาวบ้านก็รู้สึกยินดีสามารถเป็นผู้เช่าได้จึงช่วยทำให้ปัญหาการบุกรุกเป็นศูนย์ อย่างไรก็ตาม เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ ก็ยังคงดูแลการบุกรุกและการใช้ที่ดินด้วย

ตั้ง “องค์กรผู้ใช้น้ำ” แก้ปัญหาแย่งน้ำทำนา 6 ตำบล

หัวหน้าศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ยังกล่าวว่า เมื่อแก้ปัญหาที่ดินแล้ว ก็จะแก้ไขปัญหาการจัดการน้ำ ที่ผ่านมา มีข้อขัดแย้งในการใช้น้ำระหว่างชาวนาและชาวประมง เนื่องจากในช่วงที่ราคาข้าวดีชาวนาก็สูบน้ำไปทำนา ทำให้น้ำในบึงบอระเพ็ดลดลงและส่งผลกระทบ

บึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์  ภาพ : เอกศักดิ์ คุ้มทรัพย์ , สรายุทธ พงศ์ทักษิณ

บึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ ภาพ : เอกศักดิ์ คุ้มทรัพย์ , สรายุทธ พงศ์ทักษิณ

บึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ ภาพ : เอกศักดิ์ คุ้มทรัพย์ , สรายุทธ พงศ์ทักษิณ

เนื่องจากปัญหาน้ำมีจำกัด แต่มีการใช้จากเกษตรกรหลายกลุ่ม โดยชาวบ้านในพื้นที่ ต.เกรียงไกร จะเลี้ยงปลา ต.ทับกฤช ต.พนมเศษ ต.วังมหากร และ ต.พระนอน จะทำนาทั้งหมด ทำให้เกิดการแย่งน้ำในลำคลองสาขาในพื้นที่ของแต่ละตำบล และตำบลเดียวกัน

ที่ผ่านมาไม่มีการคุยกัน จึงเกิดความขัดแย้งกัน และกดดันกับภาครัฐ ซึ่งสร้างความหนักใจให้กับภาครัฐ
ข้อมูล : ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์

ข้อมูล : ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์

ข้อมูล : ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์

ต่อมาจึงมีการจัดตั้ง "องค์กรผู้ใช้น้ำ" เป็นตัวแทนของผู้ใช้น้ำรอบบึงบอระเพ็ดทั้ง 6 ตำบล จากนั้นขึ้นทะเบียนการบริหารจัดการน้ำ ร่วมกับเครือข่ายบึงบอระเพ็ด โดยองค์กรผู้ใช้น้ำจะรับทราบปัญหาของแต่ละพื้นที่ และสถานการณ์น้ำ จนนำไปสู่การพูดคุย เพื่อหาทางออกในการจัดการน้ำในแต่ละพื้นที่ร่วมกันทั้งหมด 6 ตำบล

ข้อมูล : ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์

ข้อมูล : ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์

ข้อมูล : ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์

นายณพล ยังกล่าวว่า พื้นที่รอบบึงบอระเพ็ดส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำซึ่งไม่เยอะมาก แต่เรื่องของน้ำอุปโภคและบริโภคจะถูกจัดลำดับความสำคัญให้อยู่ในลำดับแรก

เมื่อก่อนมีม็อบ วันนี้อยากให้เปิดประตูระบายน้ำ อีกวันอยากให้ปิดประตูระบายน้ำ แต่วันนี้ปลดล็อกไปแล้ว เพราะเกิดการคุยกัน การรับรู้ข้อมูล และมีองค์กรผู้ใช้น้ำเป็นด่านแรกในการพูดคุยในตำบลก่อนเพื่อแก้ไขปัญหาและนำมาสู่การพูดคุยในวงที่ใหญ่ขึ้น

ในวงของ 6 ตำบล ที่มีองค์กรผู้ใช้น้ำ และมีภาครัฐ และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เป็นกรรมการร่วมกัน คุยกันเพื่อหาแนวทางแก้ไขต่อไป เราเป็นหนึ่งเดียว แก้ไขปัญหาไปได้มาก และเป็นโอกาสอันดีในการรับงบประมาณ

อ่านข่าว : จระเข้น้อย NEW GEN คืนถิ่น"บึงบอระเพ็ด" ในรอบ 7 ปี

นอกจากนี้ จะนำไปสู่การขับเคลื่อนทางกฎหมาย โดย พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า จะมีเรื่องของการใช้น้ำที่เมื่อทำให้น้ำเหือดแห้ง และส่งผลกระทบต่อสัตว์ป่า จะมีโทษทั้งจำและปรับ ซึ่งจะนำมาผลักพูดคุยหารือกันเพื่อนำไปสู่การจัดทำกฎหมายลูกของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ดด้วย

ชางประมงในพื้นที่หาปลาในบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์

ชางประมงในพื้นที่หาปลาในบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์

ชางประมงในพื้นที่หาปลาในบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์

ปัจจุบันรอบบึงบอระเพ็ดน้ำเต็ม เพราะมีการขุดลอกคลองและสำรองน้ำ ซึ่งน้ำกินน้ำใช้ต้องใส่ให้เต็ม และน้ำเพื่อการเกษตร และการป้องกันสาธารณภัย โดยทดลองนำเฮลิคอปเตอร์ไปดับไฟป่า หรือ การบรรเทาสาธารณภัย และน้ำรักษาระบบนิเวศ

เสนอทำ ปตร.“วังหมาเน่า” ช่วยพื้นที่ตอนบน “บึงบอระเพ็ด”

หัวหน้าศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ กล่าวว่า ทางคณะทำงานของมหิดล ยังมีข้อเสนอเชิงพื้นที่ เพื่อพัฒนาพื้นที่ตอนบนของบึงบอระเพ็ด เพื่อลดการใช้น้ำบึงบอระเพ็ด โดยผลักดันโครงการประตูระบายน้ำวังหมาเน่า กั้นแม่น้ำน่านเพื่อยกระดับน้ำเข้าคลองสาขา (คลองปลากด) โดยจะช่วยให้ชาวบ้านด้านบนของบึงบอระเพ็ด จะสามารถสูบน้ำได้ใกล้กว่าเดิมและมีน้ำหล่อเลี้ยง ขณะที่คนข้างล่างก็พอใจเพราะไม่ต้องใช้น้ำบึงจากบึงบอระเพ็ด 

ข้อมูล : ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์

ข้อมูล : ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์

ข้อมูล : ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์

รวมถึงพัฒนาโครงการข่ายน้ำให้ไหลเชื่อมโยงทุกพื้นที่ตอนบน (ต.ทับกฤช ต.วังใหญ่ ต.ไผ่สิงห์ ต.พนมเศษ ต.พนมรอก และ ต.วังมหากร)

นอกจากนี้จะเสนอเปิดพื้นที่ชลประทาน บริเวณตอนบนของบึงบอระเพ็ด เพื่อใช้น้ำจากแม่น้ำน่าน เป็นต้นทุน และลดการใช้น้ำจากบึงบอระเพ็ด และพัฒนาการขุดคลองสาขา เพื่อระบายน้ำลงสู่บึงบอระเพ็ด

อ่านข่าว : เช็กสัญญาณแล้ง 4 เขื่อนใหญ่ "ป่าสักชลสิทธิ์" น้ำเหลือแค่ 15% 

และพัฒนาคลองส่งน้ำตรงจาก ต.ทับกฤช สู่ ต.พนมเศษ ต.วังมหากร และ ต.พระนอน จัดทำแก้มลิงในลำคลองสาขาที่ลงสู่บึงบอระเพ็ด เพื่อเป็นแหล่งน้ำอุปโภค บริโภค

ข้อมูล : ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์

ข้อมูล : ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์

ข้อมูล : ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์

รวมถึงสร้างสถานีสูบน้ำบริเวณตำบลแควใหญ่เข้าบึงบอระเพ็ดเพื่อรักษาระบบนิเวศ โดยสูบน้ำจากแม่น้ำน่านเข้าท่อลอดทางรถไฟและถนนสาย 225 สู่บึงบอระเพ็ดบริเวณฝายบางปอง

นำร่องทำนาเปียกสลับแห้ง 100 ไร่ ลดใช้น้ำ

นอกจากนี้ นายณพล ยังเตรียมเสนอแนวทางการทำนารูปแบบ "นาเปียกสลับแห้ง" เพื่อช่วยลดการใช้น้ำทำนา โดยเริ่มจากการทำนาปรัง และจะเริ่มในช่วงเดือน เม.ย. - พ.ค.นี้ นำร่องในพื้นที่ ต.วังมหากร เริ่มทำจำนวน 100 ไร่ ในพื้นที่ตอนล่างของบึงบอระเพ็ด ในการทำนาเปียกสลับแห้งจะทำในช่วงที่ไม่จำเป็นต้องให้น้ำขังแปลงนา โดยใช้น้ำที่อยู่ใต้ดินเลี้ยงต้นข้าว ซึ่งจะมีกระบอกที่สามารถวัดระดับน้ำใต้ดินได้

อ่านข่าว : สู้ภัยแล้ง! เทคนิคประหยัดน้ำในบ้าน ช่วยเซฟเงินในกระเป๋า

โครงการดังกล่าว นอกเหนือจากการลดการใช้น้ำยังเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย โดยทางทีมวิจัยจะเก็บข้อมูลทางวิชาการระหว่างการทำนาไปด้วยว่าได้ผลเป็นอย่างไรหากได้ผลดีจะขยายไปยังพื้นที่อื่นรอบบึงบอระเพ็ด

นอกจากนี้ในพื้นที่ ต.พระนอน จะทดลองนำพืชน้ำในบึงบอระเพ็ดมาทำปุ๋ย ซึ่งจะเป็นทั้งการขุดลอกบึงและบึงบอระเพ็ด เนื่องจากพืชในบึงเมื่อตายก็จะกลายเป็นตะกอนดินทำให้ต้องขุดออก มิฉะนั้นจะทำให้บึงบอระเพ็ดหมดสภาพจากความเป็นบึง

รวมถึงการนำพืชเหล่านี้มาทำปุ๋ยก็จะช่วยสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านและ และลดก๊าซเรือนกระจก โดยตั้งเป้าให้บึงบอระเพ็ด เป็น Net Zero ในปี 2573 โดยการขุดจะมีคณะกรรมการดูแลทั้ง 6 องค์กร เพื่ดูแลการขุดลอกให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด

อ่านข่าว : จระเข้น้อย NEW GEN คืนถิ่น"บึงบอระเพ็ด" ในรอบ 7 ปี 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง