วันนี้ (5 ก.พ.2567) นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ กล่าวว่า หอการค้าไทยได้มีการสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายผู้บริโภคในช่วงเทศกาลตรุษจีนในปี 2567 พบว่า ปีนี้คึกคักเงินสะพัดกว่า 49,000 ล้านบาท สูงขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบปีที่แล้ว ถือว่าเป็นการสูงสุดในรอบ 11 ปีนับตั้งแต่ปี 2556
- ส่งท้ายปีใหม่จีน "เทศกาลโคมไฟ" และชื่อเรียกวันตรุษจีนแต่ละประเทศ
- เตือนภัย! ตรุษจีน 2567 ระวังมิจฉาชีพหลอกแจกอั่งเปาออนไลน์
นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวมากขึ้นหากเทียบในช่วงโควิด-19 แต่ก็ยังน้อยกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ซึ่งมีเงินสะพัดกว่า 60,000 ล้านบาท เพราะ คนยังมองว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่โดดเด่น รวมไปถึงราคาสินค้าเพิ่มขึ้น มีผลต่อการจับจ่ายใช้สอยที่มีความระมัดระวัง
อย่างไรก็ดี ในช่วงเทศกาลตรุษจีนคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวไทย โดยเฉพาะคนจีนเข้ามาเป็นจำนวนมาก เฉลี่ยต่อสัปดาห์ประมาณ 800,000 คน ซึ่งจะมีมีผลต่อเงินสะพัดและการจับจ่ายใช้สอยและทำให้ปีนี้ตรุษจีนคึกคัก
ด้านนางอุมากมล สุนทรสุรัติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า หอการค้าไทยสำรวจพฤติกรรมในการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลตรุษจีน ระหว่างวันที่ 25-31 มกราคม 2567 จำนวน 1,300 ตัวอย่างทั่วประเทศ
พบว่า ในปีนี้ร้อยละ 57.2 ส่วนใหญ่ยังคงไหว้บรรพบุรุษ และร้อยละ 42.8 ไม่ไหว้ คาดว่าเงินสะพัดทั่วประเทศในช่วงเทศกาลตรุษจีน 2567 ปริมาณ 49,558 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1
สำหรับพฤติกรรมและการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงตรุษจีน เฉพาะกลุ่มที่มีการไหว้เจ้าในช่วงเทศกาลปี 2567 ส่วนใหญ่จะมีการเลือกซื้อสินค้าในตลาดสดร้อยละ 37.6 รองลงมา ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ร้อยละ 29.4
ปีนี้ช่วงเทศกาลอยู่ในช่วงติดวันหยุด มีการวางแผนไปเที่ยวถึงร้อยละ 55.7 และส่วนใหญ่ร้อยละ 96.1 จะเที่ยวในประเทศ 96.1
ส่วนการวางแผนการใช้จ่ายช่วงตรุษจีนเฉลี่ยจะซื้อของเซ่นไหว้ประมาณ 5,000 บาท โดยซื้อเท่าเดิม และมูลค่าการใช้จ่ายในช่วงตรุษจีน พบว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.3 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสินค้าแพงขึ้นภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น แก้ปีชงมี สิ่งที่ขอมากขึ้น
นอกจากนี้ยังพบว่าเทศกาลตรุษจีนในปี 2567 ส่วนใหญ่คนมองว่าคึกคักมากขึ้น ร้อยละ 35.4 คึกคักเท่าเดิมร้อยละ 34.3 และร้อยละ 30.3 มองว่าคึกคักน้อยลง ส่วนแหล่งที่มาของเงินที่ใช้จ่ายส่วนใหญ่ยังมาจากเงินเดือนร้อยละ 63.8
นอกจากนี้ หอการค้าไทยยังได้สำรวจพรที่มีการขอในช่วงเทศกาล คือ ขอให้ตนเองและครอบครัวร่ำรวยเงินทอง ขอให้สุขภาพแข็งแรง ขอให้ครอบครัวมีมีความสุขรักใคร่ปรองดอง ขอให้มีโชคลาภตลอดปี และขอให้กิจการรุ่งเรืองขายดี
ขณะที่นายวาทิตร รักษ์ธรรม ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า สถานภาพหนี้ครัวเรือนภายในปี 2567 เทียบปี 2566 ส่วนใหญ่ยังคงมีหนี้เท่าเดิมร้อยละ 39.3 และมีหนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.9 ซึ่งส่วนใหญ่มองว่าภาระหนี้ที่เกิดขึ้นมีผลต่อความเป็นอยู่โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาทลงไป
ส่วนทัศนคติต่อมาตรการลดหย่อนภาษี (Easy E-Receipt) ในการกระตุ้นเศรษฐกิจส่วนใหญ่จะตอบช่วยได้ปานกลาง และยังพบว่า ทัศนคติต่อภาวะเศรษฐกิจภายในปัจจุบันถ้าเทียบกับปีที่แล้วบอกว่าแย่ลง ส่วนมาตรการฟรีวีซ่าให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นส่วนการขยายตัวเศรษฐกิจส่วนใหญ่ยังมองว่าต่ำกว่าร้อยละ 2.5
อ่านข่าวอื่นๆ:
มาตรการรัฐดึงเงินเฟ้อ ม.ค.67 ลบ 1.11% ต่ำสุดในรอบ 35 เดือน
ส่งออกข้าวไทยทะลุเป้า ห่วงภัยแล้งกระทบ แนะเร่งพัฒนาพันธุ์ข้าวสู้ตลาดโลก
อีอีซี โรดโชว์ดึงญี่ปุ่นลงทุน BCG ตั้งเป้าลงทุน 4 แสนล้านบาท ใน 3 ปี