ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เกษตรฯ ส่ง 16 หน่วยฝนหลวง ดับแล้งพื้นที่เกษตร-เติมน้ำในเขื่อน

ภัยพิบัติ
29 ก.พ. 67
14:57
397
Logo Thai PBS
เกษตรฯ ส่ง 16 หน่วยฝนหลวง ดับแล้งพื้นที่เกษตร-เติมน้ำในเขื่อน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
“ก.เกษตรฯ” เปิดปฏิบัติการฝนหลวงส่งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง 16 หน่วย ครอบคลุม77 จังหวัด ช่วยพื้นที่เกษตร สร้างความชุ่มชื้นให้ป่าไม้ เติมน้ำอ่างเก็บน้ำ-เขื่อน ป้องไฟป่าและ PM 2.5

วันนี้ (29 ก.พ.2567) ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงปฏิบัติการฝนหลวง ประจำปี 2567 ว่า จากสถานการณ์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยต่อภาคการเกษตรในปัจจุบัน รวมทั้งปัญหาหมอกควันและไฟป่า ปัญหาการเกิดพายุลูกเห็บในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ที่มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ปัญหาการขาดแคลนน้ำในการอุปโภค-บริโภคและการเกษตร

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงมอบหมายให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตร จัดทำแผนปฏิบัติการฝนหลวง ประจำปี 2567 จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 10 หน่วยปฏิบัติการทั่วประเทศ เพื่อป้องกันและบรรเทาช่วยเหลือความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยพิบัติ

สำหรับในปี 2567 กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมฝนหลวงฯ มีแผนปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรที่ประสบภัยแล้ง และสร้างความชุ่มชื้นให้กับป่าไม้ การเติมน้ำต้นทุนให้กับอ่างเก็บน้ำและเขื่อนต่าง ๆ ของประเทศ ป้องกันการเกิดไฟป่าและบรรเทาปัญหาหมอกควัน ยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บ รวมทั้งสถานการณ์ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ที่เกินเกณฑ์มาตรฐาน

รวม.กระทรวงเกษตรฯกล่าวอีกว่า กรมฝนหลวงฯ มีแผนในการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศทั้ง 77 จังหวัด รวม 16 หน่วย โดยตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงประจำ 5 ภูมิภาค จำนวน 7 ศูนย์

และได้ปรับแผนในการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงในเดือนมี.ค. และเม.ย. 2567 จำนวน 7 หน่วยใช้อากาศยานรวมทั้งสิ้น 30 ลำ ได้แก่ อากาศยานของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร จำนวน 24 ลำ อากาศยานที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพอากาศ จำนวน 6 ลำ ในการตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง ดังนี้

1.ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือตอนบน
2.หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดเชียงใหม่
3.ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือตอนล่าง
4.หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดแพร่
5.ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคกลาง
6.หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดกาญจนบุรี
7.ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
8.หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดอุดรธานี
9.ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
10.หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดนครราชสีมา
11.ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออก
12.หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดจันทบุรี
13.ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้
14.หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้งฐานเติมสารฝนหลวง จำนวน 4 แห่ง ที่จ. พิษณุโลก นครสวรรค์ ขอนแก่น และระยอง

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา กรมฝนหลวงฯ ได้จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจ.ระยอง และจ.ประจวบคีรีขันธ์ ช่วยเหลือพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ในการเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ป่าไม้เพื่อบรรเทาป้องกันการเกิดไฟป่า ปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองนาดเล็ก PM2.5 และเติมน้ำต้นทุนให้กับอ่างเก็บน้ำ

ในส่วนพื้นที่ภาคเหนือ ได้จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.เชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค. 2567 ช่วยเหลือบรรเทาปัญหาหมอกควัน ไฟป่า และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 บริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ภายใต้การบูรณาการร่วมกันระหว่างจ.เชียงใหม่ และยังคงติดตามสถานการณ์สภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปวางแผนในการปฏิบัติการฝนหลวงอีกด้วย

แผนการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง อาจมีการปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ของสภาพภูมิอากาศ และพื้นที่ที่มีความต้องการน้ำของไทย เพื่อให้การปฏิบัติการฝนหลวงเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน

 อ่านข่าวอื่นๆ:

กรมการข้าว เตรียมคลอดข้าว 10 สายพันธุ์ใหม่ ชูคุณภาพดี

ชาวนาสู้ภัยแล้ง ยอมติด "โซลาร์เซลล์" สูบน้ำทำนา

ระดมดับไฟป่าอุทยานฯ "ออบหลวง" ลุกลามหลายจุด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง