ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

หาดูได้ยาก "ปะการังออกไข่-สเปิร์ม" ปีละ 1 ครั้ง

สิ่งแวดล้อม
2 มี.ค. 67
12:13
381
Logo Thai PBS
หาดูได้ยาก "ปะการังออกไข่-สเปิร์ม" ปีละ 1 ครั้ง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ปรากฏการณ์ปะการังปล่อยไข่และสเปิร์ม เพื่อการผสมพันธุ์ภายนอก จะเกิดขึ้นปีละ 1 ครั้ง แต่ละชนิดมีช่วงเวลาต่างกัน และขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยสำคัญ แสงของดวงจันทร์ กระแสคลื่นทะเลและลมมีกำลังอ่อน

วันที่ 29 ก.พ.2567 นักวิจัยของศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ดำน้ำเก็บตัวอย่างไข่และสเปิร์มปะการังสมองร่องสั้น หน้าหาดฝั่งตะวันตกของเกาะมันใน อ.แกลง จ.ระยอง โดยใช้ถุงครอบตัวปะการังที่ต้องการเก็บตัวอย่าง ตั้งแต่เวลา 19.30 - 22.30 น. ก่อนนำขึ้นมาเพาะพันธุ์

ซึ่งจะทำงานกันนับตั้งแต่เก็บตัวอย่างไข่และสเปิร์ม ยาวนานไปอีกประมาณ 72 ชั่วโมง สลับเวรการทำงานเพื่อติดตามการเจริญเติบโตของตัวอ่อนปะการัง จนเริ่มลงไปเกาะยังแผ่นกระเบื้องที่เตรียมไว้ และจะอนุบาลในบ่อเลี้ยงไปอีก 3-5 ปี ก่อนจะนำแผ่นกระเบื้องไปวางในทะเล ตามจุดที่พบการเสื่อมโทรมของปะการัง เพื่อทดแทนต่อไป

การเก็บไข่และสเปิร์มปะการังขึ้นมาเพาะพันธุ์ จะเพิ่มอัตราการอยู่รอดและขยายพันธุ์ได้มากกว่า 80% หากเทียบกับปล่อยให้มีการสืบพันธุ์ ผสมพันธุ์กันตามธรรมชาติที่ปะการังจะมีโอกาสขยายพันธุ์ได้ประมาณ 50% เพราะปัจจัยทางธรรมชาติที่ควบคุมไม่ได้ โดยปีนี้นักวิจัยของศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก มีความกังวลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ น้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงขึ้น อาจทำให้ปะการังเกิดการฟอกขาวรุนแรง เหมือนที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2553 ซึ่งไทยได้รับผลกระทบทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน

หมู่เกาะมัน มีแนวปะการังประมาณ 1,240 ไร่ พบถึง 98 ชนิด เป็นระบบนิเวศที่สำคัญและเป็นฐานข้อมูลในอ่าวไทยฝั่งตะวันออกอีกด้วย เพราะจากรายงานการสำรวจชนิดพันธุ์ปะการังในประเทศไทยพบว่ามีประมาณ 280 ชนิด

 

 

 

อ่านข่าวอื่นๆ : 

สถิติ "หญ้าทะเล" ตรัง เสื่อมโทรม เปิด 2 สาเหตุทำลดฮวบ 1 หมื่นไร่

"ชัยวัฒน์-ชีวภาพ" ไล่ตรวจพื้นที่สงสัย ออกสิทธิ์ ส.ป.ก.ติดป่าเขาใหญ่

โลกร้อนทำพิษ ไทยเผชิญวิกฤต "ภัยแล้ง" วงกว้างนานกว่า 10 ปี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง