ตรุษจีน 2568 มีการทำพิธีอะไรบ้าง แนะนำการจัดโต๊ะ - ของไหว้ตรุษจีน ที่ต้องมี
- รักษ์โลก ลดฝุ่น ขนมตรุษจีนยุคใหม่เพื่อสุขภาพ-สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
- ตรุษจีน 2568 ฉลองอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่เติมฝุ่น PM 2.5
ช่วงเวลา - ขั้นตอนการไหว้ "ตรุษจีน"
วันตรุษจีน ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวจีนทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทย โดยมีกิจกรรมการตั้งโต๊ะสักการะบรรพบุรุษ และเทพเจ้า โดยสามารถแยกการตั้งโต๊ะไหว้ตรุษจีน เป็น 4 ช่วง ดังนี้
เริ่มจากช่วงเช้า เวลา 06.00 - 07.00 น. จะทำการไหว้เทพยาดา ฟ้า ดิน และไหว้เจ้าที่เจ้าทาง คือ "ตี่จู๋เอี๊ยะ" และเทพเจ้าที่ชาวจีนนับถือ โดยตั้งโต๊ะไหว้เตรียมของไหว้ ซาแซ เช่น เป็ด หมู ไก่
เวลา 10.00-11.00 น. "ไหว้บรรพบุรุษ" จะไหว้บรรพบุรุษด้วยเนื้อสัตว์ กับข้าว ขนมหวาน ผลไม้ เครื่องดื่ม รวมถึงการเผากระดาษเงิน กระดาษทอง และเสื้อกระดาษกงเต๊กให้กับบรรพบุรุษ
หลังจากไหว้บรรพบุรุษเสร็จแล้ว เมื่อธูปดับจนหมด ก็จะเริ่มนำของไหว้มาทานร่วมกันทั้งครอบครัว
อ่านข่าว : ต้อนรับ "ตรุษจีน 2568" ปีมะเส็ง "วันจ่าย-วันไหว้-วันเที่ยว"

ต่อมาก็ไหว้ผีไม่มีญาติ หรือเรียกว่า "ฮอเตียตี้" ในเวลา 14.00 - 16.00 น. จะไหว้ด้วยข้าวสวย กับข้าว และขนมหวาน เช่น ขนมเข่ง ขนมเทียน และกระดาษเงินกระดาษทอง เมื่อไหว้เสร็จแล้วให้จุดประทัด เพื่อปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายออกไป ซึ่งการไหว้ผีไม่มีญาติบางบ้านก็ไหว้เป็นปกติทุกปี บางบ้านก็ไม่นิยมไหว้
ช่วงสุดท้ายของพิธีไหว้ คือ การไหว้เทพเจ้าแห่งโชคลาภ เวลา 23.00 - 01.00 น. ของคืนวันที่ 28 มกราคม 2568 เพื่อเป็นการขอโชคลาภจาก "เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี้ย" ที่ลงมา ซึ่งเกิดขึ้นปีละครั้ง
และของไหว้ควรมี น้ำชา 5 ถ้วย ขนมอี๊ (สาคูแดงต้มสุก) 5 ถ้วย ผลไม้มงคล 5 อย่าง เจไฉ่ (อาหารเจ) 5 ชนิด ขนมจันอับ 1 จาน และกระดาษเงินกระดาษทอง
อ่านข่าว : รู้ไหม? ตรุษจีนไม่ได้ฉลองแค่ "วันจ่าย-ไหว้-เที่ยว"

ผลไม้ที่ใช้ไหว้ตรุษจีน ส้ม องุ่น สับปะรด กล้วย
ผลไม้ที่ใช้ไหว้ตรุษจีน ส้ม องุ่น สับปะรด กล้วย
การจัดโต๊ะ - ของไหว้ตรุษจีน
การจัดโต๊ะไหว้ตรุษจีน
การจัดโต๊ะไหว้ตรุษจีน แต่ละบ้านอาจจะจัดวางไม่เหมือนกัน โดยอาจจัดวาง ดังนี้
จุดที่ 1 : วางโต๊ะไหว้ไว้ด้านหน้าเทวรูปหรือแท่นบูชา
จุดที่ 2 : วางกระถางธูปไว้หน้าเทวรูปหรือแท่นบูชา
จุดที่ 3 : วางเชิงเทียนและแจกันดอกไม้ ขนาบทั้งข้างซ้ายและขวาของกระถางธูป
จุดที่ 4 : วางชามข้าวสวยพร้อมช้อนและตะเกียบ
จุดที่ 5 : วางถ้วยน้ำชาหรือถ้วยเหล้าจีน
จุดที่ 6 : วางถ้วยน้ำดื่ม
จุดที่ 7 : วางเนื้อสัตว์และเมนูอาหาร
จุดที่ 8 : วางขนมหวาน ขนมมงคล และผลไม้
จุดที่ 9 : วางเครื่องไหว้อื่น ๆ พวกกระดาษเงิน, กระดาษทอง, เสื้อผ้ากระดาษกงเต็ก, ใบเบิกทางบรรพบุรุษให้มารับของไหว้ (อ่วงแซจี๊) และแบงก์กงเต็ก (อิมกังจัวยี่)
จัดโต๊ะไหว้เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี้ย
จุดที่ 1 : รูปภาพ/รูปปั้นองค์ไฉ่ซิงเอี้ย
จุดที่ 2 : เชิงเทียนและแจกันดอกไม้ อย่างละ 1 คู่
จุดที่ 3 : กระถางธูป 1 ใบ
จุดที่ 4 : ถ้วยน้ำชา 5 ถ้วย
จุดที่ 5 : ขนมอี๊ (สาคูแดงต้มสุก) 5 ถ้วย
จุดที่ 6 : ผลไม้มงคล และ เจไฉ่ (อาหารเจ เช่น เห็ดหอม เห็ดหูหนู ดอกไม้จีน วุ้นเส้น ฟองเต้าหู้) อย่างละ 5 อย่าง รวมถึงขนมจันอับ 1 จาน
จุดที่ 7 : กระดาษเงินกระดาษทอง

การจัดของไหว้
หากจัดใหญ่ นิยมเป็นตัวเลข 5 คือ มีของคาว 5 อย่าง เรียกว่า "โหงวแซ" ประกอบด้วย หมู ไก่ ตับ ปลา และกุ้งมังกร แต่เนื่องจากกุ้งมังกร นั้นแพงและหาไม่ง่าย จึงนิยมไหว้ "เป็ด" หรือ "ปลาหมึกแห้ง" แทน
ส่วนของหวาน 5 อย่าง เรียกว่า "โหงวเปี้ย" อาจเป็น ซาลาเปาไส้หวาน ขนมไข่ ขนมถ้วยฟู ขนม กุ่ยช่าย และขนมจันอับ ผลไม้ 5 อย่าง เรียกว่า "โหงวก้วย"
หากจัดเล็ก ก็เป็นชุดละ 3 อย่าง มีของคาว 3 อย่าง เรียกว่า "ซาแซ" ของหวาน 3 อย่าง เรียกว่า "ซาเปี้ย" ผลไม้ 3 อย่าง เรียกว่า "ซาก้วย" หรือจะมีเพียงแค่อย่างเดียวก็ได้
ไหว้ตรุษจีน ใช้ธูปกี่ดอก
1. ไหว้เทพเจ้า รวมถึงเทพเจ้าไฉ่ซิงเอี้ย : ใช้ธูป 3 ดอก
2. ไหว้บรรพบุรุษ : ใช้ธูป 3 ดอก
3. ไหว้สัมภเวสี ผีไร้ญาติ : ใช้ธูป 1 ดอก
อ่าน : ปักหมุดเที่ยว "ตรุษจีน 2567" ปีนี้ที่ไหน มีไฮไลท์อะไรบ้าง
ผลไม้ที่ใช้ไหว้ตรุษจีน
จะนิยมเลือกชนิดที่มีความหมายเป็นมงคลอยู่ในตัว
- ส้ม หมายถึง มีความสุข เรียกว่า "ไต้กิก" แปลว่า โชคดี
- องุ่น เรียกว่า "พู่ท้อ" แปลว่า งอกงาม
- สับปะรด เรียกว่า "อั้งไล้" มีโชคมาหา
- กล้วย หมายถึง การมีลูกมีหลานสืบสกุล
ที่ในกระถางธูปที่ใช้ไหว้เจ้า บางคนนิยมใส่ "โหงวจี้" สำหรับปักธูป ประกอบด้วย เมล็ด 5 อย่าง คือ ข้าวสาร ข้าวเหนียว ถั่วเขียว ถั่วดำ และเชื้อแป้ง (ยีสต์) โดยถือว่าเมล็ดทั้ง 5 คือ บ่อเกิดของการเจริญ รุ่งเรืองเติบโต อุปมาอุปไมยให้การไหว้เจ้านี้นำมาซึ่ง ความเจริญรุ่งเรือง
แต่การใช้โหงวจี้ปักธูป มีข้อจำกัดว่าใช้ได้ แต่ในบ้าน ถ้าเป็นการไหว้นอกบ้าน ต้องใช้ข้าวสาร หรือทราย มิฉะนั้นเชื้อแป้งเมื่อถูกความชื้น เช่น ฝน หรือน้ำค้าง จะทำให้แข็งตัวแล้วปักธูปไม่ลง
เมื่อไหว้เจ้าเสร็จก็เผากระดาษเงิน กระดาษทอง เป็นการปิดท้ายรายการ
หลังจากสิ้นสุดวันที่ 28 มกราคม 2568 จะเป็นวันขึ้นปีใหม่ หรือ วันตรุษจีน 2568 ของชาวจีนทั่วโลกรวมถึงคนไทยเชื้อสายจีน ซึ่งตรงกับวันที่ 29 มกราคม โดยในวันนี้จะมีการ แต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีสันสดใส และพากันออกไปท่องเที่ยวกับคนในครอบครัว
คำลาของไหว้ตรุษจีน
เมื่อธูปหมดดอกให้ดับเทียน และใช้มือจับที่พานหรือภาชนะ แล้วกล่าวคำลาว่า "ขอแดนขอชานให้ลูกให้หลานกิน เพื่อความเป็นสิริมงคล" หรือบางบ้านจะกล่าวว่า "ขอเดนขอทานให้ลูกหลานได้กิน เพื่อความเป็นสิริมงคล"
หรือ การตั้งจิต ประนมมือ ตั้งนะโม 3 จบ แล้วพูดว่า "เสสัง มังคะลา ยาจามิ" ลูกขอส่วนที่เหลืออันเป็นมงคล เพื่อยังประโยชน์เพื่อความสุขความเจริญแก่ลูกด้วยเถิด
อ่านข่าวอื่น ๆ
ส่งท้ายปีใหม่จีน "เทศกาลโคมไฟ" และชื่อเรียกวันตรุษจีนแต่ละประเทศ
"สารทจีน - เช็งเม้ง - ตรุษจีน" มีความหมายและสำคัญอย่างไร
วันหยุดกุมภาพันธ์ 2567 : วันสำคัญ วันหยุดยาว เช็กให้ชัวร์ก่อนวางแพลนท่องเที่ยว