วันนี้ (19 ก.พ.2567) นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 ของปี 2566 ขยายตัว 1.7 % และทั้งปี ขยายตัว 1.9 % หลังสิ้นสุดมาตรการจ่ายเงินสวัสดิการภาครัฐของรัฐบาลชุดก่อน ประกอบกับการบังคับใช้กฎหมาย งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ล่าช้า กระทบการลงทุนภาครัฐ หดตัวลง 20.1 %
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
อ่านข่าว : “กรุงไทย”ชี้ GDP ไทยโตเพียง 2.7 % แนะภาคธุรกิจรับมือโลกรีเซ็ต
แม้การค้าโลกมีสัญญาณฟื้นตัวแต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับลดลงต่อเนื่อง เช่นเดียวกับการใช้กำลังการผลิตอยู่ในระดับต่ำส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ ขณะเดียวกับ การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติต่อคนต่อทริปลดลงเฉลี่ยเหลือคนละ 36,000 บาท ส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ชะลอตัวลง ต่ำกว่าคาดการณ์
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
แต่แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ในปี 2567 คาดว่า จะขยายตัว 2.2 - 3.2 % จากการกลับมาขยายตัวของภาคส่งออก และการลงทุน ตลอดจน การอุปโภคบริโภคในประเทศ โดยไม่ได้รวมผลจากมาตรการดิจิทัล วอลเล็ต
อ่านข่าว : ฟื้น ! หอการค้าชี้เศรษฐกิจขยายตัว คาดตลอดปี นทท.ทะลุ 40 ล้าน
การเติบโตเศรษฐกิจ ที่ชะลอตัว ยังเร็วเกินไป ที่จะสรุปว่า เศรษฐกิจไทยเข้าเงื่อนไขวิกฤตเพราะยังต้องจับตามองความเสี่ยงอื่น ๆ โดยเฉพาะการลดลงของแรงขับเคลื่อนทางการคลัง ภาระหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูงผลกระทบจากภาระดอกเบี้ย อยู่ในระดับสูงตลอดจนความผันผวนของเศรษฐกิจโลกและสภาพภูมิอากาศ
พร้อมแนะให้รัฐบาลติดตามตรวจสอบ เฝ้าระวังการทุ่มตลาด พร้อมกับทบทวนมาตรการทางภาษี ให้มีความเหมาะสม ปรับปรุงระบบตรวจสอบคุณภาพสินค้านำเข้า และปัญหาหลบเลี่ยงภาษีให้รัดกุมมากขึ้นหลังตั้งข้อสังเกต จากปริมาณการผลิต ลดลง สวนทางกับ การเติบโตภาคการบริโภค
อ่านข่าว : “กอบศักดิ์ ภูตระกูล” กูรูเศรษฐกิจ ชี้ไทยเร่งสร้างเสน่ห์ดึงเงินลงทุน
ทั้งนี้รู้สึกแปลกใจที่เอกชนชะลอการผลิตแต่นำสินค้าในสต็อกออกมาจำหน่ายได้นานถึง 10 เดือน พร้อมกับยกระดับศักยภาพการผลิตของเอสเอ็มอี ตลอดจน เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ และเร่งรัดผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 2564-2566
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
เลขาฯสภาพัฒน์ฯ ยังเรียกร้องให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทบทวนการดำเนินนโยบายการเงินอย่างจริงจัง โดยลดดอกเบี้ยจากปัจจุบันอยู่ที่ 2.5% ต่อปี ลดช่องว่างสัดส่วนกำไรสุทธิระหว่างดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากให้แคบลง และกลับมาใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงิน โดยกำหนดอัตราขั้นต่ำในการชำระบัตรเครดิต จากปัจจุบัน 8% ให้เหลือ 5% เพื่อลดภาระทางการเงินของภาคครัวเรือนและเอสเอ็มอี ที่ต้องพึ่งสินเชื่อบัตรเครดิตเป็นทุนหมุนเวียน อีกทั้ง ยังเห็นสัญญาณผู้ผิดนัดชำระหนี้ ไหลหลายเป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้น
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
อ่านข่าว : กนง. มีมติคงดอกเบี้ยนโยบาย 2.50% มีผลทันที
เลขาสภาพัฒน์ฯ กล่าวอีกว่า มาตรการผ่อนคลายทางการเงินดังกล่าว อาจไม่มีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยตรง แต่เป็นการบรรเทาภาระภาคครัวเรือน และเอสเอ็มอี ทั้งนี้ หากแบงก์ชาติ ผ่อนคลายนโยบายการเงิน ก็ต้องเป็นไปภายใต้มาตรการเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ เพื่อลดความเสี่ยงก่อหนี้เกินตัว กลับมาซ้ำเติมเศรษฐกิจในระยะต่อไป
อ่านข่าวอื่น ๆ
"พิชัย" ชี้เงินเฟ้อติดลบ 4 เดือนติง ธปท.เร่งออกนโยบาย