สถานการณ์วิฤตหญ้าทะเลที่ จ.ตรัง ทำให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เริ่มประชุมคณะทำงานแก้ไขปัญหาเมื่อวันที่ 1 ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งน่าจะเป็นการตั้งคณะชุดแรก นับตั้งแต่เกิดปัญหาปี 2562 จนถึงวันนี้ยังหาวิธีป้องกันและฟื้นฟูไม่ได้
ถ้าตะกอนยังสะสมเรื่อยๆ ยังไม่เซ็ตตัว ไม่นิ่งการฟื้นฟูยังคงยาก ทช.ทำหนังสือถึงหน่วยงานที่ขุดลอกว่า ขอความร่วมมือว่าอย่าทิ้งตะกอนในทะเล และเขาเริ่มหยุดตั้งแต่ปี 2564
นายสันติ นิลวัฒน์ ผอ.ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อันดามันตอนล่าง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) สะท้อนถึงปัญหา
สันติ นิลวัฒน์ ผอ.ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อันดามันตอนล่าง
ข้อสันนิษฐานแรก ของภาวะหญ้าทะเลเสื่อมโทรมใน จ.ตรัง คือ โครงการขุดลอกร่องน้ำกันตัง เพื่อสนับสนุนการเดินเรือ และการพัฒนาภาคธุรกิจภาคใต้ แม้จะมีการชะลอโครงการไปตั้งแต่ปี 2565 เพื่อรอผลศึกษาด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่ยังไม่ชัดเจน นักวิจัยจึงต้องเก็บตัวอย่างดินต่อเนื่อง
อ่าวขาม อยู่หน้าท่าเรือปากเมง การสำรวจหญ้าทะเลเมื่อปี 2564 พบกระจายตัวกว่า 500 ไร่ แต่ปีที่แล้ว พบจุดเสื่อมโทรมบริเวณสามเหลี่ยมสีเหลืองถึง 6 จุด จากการสำรวจเดิมที่พบหญ้าทะเลแน่นเต็มพื้นทราย
หญ้าคาทะเลมีลักษณะใบขาดสั้น ช่วงปลายมีสีเหลืองและเริ่มอ่อนแอ มีเพียงหญ้ากุยช่ายทะเล ที่ยังพอเติบโตได้
ทั้งนี้พะยูน 188 ตัวในทะเลตรัง อาจจะไม่เป็นปัญหามากนัก กับพื้นที่หญ้าทะเลกว่า 20,000 ไร่เมื่อคำนวณต่อตัว จะกินหญ้าทะเลวันละประมาณ 1.5 กิโลกรัมฝูงพะยูนเหล่านี้ ถูกบันทึกภาพไว้ช่วงเดือนก.พ.2566 บริเวณเกาะมุก - แหลมหยงหลำ
หญ้าทะเลเริ่มมีใบขาดสั้น ช่วงปลายมีสีเหลืองและเริ่มอ่อนแอ
อีกข้อสงสัยหนึ่ง คือ การเพิ่มจำนวนของเต่าตนุ มูลนิธิอันดามัน เคยยื่นข้อเสนอให้ทุกหน่วยงาน ยุติการปล่อยเต่าตนุในทะเลตรังแล้วเมื่อปีก่อน และนับจำนวนเพื่อวัดค่าความสมดุลในพื้นที่ ตรงนี้เคยมีหญ้าทะเลกว่า 10,000 ไร่ แต่พบว่าหญ้าคาทะเลเสื่อมโทรมไปแล้วเกือบ 7,000 ไร่
โรคระบาดในหญ้าคาทะเล ก็อีกข้อสันนิษฐานที่มองข้ามไม่ได้ แม้ในทะเลไทยยังไม่เคยพบรายงาน ตอนนี้นักวิชาการ ภาควิชาชีววิทยาประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าร่วมวิจัยเพื่อหาคำตอบ
โรคระบาดในหญ้าคาทะเล อีกข้อสันนิษฐานที่มองข้ามไม่ได้
รศ.ชัชรี แก้วสุรลิขิต ภาควิชาชีววิทยาประมง คณะประมง ม.เกษตรฯ กล่าวว่า ไม่เคยมีรายงานการเกิดโรคนี้ ในประเทศไทย หญ้าทะเลอาจเพิ่มขึ้นลดลงตามฤดูกาล แต่ไม่เคยมีเหตุการณ์ที่หายไปเลยในออสเตรเลียเคยมีการเกิดโรคนี้ แต่ยังไม่ชัดเจนถือเรื่องใหม่ของเรา
รศ.ชัชรี แก้วสุรลิขิต ภาควิชาชีววิทยาประมง คณะประมง ม.เกษตรศาสตร์
ความเสื่อมโทรมที่เกิดขึ้นของหญ้าทะเล ไม่สามารถปลูกใหม่ เพื่อทดแทนได้ หากตะกอนดินที่ไม่สามารถระบุที่มา ยังไม่หยุดการทับถม พื้นที่เสียหายลุกลามไปถึงทะเลกระบี่ตอนล่าง ที่อาจส่งผลต่อการย้ายถิ่นของพะยูน และเสี่ยงต่อการสูญหายของอาชีพประมงชายฝั่งบางชนิด
อ่านข่าวอื่นๆ
ใจฟู! ปล่อยนกกระเรียนคืนถิ่นเพิ่ม 10 ตัว-ลุ้นลูกนกพญาแร้งตัวแรก
ดรามา! กางเกงช้าง เมื่อจีนผลิตตีตลาดไทย